เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รีวิวเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2548 เป็นสถาบันอุดมศึกษาสายอาชีพเปิดสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทและมีรากฐานมาจากการหลอมรวมตัวกันของสถาบันการศึกษาสายอาชีพที่มีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน 3 แห่งคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครใต้หรือการช่างสตรีพระนครใต้, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯหรือวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 80 ปี ในฐานะโรงเรียนการช่างสตรีแห่งแรกของประเทศ
ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ยังคงมุ่งจัดการเรียนการสอนงานช่างสตรี ที่สืบสาน ทักษะความรู้และ งานฝีมือด้านงานช่างสตรีไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทยไว้อย่างครบถ้วน และ ยังพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น ด้วยการบูรณาการ ด้านการนำเทคโนโลยี และกระบวนความคิดแบบเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ มาประยุกต์ เข้ากับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ของวิชาการช่างสตรีของไทย บัณฑิตจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จึงมีแนวทางการประกอบอาชีพที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำงานในองค์กรภาค อุตสาหกรรม ภาคการบริการ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และครูสอนในสายวิชาชีพด้านการช่างสตรี
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- ค่าเทอมถูก
- เป็นหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด
จบมาทำงานอะไร
1. เจ้าของธุรกิจภัตรคาร ห้องอาหาร หรือร้านอาหาร
2. ผู้จัดรายการอาหารทางโทรทัศน์ และเคเบิ้ลทีวี
3. ผู้เขียนตำราอาหาร
4. ครูพิเศษสอนการประกอบวิชาอาหาร
5. ผู้ประกอบอาหารส่งออก
6. พิธีกรแนะนำอาหารในรายการทีวี หรือนิทรรศการแสดงอาหาร
7. ผู้ประกอบอาหาร
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง ประเภทโควตา (สิงหาคม-ตุลาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษา ชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- เกรดเฉลี่ยรวม GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.admissions.rmutk.ac.th
ระบบรับตรง ประเภทสอบตรง (ธันวาคม-กุมพาพันธ์)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษา ชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการทดสอบของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.admissions.rmutk.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
52, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
6, 500 บาท/เทอม
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ผลิตผู้ประกอบการธุรกิจอาหารที่มีความรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาหารและดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบ ตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อพัฒนาวิชาชีพบนพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ ธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (Faculty of Home Economics Technology)
ชื่อสาขา
ธุรกิจอาหาร (Food Business)
ชื่อปริญญา
คศ.บ. (ธุรกิจอาหาร) (คหกรรมศาสตรบัณฑิต (ธุรกิจอาหาร))
รายละเอียด
ผลิตผู้ประกอบการธุรกิจอาหารที่มีความรู้ ความสามารถ ในการประกอบอาหารและดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบ ตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อพัฒนาวิชาชีพบนพื้นฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ ธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
คุณสมบัติ
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาอาหารและโภชนาการ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศ หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ว่าด้วยการรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
3. สามารถรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาอาหารและโภชนาการ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาเทียบโอนได้
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
เทียบเท่า (กศน.)
ผลงานและรางวัล
รางวัลชนะเลิศการประกวดการประกอบอาหาร
การแข่งขัน Deksoboon World Food Challenge 2008 ตัวแทนของสาขาวิชาธุรกิจอาหาร นายจิตรรถ ดาราพงษ์ และนายพิพัฒน์ สละสำลี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการประกอบอาหารและจัดสำรับอาหารไทย Thai Fushion Food ภายใต้แนวคิดถิ่นฐานบ้านเรา และเมนูสุขภาพประเภทอาหารจานเดียว (เป็นที่หนึ่งในการประกอบอาหารในการแข่งขันในครั้งนี้) นอกจากได้รับรางวัลแล้ว ยังได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เหรียญทอง ชุดเชฟสามารถ และทุนการศึกษา 100,000 บาท
อาชีพ
1. เจ้าของธุรกิจภัตรคาร ห้องอาหาร หรือร้านอาหาร
2. ผู้จัดรายการอาหารทางโทรทัศน์ และเคเบิ้ลทีวี
3. ผู้เขียนตำราอาหาร
4. ครูพิเศษสอนการประกอบวิชาอาหาร
5. ผู้ประกอบอาหารส่งออก
6. พิธีกรแนะนำอาหารในรายการทีวี หรือนิทรรศการแสดงอาหาร
7. ผู้ประกอบอาหาร
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
สำหรับการประกอบอาหารในสถานประกอบการขนาดใหญ่ และมีมาตรฐาน ผู้ประกอบอาหารจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากผู้ช่วยเป็นพ่อครัว หรือแม่ครัว และเป็นเชฟอันเป็นตำแหน่งสูงสุดซึ่งจะได้รับค่าจ้างที่สูงมาก และอาจได้รับการส่งเสริมจากเจ้าของสถานประกอบการในการส่งเข้าประกวดการทำอาหารของสมาคม หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และถ้ามีความสามารถ และมีฝีมือในการประดิษฐ์อาหารไทยต่างๆ ให้สวยงาม และแปลกตาจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็จะได้รับการพาไปแสดงฝีมือในต่างประเทศ
ผู้ประกอบอาหารอาจมีความคิดสร้างสรรค์ในการประกอบอาหารที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป โดยดัดแปลงให้เป็นอาหาร สำเร็จรูปหรือพร้อมปรุง รวมทั้งค้นคิดวิธีการถนอมอาหารเหล่านี้ แล้วจัดส่งออกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้การตลาดแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์เข้าช่วย หรืออาจประกอบอาชีพส่วนตัวโดยเปิดร้านอาหารเองโดยเลือกกลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะเจาะจง หรือจะขยายสาขา หรือใช้ระบบเครือข่าย (Franchise) คือการให้ลิขสิทธิ์สูตรอาหารที่มีชื่อเสียงกับผู้ต้องการประกอบธุรกิจอาหารแบบและประเภทเดียวกัน โดยได้รับค่าธรรมเนียมมูลค่าทางการตลาดของตราสินค้าของร้าน หรือสูตรอาหารของเจ้าของฝีมือ นอกจากนี้ อาจเปิดอบรมหลักสูตรการทำอาหารไทยในระยะเวลาสั้นๆ ให้ชาวต่างชาตินักท่องเที่ยว หรือผู้สนใจเรียนได้เพราะมีนักท่องเที่ยวสนใจเรื่องนี้มาก ผู้ประกอบอาหารสามารถจัดทำโฮมเพจเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะสอนหรือกิจการธุรกิจของตนเองขึ้นอินเตอร์เน็ต เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และสามารถประกอบธุรกิจประเภทนี้ที่บ้านได้เช่นกัน เป็นอาชีพที่ให้ผลกำไร อยู่ระหว่างประมาณ 40% -50 %
เรียนต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนในอัตราที่แตกต่างกันไปตามขนาดและรายได้ของสถานประกอบกิจการ และฝีมือหรือและประสบการณ์ ของผู้ประกอบอาหารในการจ้างงานอาจเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยผู้ประกอบอาหาร และมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 -2 ปี
- สำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ขายอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ผู้ประกอบอาหารจะได้รับ เงินเดือนประมาณ 9,000 - 10,000 บาท แต่ส่วนมากร้านอาหารประเภทนี้ผู้ประกอบการคือผู้ประกอบอาหารเอง
- ร้านอาหาร หรือห้องอาหาร ขนาดกลาง ที่มีโต๊ะอาหารประมาณ 20 โต๊ะที่บริการอาหารกลางวันและอาหารเย็น ผู้ประกอบอาหารจะได้เงินเดือนประมาณ 12,000 - 15,000 บาท
- ภัตตาคารขนาดใหญ่ จะมีผู้ประกอบอาหารหลายคน แบ่งตามหน้าที่และความถนัด แต่ละคนอาจจะได้เงินเดือนคนละประมาณ 15,000 - 20,000 บาท
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
1. มีใจรักในการทำอาหาร ใฝ่รู้และอดทน มีความสุขเมื่อได้ปรุงอาหารอร่อยๆ ให้คนทาน
2. รักความสะอาด และมีบุคคลิกภาพที่ดี
3. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความคิดสร้างสรรค์ และทีมเวิค
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 5.3 ปานกลาง
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดีไหม?
“ค่าเทอมถูกเกินไปค่าาา”
เรียนคหกรรมที่นี่ ค่าเทอมถูกเเบบเหลือเชื่อเลยค่ะ แล้วเป็นสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนี้มายาวนานและเก่าแก่มากเลยนะเนี่ย น่าสนใจค่ะ
ธัญญา กลมเกลา
บุคคลทั่วไป
03 ต.ค. 59 18:03 น.
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
รีวิวเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 80 ปี ในฐานะโรงเรียนการช่างสตรีแห่งแรกของประเทศ
ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ยังคงมุ่งจัดการเรียนการสอนงานช่างสตรี ที่สืบสาน ทักษะความรู้และ งานฝีมือด้านงานช่างสตรีไทยที่เป็นภูมิปัญญาไทยไว้อย่างครบถ้วน และ ยังพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น ด้วยการบูรณาการ ด้านการนำเทคโนโลยี และกระบวนความคิดแบบเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ มาประยุกต์ เข้ากับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ ของวิชาการช่างสตรีของไทย บัณฑิตจากคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จึงมีแนวทางการประกอบอาชีพที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทำงานในองค์กรภาค อุตสาหกรรม ภาคการบริการ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และครูสอนในสายวิชาชีพด้านการช่างสตรี
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด
จบมาทำงานอะไร
2. ผู้จัดรายการอาหารทางโทรทัศน์ และเคเบิ้ลทีวี
3. ผู้เขียนตำราอาหาร
4. ครูพิเศษสอนการประกอบวิชาอาหาร
5. ผู้ประกอบอาหารส่งออก
6. พิธีกรแนะนำอาหารในรายการทีวี หรือนิทรรศการแสดงอาหาร
7. ผู้ประกอบอาหาร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษา ชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- เกรดเฉลี่ยรวม GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.75
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.admissions.rmutk.ac.th
ระบบรับตรง ประเภทสอบตรง (ธันวาคม-กุมพาพันธ์)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษา ชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- ผ่านการทดสอบของทางมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ www.admissions.rmutk.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
2. มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศ หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ว่าด้วยการรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
3. สามารถรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาอาหารและโภชนาการ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาเทียบโอนได้
ศิลป์ - คำนวณ
เทียบเท่า (กศน.)
รางวัลชนะเลิศการประกวดการประกอบอาหาร
การแข่งขัน Deksoboon World Food Challenge 2008 ตัวแทนของสาขาวิชาธุรกิจอาหาร นายจิตรรถ ดาราพงษ์ และนายพิพัฒน์ สละสำลี ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันการประกอบอาหารและจัดสำรับอาหารไทย Thai Fushion Food ภายใต้แนวคิดถิ่นฐานบ้านเรา และเมนูสุขภาพประเภทอาหารจานเดียว (เป็นที่หนึ่งในการประกอบอาหารในการแข่งขันในครั้งนี้) นอกจากได้รับรางวัลแล้ว ยังได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เหรียญทอง ชุดเชฟสามารถ และทุนการศึกษา 100,000 บาท
2. ผู้จัดรายการอาหารทางโทรทัศน์ และเคเบิ้ลทีวี
3. ผู้เขียนตำราอาหาร
4. ครูพิเศษสอนการประกอบวิชาอาหาร
5. ผู้ประกอบอาหารส่งออก
6. พิธีกรแนะนำอาหารในรายการทีวี หรือนิทรรศการแสดงอาหาร
7. ผู้ประกอบอาหาร
ผู้ประกอบอาหารอาจมีความคิดสร้างสรรค์ในการประกอบอาหารที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป โดยดัดแปลงให้เป็นอาหาร สำเร็จรูปหรือพร้อมปรุง รวมทั้งค้นคิดวิธีการถนอมอาหารเหล่านี้ แล้วจัดส่งออกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้การตลาดแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์เข้าช่วย หรืออาจประกอบอาชีพส่วนตัวโดยเปิดร้านอาหารเองโดยเลือกกลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะเจาะจง หรือจะขยายสาขา หรือใช้ระบบเครือข่าย (Franchise) คือการให้ลิขสิทธิ์สูตรอาหารที่มีชื่อเสียงกับผู้ต้องการประกอบธุรกิจอาหารแบบและประเภทเดียวกัน โดยได้รับค่าธรรมเนียมมูลค่าทางการตลาดของตราสินค้าของร้าน หรือสูตรอาหารของเจ้าของฝีมือ นอกจากนี้ อาจเปิดอบรมหลักสูตรการทำอาหารไทยในระยะเวลาสั้นๆ ให้ชาวต่างชาตินักท่องเที่ยว หรือผู้สนใจเรียนได้เพราะมีนักท่องเที่ยวสนใจเรื่องนี้มาก ผู้ประกอบอาหารสามารถจัดทำโฮมเพจเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะสอนหรือกิจการธุรกิจของตนเองขึ้นอินเตอร์เน็ต เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และสามารถประกอบธุรกิจประเภทนี้ที่บ้านได้เช่นกัน เป็นอาชีพที่ให้ผลกำไร อยู่ระหว่างประมาณ 40% -50 %
- สำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ขายอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ผู้ประกอบอาหารจะได้รับ เงินเดือนประมาณ 9,000 - 10,000 บาท แต่ส่วนมากร้านอาหารประเภทนี้ผู้ประกอบการคือผู้ประกอบอาหารเอง
- ร้านอาหาร หรือห้องอาหาร ขนาดกลาง ที่มีโต๊ะอาหารประมาณ 20 โต๊ะที่บริการอาหารกลางวันและอาหารเย็น ผู้ประกอบอาหารจะได้เงินเดือนประมาณ 12,000 - 15,000 บาท
- ภัตตาคารขนาดใหญ่ จะมีผู้ประกอบอาหารหลายคน แบ่งตามหน้าที่และความถนัด แต่ละคนอาจจะได้เงินเดือนคนละประมาณ 15,000 - 20,000 บาท
2. รักความสะอาด และมีบุคคลิกภาพที่ดี
3. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความคิดสร้างสรรค์ และทีมเวิค
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 5.3 ปานกลาง
เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาธุรกิจอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ดีไหม?
เรียนคหกรรมที่นี่ ค่าเทอมถูกเเบบเหลือเชื่อเลยค่ะ แล้วเป็นสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนี้มายาวนานและเก่าแก่มากเลยนะเนี่ย น่าสนใจค่ะ
ธัญญา กลมเกลา
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ