มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
รีวิวมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยศิลปากร
“แฟชั่นไม่ได้อยู่ในเสื้อผ้าอาภรณ์เท่านั้น แฟชั่นอยู่ในท้องฟ้า อยู่ตามท้องถนน แฟชั่นเกี่ยวข้องกับความคิด การใช้ชีวิต และทุกสิ่งที่กำลังเป็นไป” – โคโค่ ชาแนล
คำพูดนี้ใช้อธิบายแนวการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้อย่างเหมาะเจาะ เพราะที่นี่ไม่ได้ให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านแฟชั่นอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นให้มีความรู้ในสาขาวิชาการออกแบบหลากหลายแขนง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบแฟชั่น เพราะแฟชั่นมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นแฟชั่นได้
สำหรับใครที่มีความฝันอยากทำงานในวงการแฟชั่น สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คงเป็นหนึ่งในตัวเลือกต้นๆ ที่จะเลือกเรียน แต่แน่นอนว่ายิ่งมีคนสนใจมาก การแข่งขันก็ยิ่งสูง โดยการเรียนเริ่มจากปี 1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั้งหมดจะเรียนคล้ายๆกัน ทั้งวาดเส้น painting และวิชาการออกแบบทั่วไป พอขึ้นปี 2 ก็จะเป็นวิชาเฉพาะของแต่ละภาคมากขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนก็จัดว่าไม่หนักมาก แต่จะหนักไปที่การคิดงานและกระบวนการทำงาน และเวลาอาจารย์ให้คำแนะนำอะไรก็จะค่อนข้างจริงจัง เพราะอาจารย์แต่ละท่านก็มีประสบการณ์มากมายที่พร้อมจะถ่ายทอดให้เรา เราก็ต้องเตรียมพร้อมรับความรู้จากอาจารย์ด้วยค่ะ ทางคณะฯ จะมีการเชิญอาจารย์พิเศษมาหลายท่าน เช่น รุ่นพี่ที่ได้ทำงานในวงการนี้ก็จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้รุ่นน้องได้ ส่วนในปี3 จะได้เรียนการตลาดและการจัดการธุรกิจแฟชั่น, การออกแบบสิ่งประดับ แล้วยังต้องเตรียมการนำเสนอผลงานจบอีกด้วย และในการฝึกงานนั้นน้องๆจะได้ฝึกในภาคฤดูร้อนของปีที่3 สุดท้ายในปีที่4 น้องก็ได้เตรียมศิลป์นิพนธ์เพื่อนำเสนอ
ถ้าน้องๆ อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะมัณฑนศิลป์ ให้ฝึกวิชา Drawing และวิชาที่เกี่ยวข้องไว้ให้ดี และดูงานทางด้านนี้ไว้เยอะๆ สู้ค่ะ ต้องเรียนรู้งานใหม่ๆเยอะๆ จะได้ทันกับโลกสมัยใหม่ ถ้าน้องได้เรียนที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน จะได้ทั้งความรู้ด้วย และยังเรียนสนุกด้วยแน่นอน ที่นี่มีบุคลากรที่ดี ทั้งอาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ทุกคนรักใคร่กันมาก
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต (การออกแบบภายใน) 4 ปี
- จบแผนการเรียน ศิลป์-คำนวน, ศิลป์-ภาษา, ปวช. หรือเทียบเท่า สามารถสมัครเรียนได้
จบมาทำงานอะไร
นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, นักวาดภาพประกอบแฟชั่น, นักออกแบบสร้างสรรค์งานเครื่องประดับตกแต่งกาย เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ฯลฯ, นักออกแบบลายผ้า, ศิลปินสร้างสรรค์งานผ้า, ผู้สอน ทางด้านเครื่องแต่งกาย, นักวิจัย ทางด้านงานเครื่องแต่งกาย, ผู้ประกอบการและ/หรือผู้จัดการโรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, ช่างภาพแฟชั่น, นักออกแบบอิสระ, สไตล์ลิสต์ ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (สิงหาคม)
-ให้ผู้สมัครเข้าสู่ เวปไซต์ www.decentrance.su.ac.th
คุณสมบัติ
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
** หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการเป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่งรายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
176, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
22, 000 บาท/เทอม
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องแต่งกายและสามารถ ประยุกต์ใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับเทคนิควิทยาการทางการออกแบบ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการออกแบบ เครื่องแต่งกาย
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะมัณฑนศิลป์ (Faculty of Decorative Arts)
ชื่อสาขา
การออกแบบเครื่องแต่งกาย (Department of Fashion Design)
ชื่อปริญญา
ศล.บ. (การออกแบบเครื่องแต่งกาย) (ศิลปบัณฑิต (การออกแบบเครื่องแต่งกาย))
รายละเอียด
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องแต่งกายและสามารถ ประยุกต์ใช้ศิลปะให้สอดคล้องกับเทคนิควิทยาการทางการออกแบบ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการออกแบบ เครื่องแต่งกาย
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
คุณสมบัติ
1. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญศึกษา
3. เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. ต้องไม่มีความผิดปกติต่างๆ ที่คณะกรรมการ ดำเนินการสอบคัดเลือกฯ เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษาและปฏิบัติงานในวิชาชีพ เช่น ตาบอดสีทั้งสองข้าง หูหนวก ทั้งสองข้าง มีความพิการของมือ แขน หรือขา ทั้งสองข้าง
5. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยและมีที่พักอาศัยอยู่ใน ประเทศ ไทย หากปรากฎในภายหลังว่า ผู้สมัครขาด คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการ เป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่ง รายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
เพิ่มเติม
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
ผลงานและรางวัล
รางวัลสุดยอดผลงาน “ The Best of the Best ” สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
นางสาวอลิสา ตรีประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
อาชีพ
1. นักออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
2. นักวาดภาพประกอบแฟชั่น
3. นักออกแบบสร้างสรรค์งานเครื่องประดับตกแต่งกาย เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ฯลฯ
4. นักออกแบบลายผ้า
5. ศิลปินสร้างสรรค์งานผ้า
6. ผู้สอน ทางด้านเครื่องแต่งกาย
7. นักวิจัย ทางด้านงานเครื่องแต่งกาย
8. ผู้ประกอบการและ/หรือผู้จัดการโรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
9. ช่างภาพแฟชั่น
10. นักออกแบบอิสระ
11. สไตล์ลิสต์
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพ ก็คือการคงไว้ซึ่งการเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าหรือแฟชั่นดีไซเนอร์ไว้ ซึ่งต้องใช้โอกาส เวลา และค่าใช้จ่ายในการผลิต และการแสดงผลงานที่มีต้นทุนต่ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ
นักออกแบบแฟชั่นไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรมีความคิดเชิงรุกมากกว่ารับเพียงคำสั่งจากลูกค้าควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและควรสร้างโอกาสให้ตนเอง เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม ศึกษาด้านการตลาด ความต้องการของลูกค้า กลุ่มเป้าหมายลูกค้าใหม่ เสาะหาแหล่งตลาดวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ครบวงจร สร้างแนวโน้มแฟชั่น ศึกษารูปแบบของสินค้าจากต่างประเทศ และข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นปัจจัยในความก้าวหน้าทันโลก และยืนอยู่ในอาชีพได้นาน และอาจสร้างผลงานที่คนไทยภูมิใจ หันมาใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยนักออกแบบเสื้อผ้าไทยกันทั่วประเทศ
เรียนต่อ
สามารถศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาการออกแบบแฟชั่นหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
ใจรักก่อน เพราะถ้าใจไม่รักก็เหมือนกับทุกๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นหมอก็ต้องใจรัก จะเป็นเรียนศิลปะก็ต้องมีใจรัก แล้วก็มีวินัยเก่งมันฝึกให้เก่งได้ แต่ความมีวินัยมันฝึกกันลำบาก มีใจรักมีวินัยแล้วก็ต้องมีความอดทนไม่ใช่ว่ามาเรียนเพื่อแต่งตัวสวยๆ เก๋ๆ เพราะว่ามันทำงานหนัก เชื่อว่าเด็กเรียนแฟชั่นทุกคนไม่มีหน้าตาสดใสหรอก ถ้าเรียนจริงๆ มันต้องโทรม มันต้องเหนื่อย เพราะฉะนั้น คุณต้องพร้อมแล้วล่ะว่าคุณจะมาเรียน ไม่ใช่มาเดินแฟชั่นโชว์
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
รีวิวมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยศิลปากร
“แฟชั่นไม่ได้อยู่ในเสื้อผ้าอาภรณ์เท่านั้น แฟชั่นอยู่ในท้องฟ้า อยู่ตามท้องถนน แฟชั่นเกี่ยวข้องกับความคิด การใช้ชีวิต และทุกสิ่งที่กำลังเป็นไป” – โคโค่ ชาแนล
คำพูดนี้ใช้อธิบายแนวการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้อย่างเหมาะเจาะ เพราะที่นี่ไม่ได้ให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านแฟชั่นอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นให้มีความรู้ในสาขาวิชาการออกแบบหลากหลายแขนง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบแฟชั่น เพราะแฟชั่นมีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นแฟชั่นได้
สำหรับใครที่มีความฝันอยากทำงานในวงการแฟชั่น สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คงเป็นหนึ่งในตัวเลือกต้นๆ ที่จะเลือกเรียน แต่แน่นอนว่ายิ่งมีคนสนใจมาก การแข่งขันก็ยิ่งสูง โดยการเรียนเริ่มจากปี 1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั้งหมดจะเรียนคล้ายๆกัน ทั้งวาดเส้น painting และวิชาการออกแบบทั่วไป พอขึ้นปี 2 ก็จะเป็นวิชาเฉพาะของแต่ละภาคมากขึ้น ซึ่งการเรียนการสอนก็จัดว่าไม่หนักมาก แต่จะหนักไปที่การคิดงานและกระบวนการทำงาน และเวลาอาจารย์ให้คำแนะนำอะไรก็จะค่อนข้างจริงจัง เพราะอาจารย์แต่ละท่านก็มีประสบการณ์มากมายที่พร้อมจะถ่ายทอดให้เรา เราก็ต้องเตรียมพร้อมรับความรู้จากอาจารย์ด้วยค่ะ ทางคณะฯ จะมีการเชิญอาจารย์พิเศษมาหลายท่าน เช่น รุ่นพี่ที่ได้ทำงานในวงการนี้ก็จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้รุ่นน้องได้ ส่วนในปี3 จะได้เรียนการตลาดและการจัดการธุรกิจแฟชั่น, การออกแบบสิ่งประดับ แล้วยังต้องเตรียมการนำเสนอผลงานจบอีกด้วย และในการฝึกงานนั้นน้องๆจะได้ฝึกในภาคฤดูร้อนของปีที่3 สุดท้ายในปีที่4 น้องก็ได้เตรียมศิลป์นิพนธ์เพื่อนำเสนอ
ถ้าน้องๆ อยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะมัณฑนศิลป์ ให้ฝึกวิชา Drawing และวิชาที่เกี่ยวข้องไว้ให้ดี และดูงานทางด้านนี้ไว้เยอะๆ สู้ค่ะ ต้องเรียนรู้งานใหม่ๆเยอะๆ จะได้ทันกับโลกสมัยใหม่ ถ้าน้องได้เรียนที่นี่ไม่ผิดหวังแน่นอน จะได้ทั้งความรู้ด้วย และยังเรียนสนุกด้วยแน่นอน ที่นี่มีบุคลากรที่ดี ทั้งอาจารย์ รุ่นพี่ รุ่นน้อง ทุกคนรักใคร่กันมาก
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- จบแผนการเรียน ศิลป์-คำนวน, ศิลป์-ภาษา, ปวช. หรือเทียบเท่า สามารถสมัครเรียนได้
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
-ให้ผู้สมัครเข้าสู่ เวปไซต์ www.decentrance.su.ac.th
คุณสมบัติ
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
** หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการเป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่งรายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
มหาวิทยาลัยศิลปากร
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการออกแบบ เครื่องแต่งกาย
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจทางการออกแบบเครื่องแต่งกาย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และเข้าใจในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมการออกแบบ เครื่องแต่งกาย
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญศึกษา
3. เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. ต้องไม่มีความผิดปกติต่างๆ ที่คณะกรรมการ ดำเนินการสอบคัดเลือกฯ เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษาและปฏิบัติงานในวิชาชีพ เช่น ตาบอดสีทั้งสองข้าง หูหนวก ทั้งสองข้าง มีความพิการของมือ แขน หรือขา ทั้งสองข้าง
5. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยและมีที่พักอาศัยอยู่ใน ประเทศ ไทย หากปรากฎในภายหลังว่า ผู้สมัครขาด คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการ เป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่ง รายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
เพิ่มเติม
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
รางวัลสุดยอดผลงาน “ The Best of the Best ” สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
นางสาวอลิสา ตรีประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
2. นักวาดภาพประกอบแฟชั่น
3. นักออกแบบสร้างสรรค์งานเครื่องประดับตกแต่งกาย เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ฯลฯ
4. นักออกแบบลายผ้า
5. ศิลปินสร้างสรรค์งานผ้า
6. ผู้สอน ทางด้านเครื่องแต่งกาย
7. นักวิจัย ทางด้านงานเครื่องแต่งกาย
8. ผู้ประกอบการและ/หรือผู้จัดการโรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
9. ช่างภาพแฟชั่น
10. นักออกแบบอิสระ
11. สไตล์ลิสต์
นักออกแบบแฟชั่นไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรมีความคิดเชิงรุกมากกว่ารับเพียงคำสั่งจากลูกค้าควรศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและควรสร้างโอกาสให้ตนเอง เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม ศึกษาด้านการตลาด ความต้องการของลูกค้า กลุ่มเป้าหมายลูกค้าใหม่ เสาะหาแหล่งตลาดวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ครบวงจร สร้างแนวโน้มแฟชั่น ศึกษารูปแบบของสินค้าจากต่างประเทศ และข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งเป็นปัจจัยในความก้าวหน้าทันโลก และยืนอยู่ในอาชีพได้นาน และอาจสร้างผลงานที่คนไทยภูมิใจ หันมาใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยนักออกแบบเสื้อผ้าไทยกันทั่วประเทศ
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยศิลปากร ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ