U-Review

สาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ :U-Review สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์



วันนี้จะพาน้องๆมารู้จักกับโลจิสติกส์สายพันธุ์ใหม่ อีกหนึ่งสาขาที่น่าจับตามองและเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสมัยใหม่ แม้งานด้านโลจิสติกส์จะมีมานาน และทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับกิจกรรมต่างๆ ดี ตั้งแต่การขนส่ง คลังสินค้า หรือ ซัพพลายเชน แต่เนื่องจากในยุคนี้ คือ ยุคแห่งดิจิทัล ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าต่างๆได้ง่ายเพียงปลายนิ้วผ่านแอพพลิเคชั่น ดังนั้นโลจิสติกส์ในแบบเดิมจึงต้องมีการพัฒนาให้รองรับธุรกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคตด้วย นั่นคือ แนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทางหลักสูตรจึงต้องมีการเสริมองค์ความรู้แก่หลักสูตรด้านโลจิสติกส์เพื่อตอบโจทย์สังคมดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

เรียนที่นี่แตกต่างจากที่อื่นอย่างไร?
การเรียนการสอนของที่นี่จะเน้นการนำแนวคิดในด้านไอที เข้ามามีส่วนในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เดิมที่เราเรียกว่า E-Logistics คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งการวางแผนการทำงานโลจิสติกส์  การดำเนินการ การควบคุมการทำงานขององค์กร การควบคุมระบบและซัพพลายเชน ยกตัวอย่างเช่น คลังสินค้า ถ้านำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเข้าไปช่วยในการทำงานจะทำให้ระบบคลังสินค้าเดิมทำงานได้สะดวกรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น เราจะเรียกคลังแบบใหม่นี้ว่า คลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) หรือในด้านการขนส่ง ต่อไปก็จะเป็นยุคของรถขนส่งแบบไร้คนขับ ซึ่งสามารถคำนวณเส้นทางได้เอง และวางแผนการจัดส่งแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดเวลา ลดต้นทุนการขนส่งเป็นอย่างมาก ดังนั้นโลจิสติกส์ในยุคต่อไป จะเป็นยุคของการนำเทคโนโลยีมาควบคุมทั้งระบบ Supply Chain ตลอดโซ่อุปทาน ซึ่งก็จะก้าวเข้าสู่ยุค E-Supply Chain เช่นเดียวกัน


หากน้องๆ เลือกเรียนหลักสูตรสาขานี้เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะสามารถออกแบบระบบ ธุรกิจที่ผสานด้วย
ระบบ E-Logistics ตั้งแต่ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ การขนส่งแบบใหม่ และโซ่อุปทาน นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้ในเรื่องของการนำ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมๆกับการประยุกต์ใช้ AI ในการตัดสินใจในงานโลจิสติกส์ เรียกว่า Logistic Analysis เพื่อให้สามารถตัดสินใจในด้านต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องที่สุด อันจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในโลกธุรกิจที่วัดกันที่ความรวดเร็วและต้นทุนเป็นสำคัญ


วิชาน่าเรียน
1.การจัดการเครือข่ายขนส่งและการกระจายสินค้าระดับโลก
2.คลังสินค้าอัจฉริยะ
3.กลยุทธ์โลจิสติกส์และโซ่อุปทานในยุคดิจิทัล
4.ระเบียบข้อบังคับโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
5.การจัดการจัดหาและจัดซื้อระดับโลก



สิ่งที่ได้จากการเรียน
1. การจัดการ ทั้งในเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจโลจิสติกส์ ตั้งแต่คลังสินค้า การจัดซื้อจัดหา การขนส่ง และซัพพลายเชน เป็นต้น
2. สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการการขนส่งสินค้า คลังสินค้า และกิจกรรมอื่นๆให้รวดเร็วขึ้น ฯลฯ
3. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทุกระดับได้


อาชีพในอนาคตที่รองรับ
1. ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
2. ผู้จัดการฝ่ายส่งออก
3. ผู้จัดการแผนกซัพพลายเชน
4. เจ้าของธุรกิจนำเข้าและส่งออก
5. เจ้าหน้าที่กระจายสินค้า
6. นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
7. นักวิเคราะห์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
8. ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ
9. นักวิจัย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
10. นักวางแผนวัตถุดิบการผลิตหรือการกระจายสินค้า
11. รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลากร

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ (SME) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ...

S-MBA (Special Master of Business Administration) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

หลักการสำคัญในการสร้างหลักสูตร MBA ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ...

MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น (MBJ) สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ได้ก่อตั้งขึ้นในปี ...