รีวิวรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องๆ รู้จัก " สิงห์ดำ " กันไหม? วันนี้พี่จะพาน้องๆ ไปรู้จักกับสิงห์ดำแห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัยกันค่ะ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้น โดยพระราชทานนามว่า “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน” ในปัจจุบันหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตซึ่งได้รับการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ.2558 เป็นหลักสูตรที่ได้นำจุดเด่นของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชา คือ การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และ รัฐประศาสนศาสตร์ มาใช้ในการวางแผนโครงสร้างหลักสูตรร่วมกัน ทำให้มีรายวิชาบังคับที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะ รวมถึงการกำหนดให้เรียนวิชาพื้นฐานด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ส่งผลให้บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาต่างๆ ทางสังคมศาสตร์อย่างหลากหลายและสามารถเชื่อมโยงประเด็นทางการเมืองและสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ ในทางสังคมศาสตร์
โดยแต่ละสาขาวิชามีเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. สาขาวิชาการปกครอง เป็นสาขาที่เป็นตัวเลือกหนึ่งถ้าหากน้องๆ อยากเข้าใจ "รัฐศาสตร์" หรือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อย่างชัดเจน ต้องเลือกเรียนภาควิชานี้ สาขานี้ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ สังคม ปรัชญาการเมือง แนวคิดทฤษฎีทางการเมือง การเมืองการปกครองไทย การปกครองท้องถิ่น โดยมีวิชาที่ยังคับเรียนคือวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองเปรียบเทียบ กฎหมายปกครอง, รัฐและสังคม, การเมืองไทยสมัยใหม่, ปรัชญาการเมือง, ความคิดทางเศรษฐกิจการเมือง, ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ, การเมืองเรื่องการพัฒนา, การเมืองการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาค, รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, ขบวนการทางการเมืองและสังคม, ศึกษาวรรณกรรมพื้นฐานทางรัฐศาสตร์
2. สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสาขาวิชาที่ได้ชื่อว่าคะแนนสูงที่สุดของสายศิลป์ ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ แรกเริ่มเดิมทีนั้น รัฐแต่ละรัฐ มีความไม่เท่ากัน เหลื่อมล้ำกัน รัฐที่มีความมั่งคั่งไม่ว่าจะทางทรัพยากรหรือสติปัญญา ก็จะกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบรัฐที่ด้อยกว่า วิชาเรียนในภาคนี้จะเน้นเป็นภูมิภาคศึกษา เน้นศึกษาแต่ละประเทศๆไป เช่น อเมริกา ยุโรป ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือศึกษาเป็นประเด็นต่างๆ ซึ่งมีวิชาบังคับได้แก่ วิชาการเมืองระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 19 และ 20, เอเชียตะวันออกในการเมืองโลก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเมืองโลก, นโยบายต่างประเทศวิเคราะห์, การเมืองระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา, ทฤษฎีการเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจการเมืองโลก, องค์การระหว่างประเทศ, กฎหมายระหว่างประเทศ, การอ่านวรรณกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมวิทยาได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งศาสตร์” เพราะว่าศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จนไปถึงศาสตร์ประยุกต์ของสังคมศาสตร์ อย่าง นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีสังคมวิทยาแทรกเป็นยาดำทั้งสิ้น มานุษยวิทยานั้น แปลได้ตรงตัวว่าเป็น "การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์อย่างรอบด้านทุกซอกทุกมุม" ส่วนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯนั้นจะเน้นมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเป็นสำคัญ มีรายวิชาที่ต้องเรียก็คือ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อาชญาวิทยา, สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์, ทฤษฎีสังคมวิทยา, ทฤษฎีมานุษยวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, มนุษยมิติ, ข้อถกเถียงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย, สัมมนาประเด็นสังคมร่วมสมัย โดยมีรายวิชาให้น้องๆ เลือกเรียนวิชาบังคับเลือกคนละ 1 กลุ่ม และลงทะเบียนเรียนวิชาในกลุ่ม โดยเลือกวิชาให้ครบ 15 หน่วยกิต คือกลุ่มวิชาสังคมวิทยา และกลุ่มวิชามานุษยวิทยา
4. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชานี้ เรียนเกี่ยวกับการบริหาร ใช้ตำราเล่มเดียวกับบริหารธุรกิจทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่จุดประสงค์และเป้าหมายของการบริหารธุรกิจ เพราะเป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน โดยมีวิชาบังคับเรียน ก็คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการคลังสาธารณะ, ระบบการบริหารงานของไทย, การบริหารและสังคม, การบริหารงานบุคคล, นโยบายสาธารณะ, การวิเคราะห์เชิงปริมาณ, สถิติสำหรับนักบริหาร, เทคนิคและวิธีการปรับปรุงการบริหาร, รัฐประศาสนศาสตร์ปฏิบัติการ, การอ่านวรรณกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์, กฎหมายกับรัฐประศาสนศาสตร์, ขอบเขตและวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์, ทฤษฎีองค์การสาธารณะ
ทั้ง 4 สาขานี้มีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ซึ่งน้องๆ สามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของน้องๆ ได้เลยค่ะ เพราะถ้าหากจบจากที่นี่แล้วน้องๆ ก็จะได้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างแน่นอน
จบมาทำงานอะไร
- งานราชการ หรือบางคนจะเรียกว่า “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ งานที่สามารถสมัครได้ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ด้านการปกครองอื่น ๆ หน่วยงานที่เปิดรับ คือ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานรายชการต่าง ๆ
- งานรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานที่เปิดรับ จึงไม่ต่างจากตำแหน่งงานของงานราชการ และบริษัทเอกชนมากนัก ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองหางานแบบไหน หรือต้องการทำงานกับหน่วยงานใด
- งานบริษัทเอกชน สำหรับคนที่ต้องการ และกำลังมองหาตำแหน่งงานในบริษัทเอกชน ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาความรู้ที่ได้เรียนมานั้น ไปปรับใช้กับการทำงานในตำแหน่งอะไร ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครจึงค่อนข้างหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (มีนาคม)
- เลือกยื่นได้1สาขา 1รูปแบบ
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ย(GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีผลคะแนนสอบวิชาGAT/PAT(เลือกยื่นสอบ1วิชาได้แต่ คณิตศาสตร์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, ภาษาอาหรับ และภาษาบาลี)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
สาขาวิชาการปกครอง, สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- เลือกสอบ PAT7.1(ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2(ภาษาเยอรมัน), PAT7.3(ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4(ภาษาจีน), PAT7.5(ภาษาอาหรับ) และPAT7.6(ภาษาอาหรับ)
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
136, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
17, 000 บาท/เทอม
รัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2442 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ขึ้น โดยพระราชทานนามว่า “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน” ในปัจจุบันหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตซึ่งได้รับการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ.2558 เป็นหลักสูตรที่ได้นำจุดเด่นของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชา คือ การปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และ รัฐประศาสนศาสตร์ มาใช้ในการวางแผนโครงสร้างหลักสูตรร่วมกัน ทำให้มีรายวิชาบังคับที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะ รวมถึงการกำหนดให้เรียนวิชาพื้นฐานด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ส่งผลให้บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาต่างๆ ทางสังคมศาสตร์อย่างหลากหลายและสามารถเชื่อมโยงประเด็นทางการเมืองและสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสาขาวิชาต่างๆ ในทางสังคมศาสตร์
โดยแต่ละสาขาวิชามีเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. สาขาวิชาการปกครอง เป็นสาขาที่เป็นตัวเลือกหนึ่งถ้าหากน้องๆ อยากเข้าใจ "รัฐศาสตร์" หรือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ อย่างชัดเจน ต้องเลือกเรียนภาควิชานี้ สาขานี้ส่วนใหญ่จะเรียนเกี่ยวกับรัฐ สังคม ปรัชญาการเมือง แนวคิดทฤษฎีทางการเมือง การเมืองการปกครองไทย การปกครองท้องถิ่น โดยมีวิชาที่ยังคับเรียนคือวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเมืองเปรียบเทียบ กฎหมายปกครอง, รัฐและสังคม, การเมืองไทยสมัยใหม่, ปรัชญาการเมือง, ความคิดทางเศรษฐกิจการเมือง, ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ, การเมืองเรื่องการพัฒนา, การเมืองการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาค, รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง, ขบวนการทางการเมืองและสังคม, ศึกษาวรรณกรรมพื้นฐานทางรัฐศาสตร์
2. สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสาขาวิชาที่ได้ชื่อว่าคะแนนสูงที่สุดของสายศิลป์ ศึกษาเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ แรกเริ่มเดิมทีนั้น รัฐแต่ละรัฐ มีความไม่เท่ากัน เหลื่อมล้ำกัน รัฐที่มีความมั่งคั่งไม่ว่าจะทางทรัพยากรหรือสติปัญญา ก็จะกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบรัฐที่ด้อยกว่า วิชาเรียนในภาคนี้จะเน้นเป็นภูมิภาคศึกษา เน้นศึกษาแต่ละประเทศๆไป เช่น อเมริกา ยุโรป ยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือศึกษาเป็นประเด็นต่างๆ ซึ่งมีวิชาบังคับได้แก่ วิชาการเมืองระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 19 และ 20, เอเชียตะวันออกในการเมืองโลก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเมืองโลก, นโยบายต่างประเทศวิเคราะห์, การเมืองระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา, ทฤษฎีการเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, เศรษฐกิจการเมืองโลก, องค์การระหว่างประเทศ, กฎหมายระหว่างประเทศ, การอ่านวรรณกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สังคมวิทยาได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งศาสตร์” เพราะว่าศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จนไปถึงศาสตร์ประยุกต์ของสังคมศาสตร์ อย่าง นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีสังคมวิทยาแทรกเป็นยาดำทั้งสิ้น มานุษยวิทยานั้น แปลได้ตรงตัวว่าเป็น "การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์อย่างรอบด้านทุกซอกทุกมุม" ส่วนที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯนั้นจะเน้นมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเป็นสำคัญ มีรายวิชาที่ต้องเรียก็คือ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อาชญาวิทยา, สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์, ทฤษฎีสังคมวิทยา, ทฤษฎีมานุษยวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, มนุษยมิติ, ข้อถกเถียงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย, สัมมนาประเด็นสังคมร่วมสมัย โดยมีรายวิชาให้น้องๆ เลือกเรียนวิชาบังคับเลือกคนละ 1 กลุ่ม และลงทะเบียนเรียนวิชาในกลุ่ม โดยเลือกวิชาให้ครบ 15 หน่วยกิต คือกลุ่มวิชาสังคมวิทยา และกลุ่มวิชามานุษยวิทยา
4. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชานี้ เรียนเกี่ยวกับการบริหาร ใช้ตำราเล่มเดียวกับบริหารธุรกิจทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่จุดประสงค์และเป้าหมายของการบริหารธุรกิจ เพราะเป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน โดยมีวิชาบังคับเรียน ก็คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการคลังสาธารณะ, ระบบการบริหารงานของไทย, การบริหารและสังคม, การบริหารงานบุคคล, นโยบายสาธารณะ, การวิเคราะห์เชิงปริมาณ, สถิติสำหรับนักบริหาร, เทคนิคและวิธีการปรับปรุงการบริหาร, รัฐประศาสนศาสตร์ปฏิบัติการ, การอ่านวรรณกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์, กฎหมายกับรัฐประศาสนศาสตร์, ขอบเขตและวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์, ทฤษฎีองค์การสาธารณะ
ทั้ง 4 สาขานี้มีการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ซึ่งน้องๆ สามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของน้องๆ ได้เลยค่ะ เพราะถ้าหากจบจากที่นี่แล้วน้องๆ ก็จะได้เป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างแน่นอน
จบมาทำงานอะไร
- งานรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานที่เปิดรับ จึงไม่ต่างจากตำแหน่งงานของงานราชการ และบริษัทเอกชนมากนัก ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองหางานแบบไหน หรือต้องการทำงานกับหน่วยงานใด
- งานบริษัทเอกชน สำหรับคนที่ต้องการ และกำลังมองหาตำแหน่งงานในบริษัทเอกชน ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาความรู้ที่ได้เรียนมานั้น ไปปรับใช้กับการทำงานในตำแหน่งอะไร ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครจึงค่อนข้างหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
- เลือกยื่นได้1สาขา 1รูปแบบ
- กำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ย(GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.50
- มีผลคะแนนสอบวิชาGAT/PAT(เลือกยื่นสอบ1วิชาได้แต่ คณิตศาสตร์, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน, ภาษาอาหรับ และภาษาบาลี)
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
สาขาวิชาการปกครอง, สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- เลือกสอบ PAT7.1(ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2(ภาษาเยอรมัน), PAT7.3(ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4(ภาษาจีน), PAT7.5(ภาษาอาหรับ) และPAT7.6(ภาษาอาหรับ)
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
รัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 5.0 แย่
รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ