ครั้งแรกกับการรวมศาสตร์อุตสาหการและโลจิสติกส์ ที่ มจพ. ระยอง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง จึงได้มีการเปิดทำการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสาขาที่เน้นตอบโจทย์การสร้างบุคลากร และผลิตแรงงานให้กับโรงงานในพื้นที่โซนภาคตะวันออก นอกจากนี้อาจารย์ธนภณ เจียรณัยยังได้กล่าวถึงจุดเด่นที่ทำให้สาขานี้แตกต่าง และพิเศษกว่าที่อื่นๆ ว่ามีทั้งวิชาที่เป็นแกนหลักของวิศวกรรมอุตสาหการ ผนวกกับการเรียนรู้ด้านโลจิสติกส์อีกสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักศึกษาของสาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ได้เปรียบกว่าที่อื่นๆ คือเรื่องที่ตั้งซึ่งสามารถเข้าถึงโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยง่าย จึงทำให้นักศึกษามีจุดแข็งเป็นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม และสาขาสามารถผลิตบุคลากรออกไปให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริง
ในเรื่องของกระบวนการเรียนโดยทั่วไปในปี 1 นักศึกษาจะได้เรียนในวิชาพื้นฐาน
ในเรื่องของกระบวนการเรียนโดยทั่วไปในปี 1 นักศึกษาจะได้เรียนในวิชาพื้นฐาน
เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ แล้วก็วิชาภาคปฏิบัติการทางด้านเคมีและฟิสิกส์ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือพื้นฐานทั่วไปของวิศวกรรม จนกระทั่งถึงตอนชั้นปีที่ 2 เทอม 1 จะเริ่มเข้าสู่วิชาที่เป็นเฉพาะทางวิศวกรรมมากขึ้น เช่น วิชาวัสดุวิศวกรรม วิชากลศาสตร์ หรือวิชาไฟฟ้าเป็นต้น หลังจากนั้นจะมาเริ่มเรียนวิชาที่เป็นเนื้อหาเฉพาะทางจริงๆ ของสาขานี้ก็ตอนชั้นปีที่ 2 เทอม 2 เช่นการวิจัยการดำเนินงาน การศึกษาการทำงาน วิชาวิศวกรรมความปลอดภัย วิศวกรรมการศึกษา เมื่อขึ้นปีที่ 3 ทั้งเทอม 1 และ 2 จะเป็นวิชาของสาขาเต็มๆ จนกระทั่งปี 4 เทอม 1จะได้ออกไปฝึกสหกิจ และกลับมาทำโครงงานหรือโปรเจคในปี 4 เทอม 2
ค่าใช้จ่ายหรือค่าเทอมจะเป็นแบบเหมาจ่ายเทอมละ 14,000 บาท ทั้งยังมีทุนการศึกษาไว้คอยช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความเดือนร้อนทางด้านการเงิน เช่น ทุนการศึกษาจากคณะ ที่แบ่งเป็น 2 แบบ คือทุนเรียนดี ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.75 ทุกเทอมและแบบทุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในส่วนนี้ทางคณะจะช่วยเหลือแค่ 5,000 บาท
ค่าใช้จ่ายหรือค่าเทอมจะเป็นแบบเหมาจ่ายเทอมละ 14,000 บาท ทั้งยังมีทุนการศึกษาไว้คอยช่วยเหลือนักศึกษาที่มีความเดือนร้อนทางด้านการเงิน เช่น ทุนการศึกษาจากคณะ ที่แบ่งเป็น 2 แบบ คือทุนเรียนดี ซึ่งต้องมีเกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.75 ทุกเทอมและแบบทุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในส่วนนี้ทางคณะจะช่วยเหลือแค่ 5,000 บาท
โดยที่เทอมแรกนั้นยังขอทุนไม่ได้ จะเปิดในช่วงเทอมสอง และนักศึกษาก็สามารถกู้เงินเรียนจาก กยศ. และ กรอ. ได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีทุนภายนอกอื่นๆ อย่างทุน ปตท. หรือทุนของเพื่อนชุมชน ที่นักศึกษาต้องมีเกรดเฉลี่ยเกิน 2.75 จึงจะสามารถขอทุนได้ และเป็นทุนแบบให้เปล่า ทุนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทุนจากบริษัทต่างๆ ในแถบภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
จากความได้เปรียบทางที่ตั้ง การเรียนการสอนที่เน้นทั้งเรื่องโอเปอเรชั่น (Operation) รีเสิร์ช (Research) โปรดักชั่น (Production) และสาขาเองก็เน้นการผลิตบุคลากรป้อนในโรงงานอยู่แล้ว นักศึกษาที่จบจากสาขานี้จึงมีโอกาสได้งานสูง
และสุดท้ายอาจารย์ธนภณ ได้ฝากข้อความถึงน้องๆ ซึ่งกำลังจะเลือกคณะหรือมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงนี้ว่า “อยากให้ลองถามตัวเองดูว่า เอ๊ะ! จริงๆ แล้วเราเหมาะกับทางนี้หรือป่าวขึ้นชื่อว่าเป็นวิศวอุตสาหการมันหนีไม่พ้นวงการอุตสาหกรรมอยู่แล้ว สถานที่ทำงานมันต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือเป็นภาคอุตสาหกรรมซะเป็นส่วนใหญ่ อยากให้พยายามดูอาชีพที่ทำต่อไปในอนาคต จะได้ไม่เสียเวลาลงเรียนใหม่”