ศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
Summary
8.55
รีวิวศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสำหรับน้องๆ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีใจรักด้านแฟชั่นและการตัดเย็บเสื้อผ้า ที่อยากจะเรียนต่อด้านแฟชั่น ที่นี่จะเรียนด้วยกันทั้งสิ้น 4 ปี โดยไม่ต้องกังวลว่าทักษะการตัดเย็บหรือการออกแบบจะไม่เก่งเท่าคนอื่น ที่นี่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะได้เริ่มต้นเรียนพื้นฐานการวาดเส้น หลักการเขียนแบบเหมือนกันหมด จากนั้นจึงจะเรียนลึกในด้านการออกแบบแฟชั่น การวาดสรีระโครงหุ่นแฟชั่น การสร้างแบบและการตัดเย็บพื้นฐาน ประวัติและแบบอย่างศิลปะ ทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบแฟชั่น และสุนทรียศาสตร์ในงานแฟชั่น
จากนั้นในชั้นปีที่ 2 เมื่อน้องๆ มีพื้นฐานชั้นปี 1 เรื่องการวาดเส้นและการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แล้ว ก็จะเริ่มการออกแบบลวดลาย และใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกสำหรับงานแฟชั่นและสิ่งทอ และได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการทำผ้ามัดย้อมการออกแบบลายผ้าด้วยอุปกรณ์พื้นบ้านอย่างเครื่องทอ ซึ่งทางสาขาก็ได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยสอนการทำหม้อครามแบบต้นฉบับด้วย และที่สาขาจะเน้นให้นักศึกษาเปิดกว้างในเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างผลงาน โดยนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติกันตั้งแต่ปี 2 ปี 3 นอกจากเรียนการสร้างแบบ การตัดเย็บ การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำผ้าบาติก การทำซิลค์สกรีนแล้ว ที่นี่นักศึกษาจะต้องได้ออกแบบ Accessories เช่น รองเท้า สร้อย หมวก รวมไปถึงการตลาดสินค้าแฟชั่น การบริหารการค้าปลีกในธุรกิจแฟชั่น และทัศนะศึกษาแฟชั่นและสิ่งทอด้วย
จากจินตนาการผ่านการดีไซน์ จนมาถึงการลงมือทำกับของจริง ได้พบเจอกับอุปสรรค์ปัญหา ได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการจัดการแก้ไขปัญหาในกระบวนการออกแบบแฟชั่น และที่นี่ไม่ได้เน้นว่านักศึกษาจะต้องสามารถตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นร้อยๆ ตัว แต่นักศึกษาจะต้องสามารถถ่ายทอดให้ช่างเย็บที่ร่วมงานด้วยในอนาคตให้ทำตามที่ออกแบบมาได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่นักศึกษาจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าการเย็บในแต่ละแบบแต่ละขั้นตอนนั้นเรียกว่าอะไร ซึ่งนักศึกษาจะลงมือทำแค่ตัวต้นแบบเพียงเท่านั้น พอปี 4 น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดงานโครงการแฟชั่นและสิ่งทอ จะได้จัดงานเดินแบบ Fashion Show งานใหญ่ โดยรวมผลงานนักศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย จัดขึ้นที่ Central World ช่วงเดือนมีนาคม และจากนั้นจะได้ฝึกสหกิจศึกษาที่สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องก่อนเรียนจบ
โดยทั่วไปคนจะมองว่านักศึกษาเรียนสาขาการออกแบบแฟชั่นจบออกมาต้องเป็นนักออกแบบแฟชั่น (Designer) เท่านั้น แน่นอนว่านักศึกษาส่วนใหญ่ก็มีความใฝ่ฝันด้านนี้จบมาก็ประกอบอาชีพนักออกแบบแฟชั่นตามความตั้งใจทันที แต่นอกจากนี้แล้ว บัณฑิตสาขานี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง และสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น สไตล์ลิส (Stylish) ที่คอยดูแลเกี่ยวกับเสื้อผ้า นักออกแบบเครื่องประดับตกแต่ง (Accessories) หรือนักวาดภาพประกอบแฟชั่น รวมทั้งในสายงานแฟชั่นด้านอื่นๆ ตามความถนัดและสนใจของนักศึกษาเอง
จบมาทำงานอะไร
- ดีไซเนอร์ (Designer)
- สไตล์ลิส (Stylist, Art Direction)
- ผู้ดูแลด้านสินค้าและดูแลภาพลักษณ์ (Merchandising)
- ฝ่ายจัดซื้อ (Buyer)
- นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer)
สมัครเรียนทำอย่างไร
รับตรง
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน หรือ ปวช. ปวส.
- สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (วิทยาเขตพัฒนาการ) 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
หน่วยกิตละ 950-1, 500 บาท
ค่าบำรุงการศึกษา เทอมละ 3, 100 บาท
ศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ผลงานของสาขา
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
9.00
ความพร้อมของห้องปฎิบัติการและอุปกรณ์การเรียน
9.00
ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
8.50
สภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน
8.50
Summary
U-Review Score
8.55
การเรียนการสอน
1. มีการบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2. มีการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าอภิปรายและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
4.ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานภาคปฏิบัติ
5. การศึกษานอกสถานที่
6. มีตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะด้าน
7. มีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จในสายอาชีพออกแบบแฟชั่น และสิ่งทอ
8. การสอนและสอบข้อสอบมาตรฐานเพื่อวัดความรู้และทักษะทางปัญญาฝึกให้นำเสนอผลงานที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
9. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่องานแฟชั่นและสิ่งทอ
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts)
ชื่อสาขา
วิชาออกแบบแฟชั่น (Department of Fashion Design )
ชื่อปริญญา
ศศ.บ. (ออกแบบแฟชั่น) (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ออกแบบแฟชั่น))
รายละเอียด
1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบวิชาชีพด้านสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในระดับมาตรฐานสังคม
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้พื้นฐานทั่วไปในการดำเนินงานธุรกิจด้านแฟชั่นและสิ่งทออย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสาธารณชน
3. ส่งเสริมและสืบทอดศิลปะสิ่งทอของไทยโดยสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการของตลาดในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการใช้สติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์และการวิจัยที่จำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบริการในด้านนี้แก่สาธารณชน
5. สร้างบัณฑิตที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีคุณธรรม ระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมที่ตนอาศัยอยู่และเกี่ยวข้อง เพื่อผลิตบัณฑิตนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอที่มีจิตใจบริการ
คุณสมบัติ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือเทียบเท่าหรืออนุปริญญา
- สามารถเทียบโอนสูงสุดไม่เกิน 75% ของวิชาที่เรียนทั้งหมด (สำเร็จการศึกษาภายในไม่ต่ำกว่า2ปี)
สิ่งใหม่ จุดเด่น จุดแตกต่าง
1. มีการบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2. มีการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าอภิปรายและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
4.ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานภาคปฏิบัติ
5. การศึกษานอกสถานที่
6. มีตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะด้าน
7. มีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จในสายอาชีพออกแบบแฟชั่น และสิ่งทอ
8. การสอนและสอบข้อสอบมาตรฐานเพื่อวัดความรู้และทักษะทางปัญญาฝึกให้นำเสนอผลงานที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
9. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่องานแฟชั่นและสิ่งทอ
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
รับนักเรียนทุกแผนการเรียน
ค่าเทอม
ค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 - 40,000 บาท/เทอม
ตลอดหลักสูตร 240,000 – 320,000 บาท
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ผลงานและรางวัล
1. นรพนธ์ โลหะกิจ เจ้าของ Brend Kayasis
2. ธิรดา บุญชื่น เจ้าของ Brend Accesabytirada และคว้ารางวัลชนะเลิศในโครงการ สหกรุ๊ป แบงคอก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2011
3. วัชรพล คำพรมมา, อิสระ ยิ่งยง ผลงาน Freedom of color ได้รับรางวัลดีเด่น ออกแบบเครื่องแต่งกาย ประเภทชุดสุภาพบุรุษ โครงการประกวด SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2013
4. กานติมา พงษ์รูป
- ได้รับรางวัลชมเชย โครงการ การออกแบบชุดผ้าไทย ม.เกษมบัณฑิต
- ได้รับรางวัล ชมเชยจากโครงการ Thailand Creative National Costume Design2010 -เข้ารอบ 30 คนสุดท้าย โครงการCOTTON USA Design Challenge 2011
- เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย โครงการ Triumph inspiration award15 Finalists of thailand 2012(ทำชุดจริง)
5. ธัญวลัย โภคินเมธาสิธิ์ เข้ารอบ 20 คนสุดท้ายโครงการ Thailand Innofashion Awards 2016
6. สุภัสสร เทียมศักดิ์ เจ้าของผลงาน Poem of Thai Life โครงการ AirAsia Runway Ready Designer Search 2016 เป็นตัวแทนประเทศส่งผลงานเข้าประกวดร่วมกับนักออกแบบในอาเซียน ในเดือนสิงหาคม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
อาชีพ
- Fashion Designer (นักออกแบบเสื้อผ้า)
- Fashion Illustrator (นักวาดภาพประกอบแฟชั่น)
- Fashion Merchandiser (นักบริหารผลิตภัณฑ์)
- Fashion Stylist (ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น)
- Fashion Accessories Designer (นักออกแบบเครื่องตกแต่งแฟชั่น)
- Pattern Designer (ช่างสร้างแบบเสื้อผ้าและเครื่องต่างกาย)
- Fashion Consultant (ผู้ให้คำปรึกษาด้านแฟชั่น)
- Brand Manager (ผู้จัดการแบรนด์)
- Fashion Buyer (ผู้จัดซื้อและจัดหาสินค้าแฟชั่น)
- Fashion Marketing (นักการตลาดธุรกิจแฟชั่น)
- Costume Designer (นักออกแบบเครื่องแต่งกาย)
- Fashion Show Organizer (แฟชั่นโชว์ออร์แกไนเซอร์)
- Graphic Designer (นักออกแบบกราฟฟิค)
- Fashion Trend Analyst (นักวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่น)
- Visual Merchandiser (ผู้เชี่ยวชาญตกแต่งหน้าร้าน)
- Persona; Stylist Shopper (ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น)
- Make- up Artist (ช่างแต่งหน้า)
- Fashion Assistant Manager (ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกสินค้าแฟชั่น)
- Stylish (สไตล์ลิส)
- Textiles Designer (นักออกแบบลายผ้า)
- Model (นางแบบ / นายแบบ)
โอกาสงานในอาเซียน
เป็นหนึ่งในอาชีพเสรีในอาเซียน
ศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
รีวิวศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบแฟชั่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต หลักสูตรสำหรับน้องๆ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีใจรักด้านแฟชั่นและการตัดเย็บเสื้อผ้า ที่อยากจะเรียนต่อด้านแฟชั่น ที่นี่จะเรียนด้วยกันทั้งสิ้น 4 ปี โดยไม่ต้องกังวลว่าทักษะการตัดเย็บหรือการออกแบบจะไม่เก่งเท่าคนอื่น ที่นี่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะได้เริ่มต้นเรียนพื้นฐานการวาดเส้น หลักการเขียนแบบเหมือนกันหมด จากนั้นจึงจะเรียนลึกในด้านการออกแบบแฟชั่น การวาดสรีระโครงหุ่นแฟชั่น การสร้างแบบและการตัดเย็บพื้นฐาน ประวัติและแบบอย่างศิลปะ ทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบแฟชั่น และสุนทรียศาสตร์ในงานแฟชั่น
จากนั้นในชั้นปีที่ 2 เมื่อน้องๆ มีพื้นฐานชั้นปี 1 เรื่องการวาดเส้นและการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แล้ว ก็จะเริ่มการออกแบบลวดลาย และใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกสำหรับงานแฟชั่นและสิ่งทอ และได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการทำผ้ามัดย้อมการออกแบบลายผ้าด้วยอุปกรณ์พื้นบ้านอย่างเครื่องทอ ซึ่งทางสาขาก็ได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยสอนการทำหม้อครามแบบต้นฉบับด้วย และที่สาขาจะเน้นให้นักศึกษาเปิดกว้างในเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างผลงาน โดยนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติกันตั้งแต่ปี 2 ปี 3 นอกจากเรียนการสร้างแบบ การตัดเย็บ การออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทำผ้าบาติก การทำซิลค์สกรีนแล้ว ที่นี่นักศึกษาจะต้องได้ออกแบบ Accessories เช่น รองเท้า สร้อย หมวก รวมไปถึงการตลาดสินค้าแฟชั่น การบริหารการค้าปลีกในธุรกิจแฟชั่น และทัศนะศึกษาแฟชั่นและสิ่งทอด้วย
จากจินตนาการผ่านการดีไซน์ จนมาถึงการลงมือทำกับของจริง ได้พบเจอกับอุปสรรค์ปัญหา ได้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการจัดการแก้ไขปัญหาในกระบวนการออกแบบแฟชั่น และที่นี่ไม่ได้เน้นว่านักศึกษาจะต้องสามารถตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นร้อยๆ ตัว แต่นักศึกษาจะต้องสามารถถ่ายทอดให้ช่างเย็บที่ร่วมงานด้วยในอนาคตให้ทำตามที่ออกแบบมาได้อย่างสมบูรณ์ โดยที่นักศึกษาจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าการเย็บในแต่ละแบบแต่ละขั้นตอนนั้นเรียกว่าอะไร ซึ่งนักศึกษาจะลงมือทำแค่ตัวต้นแบบเพียงเท่านั้น พอปี 4 น้องๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดงานโครงการแฟชั่นและสิ่งทอ จะได้จัดงานเดินแบบ Fashion Show งานใหญ่ โดยรวมผลงานนักศึกษาจาก 5 มหาวิทยาลัย จัดขึ้นที่ Central World ช่วงเดือนมีนาคม และจากนั้นจะได้ฝึกสหกิจศึกษาที่สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องก่อนเรียนจบ
โดยทั่วไปคนจะมองว่านักศึกษาเรียนสาขาการออกแบบแฟชั่นจบออกมาต้องเป็นนักออกแบบแฟชั่น (Designer) เท่านั้น แน่นอนว่านักศึกษาส่วนใหญ่ก็มีความใฝ่ฝันด้านนี้จบมาก็ประกอบอาชีพนักออกแบบแฟชั่นตามความตั้งใจทันที แต่นอกจากนี้แล้ว บัณฑิตสาขานี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจที่สร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง และสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น สไตล์ลิส (Stylish) ที่คอยดูแลเกี่ยวกับเสื้อผ้า นักออกแบบเครื่องประดับตกแต่ง (Accessories) หรือนักวาดภาพประกอบแฟชั่น รวมทั้งในสายงานแฟชั่นด้านอื่นๆ ตามความถนัดและสนใจของนักศึกษาเอง
จบมาทำงานอะไร
- สไตล์ลิส (Stylist, Art Direction)
- ผู้ดูแลด้านสินค้าและดูแลภาพลักษณ์ (Merchandising)
- ฝ่ายจัดซื้อ (Buyer)
- นักออกแบบสิ่งทอ (Textile Designer)
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6 ทุกแผนการเรียน หรือ ปวช. ปวส.
- สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (วิทยาเขตพัฒนาการ) 1761 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ค่าบำรุงการศึกษา เทอมละ 3, 100 บาท
ศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
1. มีการบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2. มีการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าอภิปรายและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
4.ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานภาคปฏิบัติ
5. การศึกษานอกสถานที่
6. มีตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะด้าน
7. มีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จในสายอาชีพออกแบบแฟชั่น และสิ่งทอ
8. การสอนและสอบข้อสอบมาตรฐานเพื่อวัดความรู้และทักษะทางปัญญาฝึกให้นำเสนอผลงานที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
9. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่องานแฟชั่นและสิ่งทอ
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้พื้นฐานทั่วไปในการดำเนินงานธุรกิจด้านแฟชั่นและสิ่งทออย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสาธารณชน
3. ส่งเสริมและสืบทอดศิลปะสิ่งทอของไทยโดยสามารถสร้างสรรค์ พัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยและความต้องการของตลาดในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมการใช้สติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์และการวิจัยที่จำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาบริการในด้านนี้แก่สาธารณชน
5. สร้างบัณฑิตที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีคุณธรรม ระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมที่ตนอาศัยอยู่และเกี่ยวข้อง เพื่อผลิตบัณฑิตนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอที่มีจิตใจบริการ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงหรือเทียบเท่าหรืออนุปริญญา
- สามารถเทียบโอนสูงสุดไม่เกิน 75% ของวิชาที่เรียนทั้งหมด (สำเร็จการศึกษาภายในไม่ต่ำกว่า2ปี)
2. มีการจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าอภิปรายและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
4.ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานภาคปฏิบัติ
5. การศึกษานอกสถานที่
6. มีตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะด้าน
7. มีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จในสายอาชีพออกแบบแฟชั่น และสิ่งทอ
8. การสอนและสอบข้อสอบมาตรฐานเพื่อวัดความรู้และทักษะทางปัญญาฝึกให้นำเสนอผลงานที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
9. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและซอฟต์แวร์หรือสื่อต่างๆในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่องานแฟชั่นและสิ่งทอ
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
รับนักเรียนทุกแผนการเรียน
ตลอดหลักสูตร 240,000 – 320,000 บาท
2. ธิรดา บุญชื่น เจ้าของ Brend Accesabytirada และคว้ารางวัลชนะเลิศในโครงการ สหกรุ๊ป แบงคอก ยัง ดีไซเนอร์ อวอร์ด 2011
3. วัชรพล คำพรมมา, อิสระ ยิ่งยง ผลงาน Freedom of color ได้รับรางวัลดีเด่น ออกแบบเครื่องแต่งกาย ประเภทชุดสุภาพบุรุษ โครงการประกวด SAHA GROUP BANGKOK YOUNG DESIGNER AWARDS 2013
4. กานติมา พงษ์รูป
- ได้รับรางวัลชมเชย โครงการ การออกแบบชุดผ้าไทย ม.เกษมบัณฑิต
- ได้รับรางวัล ชมเชยจากโครงการ Thailand Creative National Costume Design2010 -เข้ารอบ 30 คนสุดท้าย โครงการCOTTON USA Design Challenge 2011
- เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย โครงการ Triumph inspiration award15 Finalists of thailand 2012(ทำชุดจริง)
5. ธัญวลัย โภคินเมธาสิธิ์ เข้ารอบ 20 คนสุดท้ายโครงการ Thailand Innofashion Awards 2016
6. สุภัสสร เทียมศักดิ์ เจ้าของผลงาน Poem of Thai Life โครงการ AirAsia Runway Ready Designer Search 2016 เป็นตัวแทนประเทศส่งผลงานเข้าประกวดร่วมกับนักออกแบบในอาเซียน ในเดือนสิงหาคม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
- Fashion Illustrator (นักวาดภาพประกอบแฟชั่น)
- Fashion Merchandiser (นักบริหารผลิตภัณฑ์)
- Fashion Stylist (ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น)
- Fashion Accessories Designer (นักออกแบบเครื่องตกแต่งแฟชั่น)
- Pattern Designer (ช่างสร้างแบบเสื้อผ้าและเครื่องต่างกาย)
- Fashion Consultant (ผู้ให้คำปรึกษาด้านแฟชั่น)
- Brand Manager (ผู้จัดการแบรนด์)
- Fashion Buyer (ผู้จัดซื้อและจัดหาสินค้าแฟชั่น)
- Fashion Marketing (นักการตลาดธุรกิจแฟชั่น)
- Costume Designer (นักออกแบบเครื่องแต่งกาย)
- Fashion Show Organizer (แฟชั่นโชว์ออร์แกไนเซอร์)
- Graphic Designer (นักออกแบบกราฟฟิค)
- Fashion Trend Analyst (นักวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่น)
- Visual Merchandiser (ผู้เชี่ยวชาญตกแต่งหน้าร้าน)
- Persona; Stylist Shopper (ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น)
- Make- up Artist (ช่างแต่งหน้า)
- Fashion Assistant Manager (ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกสินค้าแฟชั่น)
- Stylish (สไตล์ลิส)
- Textiles Designer (นักออกแบบลายผ้า)
- Model (นางแบบ / นายแบบ)
ศิลปศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ