ร่วมเป็นรากฐานสู่การพัฒนาประเทศ ด้วยการเรียนในคณะเทคโนโลยีชีวภาพ
ในปัจจุบันเราสามารถมองเห็นเทคโนโลยีชีวภาพได้ทุกที่รอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวัน หรือในอุตสาหกรรม และในองค์กรธุรกิจต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีเศรษฐกิจที่ดีอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศใกล้ๆเราอย่างมาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพค่อนข้างมากต่อเนื่องมาหลายสิบปีแล้ว จนมีพร้อมทั้งทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี และงบประมาณสนับสนุน และมาเลเซียเองก็มีการตั้งเป้าหมายในการเป็น Bio Hub ด้วย
ในส่วนของประเทศไทยเองมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีความหลากหลายอยู่แล้ว การสนับสนุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความสำคัญในการสร้างรากฐานให้กับเศรษฐกิจและสงคมของประเทศให้มั่นคงยั่งยืน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถทำให้สินค้า ผลิตภัณฑ์ มีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร เราจะสามารถเพิ่มคุณค่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้วได้อย่างไร หากทำได้เราก็จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เช่น การทำมาร์คเกอร์ทางพันธุกรรมข้าว Thai Jasmine rice เพื่อป้องกันการแอบอ้าง และสามารถยืนยันตัวตนได้ว่านี้คือข้าวหอมมะลิไทย และประเทศอื่นไม่สามารถทำข้าวแบบนี้ได้ เป็นต้น
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเกิดขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ซึ่งมองเห็นว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นรากฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมของประเทศ และมุ่งหวังให้เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีเทคโนโลยีชีวภาพเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
ในการเรียนการสอนตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี ทางคณะได้มีการพัฒนาบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ และด้วยความที่การเรียนการสอนในคณะเทคโนโลยีชีวภาพจะเน้นไปที่การเรียนในภาคปฏิบัติถึง 60 % ของการเรียนการสอน ดร.กำไล เลาหพัฒนาเลิศ คณะบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และคุณมุตตา รอดตัวดี เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการโรงงานต้นแบบ จึงพาเราชมคณะในส่วนที่เป็นห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นห้องแยกเชื้อ ห้องเตรียมสารเคมีและตัวอย่างทดลอง ห้องวิเคราะห์สาร หลายๆคนคงคิดว่าส่วนปฏิบัติการจะมีเพียงห้องทดลองเล็กๆเท่านั้น แต่ในคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิตแห่งนี้กลับทำให้เราประหลาดใจได้อีกอย่าง เพราะที่นี้มีแม้กระทั้งโรงงานต้นแบบที่มีเครื่องมือ เครื่องจักรไม่ต่างจากในโรงงานอุตสาหกรรมเลยทีเดียว โดยในโรงงานต้นแบบนี้จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้จริงๆ ซึ่งประกอบไปด้วยห้องผลิตภัณฑ์นม ส่วนของผลิตภัณฑ์หมัก ส่วนผลิตภัณฑ์แปลรูปเนื้อและเครื่องดื่ม ห้องเตรียมของสด และห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาเครื่องจักรในการแปลรูปผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่และเครื่องจักรในการบันจุผลิตภัณฑ์มาไว้ด้วยกัน
ทั้งนี้ในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีเศรษฐกิจที่ดีอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศใกล้ๆเราอย่างมาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพค่อนข้างมากต่อเนื่องมาหลายสิบปีแล้ว จนมีพร้อมทั้งทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี และงบประมาณสนับสนุน และมาเลเซียเองก็มีการตั้งเป้าหมายในการเป็น Bio Hub ด้วย
ในส่วนของประเทศไทยเองมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีความหลากหลายอยู่แล้ว การสนับสนุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงมีความสำคัญในการสร้างรากฐานให้กับเศรษฐกิจและสงคมของประเทศให้มั่นคงยั่งยืน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถทำให้สินค้า ผลิตภัณฑ์ มีคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างไร เราจะสามารถเพิ่มคุณค่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้วได้อย่างไร หากทำได้เราก็จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เช่น การทำมาร์คเกอร์ทางพันธุกรรมข้าว Thai Jasmine rice เพื่อป้องกันการแอบอ้าง และสามารถยืนยันตัวตนได้ว่านี้คือข้าวหอมมะลิไทย และประเทศอื่นไม่สามารถทำข้าวแบบนี้ได้ เป็นต้น
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเกิดขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ของท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ซึ่งมองเห็นว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะเป็นรากฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมของประเทศ และมุ่งหวังให้เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีเทคโนโลยีชีวภาพเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
ในการเรียนการสอนตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี ทางคณะได้มีการพัฒนาบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ และด้วยความที่การเรียนการสอนในคณะเทคโนโลยีชีวภาพจะเน้นไปที่การเรียนในภาคปฏิบัติถึง 60 % ของการเรียนการสอน ดร.กำไล เลาหพัฒนาเลิศ คณะบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ และคุณมุตตา รอดตัวดี เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการโรงงานต้นแบบ จึงพาเราชมคณะในส่วนที่เป็นห้องปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นห้องแยกเชื้อ ห้องเตรียมสารเคมีและตัวอย่างทดลอง ห้องวิเคราะห์สาร หลายๆคนคงคิดว่าส่วนปฏิบัติการจะมีเพียงห้องทดลองเล็กๆเท่านั้น แต่ในคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิตแห่งนี้กลับทำให้เราประหลาดใจได้อีกอย่าง เพราะที่นี้มีแม้กระทั้งโรงงานต้นแบบที่มีเครื่องมือ เครื่องจักรไม่ต่างจากในโรงงานอุตสาหกรรมเลยทีเดียว โดยในโรงงานต้นแบบนี้จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้จริงๆ ซึ่งประกอบไปด้วยห้องผลิตภัณฑ์นม ส่วนของผลิตภัณฑ์หมัก ส่วนผลิตภัณฑ์แปลรูปเนื้อและเครื่องดื่ม ห้องเตรียมของสด และห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาเครื่องจักรในการแปลรูปผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่และเครื่องจักรในการบันจุผลิตภัณฑ์มาไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ในอนาคตเองทางคณะเทคโนโลยีชีวภาพได้ตั้งเป้าหมายในการสร้างผลงานวิจัยควบคู่ไปกับการบูรณาการกับการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ เพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพทัดเทียมและเหนือกว่าที่อื่นๆอีกด้วย ดังนั้นทางคณะจึงเห็นความสำคัญในการสร้างพันธมิตรมาก โดยทางคณะจะมีการส่งนักศึกษาปริญญาโทไปร่วมทำวิจัยกับฮาร์บินประเทศจีน และส่งนักศึกษาปริญญาตรีไปฝึกงานที่ฮาร์บินไต้หวัน และฮาร์บินประเทศญี่ปุ่นเป็นประจำ
สำหรับใครที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี มีความชอบที่จะศึกษาหาความรู้ในเรื่องใหม่ๆ กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ และกำลังมองหาคณะที่ใช่ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว นอกจากนี้คณะเทคโนโลยีชีวภาพยังเป็นคณะขาดแคลน และประเทศยังคงต้องการบุคลากรผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้อีกมาก จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับใครที่สนใจอีกด้วย สุดท้ายคณะบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ ดร.กำไล เลาหพัฒนาเลิศ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายฝากถึงน้องๆอีกด้วยว่า “ในการเลือกเรียน สิ่งสำคัญอันดับแรกคือความชอบ ถ้าเราเรียนในสิ่งที่เราชอบ เรามักทำสิ่งที่เราชอบได้ดีและประสบผลสำเร็จ”
สำหรับใครที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี มีความชอบที่จะศึกษาหาความรู้ในเรื่องใหม่ๆ กระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ และกำลังมองหาคณะที่ใช่ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว นอกจากนี้คณะเทคโนโลยีชีวภาพยังเป็นคณะขาดแคลน และประเทศยังคงต้องการบุคลากรผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้อีกมาก จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับใครที่สนใจอีกด้วย สุดท้ายคณะบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ ดร.กำไล เลาหพัฒนาเลิศ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายฝากถึงน้องๆอีกด้วยว่า “ในการเลือกเรียน สิ่งสำคัญอันดับแรกคือความชอบ ถ้าเราเรียนในสิ่งที่เราชอบ เรามักทำสิ่งที่เราชอบได้ดีและประสบผลสำเร็จ”