นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หากพูดถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายคนต้องนึกถึงคณะนิเทศศาสตร์ มาเป็นอันดับแรกๆ อย่างแน่นอน เพราะคณะนี้ถือเป็นคณะยอดฮิตในฝันของน้องๆ ที่สนใจและอยากเรียนต่อด้านสื่อสารมวลชน ที่นี่ได้
ผลิตบุคลากรที่มีชื่อเสียงมากมายให้กับวงการสื่อ ทั้งด้านงานข่าว ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และหนึ่งในภาควิชาที่สำคัญและมีอายุเก่าแก่ของคณะนิเทศศาสตร์นั่นก็คือ ภาควิชาวารสารสนเทศ
ภาควิชาวารสารสนเทศ สาขาวิชาสารสนเทศ เดิมคือ ภาควิชาหนังสือพิมพ์ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมใยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิตอลเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกภาคส่วน
หลักสูตรวารสารสนเทศจึงถูกปรับเข้ามาแทนที่ แต่ยังคงไว้ซึ่งแกนหลักของภาควิชาหนังสือพิมพ์อยู่ หากน้องๆ ยังสงสัยเกี่ยวกับสาขานี้ ก็อธิบายได้ง่ายๆ ว่า เป็นเรียนการทำหนังสือพิมพ์ทั้งในรูปแบบกระดาษและรูปแบบสื่อดิจิตอลนั่นเอง สาขานี้เรียนเกี่ยวกับ การหาข้อมูลข่าวสาร การเขียน การวิเคราะห์ ตลอดจนการจัดการ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม
สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนในสาขาวารสารสนเทศ มี 2 ทางให้เลือก คือรับตรงของคณะนิเทศศาสตร์ และสอบแอดมิชชัน โดยหลักสูตรวารสารสนเทศนี้จะเรียน
4 ปี น้องๆ ต้องสอบเข้ามาในคณะนิเทศฯ และเรียนรวมกันในปี 1 ถึงปี 2 รายวิชาพื้นฐานทั่วไปที่เกี่ยวกับด้านนิเทศศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์ สถิติ ปรัชญา จิตวิทยาเบื้องต้น การสื่อข่าวและการเขียนข่าว หลักการโฆษณา เป็นต้น
จากนั้นเมื่อขึ้นปี 3 จึงจะได้แยกเรียนเฉพาะด้านวารสารสนเทศ ส่วนวิชาที่ต้องเรียนเมื่อขึ้นปี 3 และ ปี 4 อย่างเช่น กระบวนการผลิต กระบวนการตีพิมพ์ การเขียนข่าว การบรรณาธิการ การเป็นนักข่าว รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือสารสนเทศ เป็นต้น
น้องๆ นิสิตที่จบภาควิชาวารสารสนเทศสามารถทำงานในสายวิชาชีพวารสารศาสตร์ได้โดยตรง เช่น งานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร งานข่าวในสำนักงานข่าวหรือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ งานเขียน งานประชาสัมพันธ์ในองค์กร รวมถึงงานที่มีความต้องการผู้มีความรู้ในด้านวิชาวารสารสนเทศ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน บรรณาธิการนิตยสาร วารสาร นักข่าวในสำนักงานข่าวหรือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ นักการประชาสัมพันธ์ ในหน่วยงานราชการรัฐ หรือเอกชน เป็นต้น
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (เลือกสอบคณิตสาศตร์)
หรือ
- ผลคะแนนสอบ PAT 7.1-7.4 (71-80) เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX ) 3.25 ขึ้นไป
- มีผลงานที่แสดงความสามารถด้านวารสารสนเทศ หรือหลักฐานการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรมทางวารสนเทศ (Portfolio)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คําว่าวารสารสนเทศ เป็นคําที่รวมความหมายของ วารสาร และ สารสนเทศเข้าด้วยกันวารสารนั้นหมายถึง สิ่งพิมพ์เย็บเล่มที่มีกําหนด ออกระบุไว้แน่นอน และต่อเนื่อง เนื้อหาประกอบไปได้ทั้ง ข่าวสาร ความรู้ และเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้จัดทําต้องการนําเสนอและให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านขณะที่สารสนเทศเป็นคําที่ถูกใช้ในความหมายที่หลากหลายหมายถึง ได้ทั้ง ความรู้ การรวมรวม ข้อมูลการประมวลผล การสื่อสารความคิดและการรับรู้ ดังนั้น วารสารสนเทศ จึงหมายถึง การรวมกันของการจัดทําสิ่งพิมพ์ที่นําเสนอถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ข่าวสารหรือเรื่องราวต่างๆ และนําข้อมูลเนื้อหาเหล่านั้นมารวบรวม เพื่อประมวลและนําเสนออย่างทันท่วงที
วารสารสนเทศ จึงเป็นศาสตร์ของสองสาขา ทั้งการเขียน เรียบเรียง และ รวบรวมข้อมูล เพื่อนําเสนอข้าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปสู่สังคมแห่งสารสนเทศ หรือสังคมที่ไร้พรมแดนในการสื่อสาร ถือเป็นศาสตร์ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สําหรับสังคมปัจจุบันที่พร้อมไปด้วยการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน การเรียนการสอนของสาขาวิชาวารสารสนเทศ จึงประกอบขึ้นด้วยศาสตร์ทั้งสองด้าน ผู้เรียนจะได้รับความรู้ที่พร้อมไปทั้งด้านการเขียน รวบรวมข้อมูล ประมวลผล และศิลปะในการนําเสนอเนื้อหาเหล่านั้นทางวรรณศิลป์ผสานกับการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน มาพัฒนาการนําเสนอเนื้อหาให้แพร่หลาย เหมาะสมกับสังคมของยุคการสื่อสารไร้พรมแดน
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะนิเทศศาสตร์ (Faculty of Communication Arts)
ชื่อปริญญา
นศ.บ. (นิเทศศาสตร์บัณฑิต)
รายละเอียด
เน้นหนักด้านวิทยาการข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศซึ่งครอบคลุมการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การเขียน การวิเคราะห์ตลอดจนการจัดการและการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท นอกจากนี้ยังเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต และสื่อเครือข่ายสังคม
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
ค่าเทอม
21,000 บาท ต่อเทอม 5,250 บาท ภาคฤดูร้อน
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
สามารถทำงานในสายวิชาชีพวารสารศาสตร์โดยตรงเช่น งานหนังสือพิมพ์ งานด้านนิตยสารและวารสารประเภทต่างๆ งานข่าวในสำนักงานข่าวหรือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ต่างๆ งานหนังสือพิมพ์ออนไลน์ งานในบริษัท ธุรกิจและการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความต้องการผู้มีความรู้ในด้านวิชาวารสารสนเทศ
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน การเขียน มีความรู้กว้างขวางและสนใจในการศึกษาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ มีความรับผิดชอบ
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
“พอใจ”
มันก็โอเคนะสำหรับสาขานี้
ขนิษฐา
นักเรียน
10 ส.ค. 60 06:42 น.
“ชอบงานด้านแมกกาซีนมากนะครับ อยากเป็นบรรณาธิการ”
ผมมีความฝันอยากเป็นบรรณาธิการ แต่แนวโน้มการทำงานในปัจจุบัน เห็นนิตยสารในประเทศปิดตัวไปก็หลายที่ กลัวว่าแนวโน้มการทำงานด้านนี้จะไม่ค่อยดี ต้องเน้นเรียนทำสื่อดิจิตอลให้มากขึ้น
Fluk Rattanang
บุคคลทั่วไป
04 ต.ค. 59 17:51 น.
นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวนิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หากพูดถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายคนต้องนึกถึงคณะนิเทศศาสตร์ มาเป็นอันดับแรกๆ อย่างแน่นอน เพราะคณะนี้ถือเป็นคณะยอดฮิตในฝันของน้องๆ ที่สนใจและอยากเรียนต่อด้านสื่อสารมวลชน ที่นี่ได้ผลิตบุคลากรที่มีชื่อเสียงมากมายให้กับวงการสื่อ ทั้งด้านงานข่าว ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ และหนึ่งในภาควิชาที่สำคัญและมีอายุเก่าแก่ของคณะนิเทศศาสตร์นั่นก็คือ ภาควิชาวารสารสนเทศ
ภาควิชาวารสารสนเทศ สาขาวิชาสารสนเทศ เดิมคือ ภาควิชาหนังสือพิมพ์ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมใยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิตอลเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในทุกภาคส่วน หลักสูตรวารสารสนเทศจึงถูกปรับเข้ามาแทนที่ แต่ยังคงไว้ซึ่งแกนหลักของภาควิชาหนังสือพิมพ์อยู่ หากน้องๆ ยังสงสัยเกี่ยวกับสาขานี้ ก็อธิบายได้ง่ายๆ ว่า เป็นเรียนการทำหนังสือพิมพ์ทั้งในรูปแบบกระดาษและรูปแบบสื่อดิจิตอลนั่นเอง สาขานี้เรียนเกี่ยวกับ การหาข้อมูลข่าวสาร การเขียน การวิเคราะห์ ตลอดจนการจัดการ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม
สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนในสาขาวารสารสนเทศ มี 2 ทางให้เลือก คือรับตรงของคณะนิเทศศาสตร์ และสอบแอดมิชชัน โดยหลักสูตรวารสารสนเทศนี้จะเรียน 4 ปี น้องๆ ต้องสอบเข้ามาในคณะนิเทศฯ และเรียนรวมกันในปี 1 ถึงปี 2 รายวิชาพื้นฐานทั่วไปที่เกี่ยวกับด้านนิเทศศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษ การประชาสัมพันธ์ สถิติ ปรัชญา จิตวิทยาเบื้องต้น การสื่อข่าวและการเขียนข่าว หลักการโฆษณา เป็นต้น จากนั้นเมื่อขึ้นปี 3 จึงจะได้แยกเรียนเฉพาะด้านวารสารสนเทศ ส่วนวิชาที่ต้องเรียนเมื่อขึ้นปี 3 และ ปี 4 อย่างเช่น กระบวนการผลิต กระบวนการตีพิมพ์ การเขียนข่าว การบรรณาธิการ การเป็นนักข่าว รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือสารสนเทศ เป็นต้น น้องๆ นิสิตที่จบภาควิชาวารสารสนเทศสามารถทำงานในสายวิชาชีพวารสารศาสตร์ได้โดยตรง เช่น งานหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร งานข่าวในสำนักงานข่าวหรือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ งานเขียน งานประชาสัมพันธ์ในองค์กร รวมถึงงานที่มีความต้องการผู้มีความรู้ในด้านวิชาวารสารสนเทศ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 2.75 ขึ้นไป
- ผลคะแนนสอบ GAT
- ผลคะแนนสอบ PAT1 (เลือกสอบคณิตสาศตร์)
หรือ
- ผลคะแนนสอบ PAT 7.1-7.4 (71-80) เลือกสอบภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
ระบบรับตรง (แบบพิเศษ)
- กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX ) 3.25 ขึ้นไป
- มีผลงานที่แสดงความสามารถด้านวารสารสนเทศ หรือหลักฐานการเข้าร่วมอบรมหรือกิจกรรมทางวารสนเทศ (Portfolio)
- สมัครทางอินเทอร์เนตที่เว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%
รูปแบบที่ 1
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
รูปแบบที่ 2
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT7.1 (ภาษาฝรั่งเศส), PAT7.2 (ภาษาเยอรมัน), PAT7.3 (ภาษาญี่ปุ่น), PAT7.4 (ภาษาจีน) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วารสารสนเทศ จึงเป็นศาสตร์ของสองสาขา ทั้งการเขียน เรียบเรียง และ รวบรวมข้อมูล เพื่อนําเสนอข้าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปสู่สังคมแห่งสารสนเทศ หรือสังคมที่ไร้พรมแดนในการสื่อสาร ถือเป็นศาสตร์ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สําหรับสังคมปัจจุบันที่พร้อมไปด้วยการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน การเรียนการสอนของสาขาวิชาวารสารสนเทศ จึงประกอบขึ้นด้วยศาสตร์ทั้งสองด้าน ผู้เรียนจะได้รับความรู้ที่พร้อมไปทั้งด้านการเขียน รวบรวมข้อมูล ประมวลผล และศิลปะในการนําเสนอเนื้อหาเหล่านั้นทางวรรณศิลป์ผสานกับการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน มาพัฒนาการนําเสนอเนื้อหาให้แพร่หลาย เหมาะสมกับสังคมของยุคการสื่อสารไร้พรมแดน
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
นิเทศศาสตร์ สาขาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
มันก็โอเคนะสำหรับสาขานี้
ขนิษฐา
ผมมีความฝันอยากเป็นบรรณาธิการ แต่แนวโน้มการทำงานในปัจจุบัน เห็นนิตยสารในประเทศปิดตัวไปก็หลายที่ กลัวว่าแนวโน้มการทำงานด้านนี้จะไม่ค่อยดี ต้องเน้นเรียนทำสื่อดิจิตอลให้มากขึ้น
Fluk Rattanang
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ