U-Review

เรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์สุดล้ำ พร้อมสู่การปั้นอนาคตโลกยานยนต์ ที่นี่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) กับหลักสูตร วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ DPU

   เรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์สุดล้ำ พร้อมสู่การปั้นอนาคตโลกยานยนต์ ที่นี่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) กับหลักสูตร วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ DPU

    ในโลกที่อุตสาหกรรมยานยนต์ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ความรู้ด้านวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างอนาคตในวงการนี้ ที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะช่วยให้คุณเรียนรู้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ล้ำสมัย ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง พร้อมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการปั้นอนาคตในอุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่
 


   ทำไมต้องเรียน วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ DPU
  • ขอใบรับรองจากสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ได้
  • แห่งเดียวในไทยที่สอนแบตเตอรี่ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ
  • อาจารย์ผู้สอนเชี่ยวชาญด้านการบริการและบำรุงรักษายานยนต์ มีประสบการณ์ทำงานในศูนย์บริการรถยนต์กว่า 20 ปี
  • มีการสอนระบบควบคุมรถยนต์ ระบบ AI และการปรับแต่งเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง
  • เป็นพันธมิตรกับผู้นำเทคโนโลยี EV ฝึกงานได้นานถึง 10 เดือนและได้รับการพิจารณาการจ้างงานเป็นพิเศษ
  • ศึกษาดูงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน EV ของจีน
  • จบ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่างอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเทียบโอนหน่วยกิต เรียนจบใน 2 ปี
  • มีภาคพิเศษ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์


   หลักสูตรใหม่           
  • สร้างบัณฑิตที่มีทักษะการออกแบบและสร้างส่วนประกอบยานยนต์ ซ่อมบํารุง และบริการ เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ซึ่งเป็นที่ต้องการสูงในตลาดงาน
  • ผู้เรียนจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางพร้อมได้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และการออกแบบระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่มีคุณค่าสูงในอุตสาหกรรม
  • เตรียมความพร้อมสู่อนาคต เมื่อยานยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นมาตรฐานใหม่นักศึกษาที่มีความรู้ในด้านนี้จะได้เปรียบในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • หลักสูตรปูพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับบัณฑิตให้มีโอกาสเข้าทำงานในบริษัทที่มีนวัตกรรมหรือทำงานในแผนกงานวิจัยและพัฒนา R&D
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาซึ่งจำเป็นต่อการทำงานในบริษัทต่างชาติในอนาคต


   วิชาน่าเรียน           
  • เทคโนโลยีระบบต้นกำลังยานยนต์ (Automotive Power System Technology)
   เรียนรู้เครื่องยนต์และต้นกำลังของยานยนต์แบบต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน ยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า การส่งกำลัง รูปแบบต่างๆ ของมอเตอร์ขับเคลื่อน การทดสอบสมรรถนะ เทคนิคการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ เช่น การซุปเปอร์ชาร์จ เป็นต้น การวิเคราะห์ไอเสียและการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากไอเสีย
  • การออกแบบและสร้างชิ้นส่วนทางกล (Design and Build of Mechanical Parts)
   หลักเกณฑ์ทั่วไปในการออกแบบชิ้นส่วนของยานยนต์และชิ้นส่วนทางกล  ความแข็งแรงของวัสดุ คุณสมบัติและการเลือกใช้วัสดุ การต่อที่ถอดได้และถอดไม่ได้ การออกแบบชิ้นส่วนทางกลง่าย เช่น เกียร์ เพลา สกรูส่งกำลัง เฟืองตรง เป็นต้น กลไกในการส่งถ่ายกำลังและข้อต่อ กลไก รูปร่างและการเคลื่อนไหว การออกแบบชิ้นส่วนทางกลที่มีกลไกทำงานร่วมกัน เช่น เจอร์นัลแบริ่งและโรลลิ่งแบริ่ง เพลาข้อต่อ ชุดเฟืองส่งกำลัง เป็นต้น คุณลักษณะของชิ้นส่วนทางกล กรรมวิธีในการออกแบบ ทฤษฎีของความเสียหายที่ใช้ในการออกแบบ ปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ การสร้างชิ้นส่วนทางกลด้วยการพิมพ์ 3 มิติ เรซินคาร์บอนไฟเบอร์ และการหล่อโลหะ
  • การทดสอบประสิทธิภาพยานยนต์ (Automotive Efficiency Measurement and Testing)
   ศึกษาการวัดและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องยนต์ต้นกำลัง การปล่อยไอเสีย ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ความจุและการสิ้นเปลืองพลังงาน ประสิทธิภาพของขนาดล้อและความดันยางรถยนต์ ระยะทางที่วิ่งได้ การสั่นสะเทือน ระบบไฟฟ้า การชน สมรรถนะการขัขขี่ เซนเซอร์และระบบวัดประสิทธิภาพต่างๆ เทคโนโลยีการวัดประสิทธิภาพ การเก็บและการประมวลผลข้อมูล การขอรับรองมาตรฐานยานยนต์
  • แบตเตอรี่และการจ่ายพลังงานไฟฟ้า (Battery and Electrical Energy Distribution)
   เรียนรู้แบตเตอรี่ประเภทต่าง ๆ แบบน้ำ แบบอิเล็กทรอไลท์และแบบสถานะของแข็ง ธาตุที่สำคัญ คุณสมบัติและพันธะเคมีของแบตเตอรี่ การอัดและคายประจุ การจ่ายพลังงานของแบตเตอรี่ วงจรและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าแบตเตอรี่ ปฏิกิริยาเคมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่ การลัดวงจร จุดติดไฟถาวร การสมดุลเซลล์และวงจรป้องกันของแบตเตอรี่ การถ่ายเทและระบายความร้อนแบตเตอรี่ การเสื่อมและการกำจัดแบตเตอรี่ การวัดและทดสอบประสิทธิภาพแบตเตอรี่ การใช้งานไฮโดรเจนเพื่อการกำเนิดพลังงานสำหรับยานยนต์ระบบเครื่องยนต์ไฮโดรเจน การผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน
  • การบริการและบำรุงรักษายานยนต์ (Automotive Service and Maintenance)
   เรียนรู้ขั้นตอนการตรวจสภาพยานยนต์การบริการ การรับประกัน การบำรุงรักษายานยนต์ปัญหาที่พบบ่อยเช่น เครื่องยนต์ระบบส่งกำลัง ระบบระบายความร้อน ระบบหล่อลื่น น้ำมันเฟืองท้าย น้ำมันเบรก คลัตช์น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์กรองอากาศ กรองเชื้อเพลิง สายพาน ช่วงล่างและกันสะเทือน ระบบไฟสัญญาณและแสงสว่าง แบตเตอรี่ ระบบปรับอากาศ สีและเคลือบผิว เป็นต้น อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็น การประมาณค่าใช้จ่าย มาตรฐานการทำงานการบำรุงรักษา การจัดการภายในอู่และศูนย์บริการ
 
   รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่
  • สอนการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาในการซ่อมบำรุงยานยนต์สมัยใหม่เพื่อใช้สแกนหาโค้ดข้อผิดพลาดในระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ เช่น การวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์, ระบบเบรก, ระบบส่งกำลัง, และระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
  • เจาะลึกการออกแบบชิ้นส่วนทางกลด้วยโปรแกรม Solidworks พร้อมทั้ง Simulation การทำงานของชิ้นส่วนทางกล และสร้าง Model ของชิ้นงานที่ออกแบบ
  • นักศึกษาทุกคนได้ลงมือต่อวงจรไฟฟ้าแบตเตอรี่ ใช้โปรแกรมระบบจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System) และทดสอบประสิทธิภาพแบตเตอรี่โดยการต่อกับโหลดจริง
  • สนับสนุนให้นักศึกษาทำ mini-Project เกี่ยวกับการวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และเทคนิคการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง เช่น Win OLS, BitEdit, PCMFlash
 

   จบมาทำงานอะไรได้บ้าง?
  • วิศวกรออกแบบยานยนต์ (Automotive Design Engineer)
  • วิศวกรผลิตยานยนต์ (Process Engineer)
  • วิศวกรระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ (Automotive Electrical and Electronics Engineer)
  • วิศวกรระบบส่งกำลังยานยนต์ (Automotive Powertrain Engineer)
  • วิศวกรทดสอบยานยนต์ (Automotive Test Engineer)
  • วิศวกรระบบช่วยขับขี่ (Automotive Systems Engineer)
  • วิศวกรความปลอดภัยยานยนต์ (Automotive Safety Engineer)
  • วิศวกรซอฟต์แวร์ยานยนต์ (Automotive Software Engineer)
  • ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Consultant)
  • ผู้ประกอบการด้านยานยนต์ (Automotive Entrepreneur)
 

   Partner ของหลักสูตร           
  • บริษัท  Arrow Energy จำกัด
  • บริษัท TSA Intergroup จำกัด
  • บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
 
   หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร       

   ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ม.6 /ปวช. /กศน. หรือเทียบเท่า เรียนวันจันทร์-ศุกร์
   ภาคปกติ / เทียบโอน หลักสูตร 2 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่าง   อิเล็กทรอนิกส์ เรียนวันจันทร์-ศุกร์
   ภาคพิเศษ / เทียบโอน หลักสูตร 2 ปี สำหรับผู้ที่จบวุฒิ ปวส. สาขาช่างยนต์, ช่างกล, ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

   
ค่าใช้จ่ายในการเรียน            
  • 4 ปี ภาคปกติ ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 357,000
  • 2 ปี ภาคปกติ / เทียบโอน ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 196,000
  • 2 ปี ภาคพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ / เทียบโอน ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร 202,000
 

   วิธีการสมัครเรียน  
  • สมัคร Online ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คลิก https://bit.ly/4f3Wr5N 
  • สมัครที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา หรือการกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) Line : @DPUDek68

   หากคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมยานยนต์แห่งอนาคต หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่ CITE DPU คือจุดเริ่มต้นที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมาย มาเรียนรู้เทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมเตรียมความพร้อมสู่โลกยานยนต์ที่ไม่หยุดพัฒนา!


 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร วิทยาลัยดุสิตธานี

จากความต้องการของผู้บริการ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ...

M.S. (Watershed and Forest Environmental Management) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม ...

M.A. (Applied Linguistics) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ...