“ วิศวกรรมโยธา หนึ่งในวิชาที่น่าเรียน ” รีวิวสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ : U-Review
หนึ่งในมหาวิทยาลัย และสาขาที่น่าสนใจเรียนต่อเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรียนไปไม่มีตกงานแน่นนอน คงนี้ไม่พ้น สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ที่เปิดสาขาวิชามาถึง 26 ปีด้วยความเก๋าและความรู้ที่สะสมมา จึงสามารถสร้างบัณฑิตปฏิบัติการระดับปริญญาตรี มีความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรมที่จะประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธา เช่น วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง วิศวกรรมสุขาภิบาล และวิศวกรรมโยธาทั่วไป ในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และอุตสาหกรรมการบริการต่างๆ ทั้งต่างประเทศและนอกประเทศ
โดยรายละเอียดการเรียนนั้น มีการจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ปกติในหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เท่านั้นยังไม่พอ เพราะที่นี่มีการทำความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ด้านการเรียนการสอน เช่น บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด สนับสนุนวัสดุสำหรับงานวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ฝึกอบรมการใช้โปรแกรมทางด้านปฐพี หรือจะเป็นด้านการทำงาน เช่น สถานที่ฝึกงาน มีบริษัทรองรับนักศึกษา เช่น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ประยูรวิศว์ จำกัด , บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
และเมื่อน้องเรียนจบไปแล้วสามารถเดินเส้นทางอาชีพการทำงานสายโยธาได้มากมาย อาทิ วิศวกรโยธาในหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา เช่น งานออกแบบ งานก่อสร้าง งานสำรวจ และงานสถาปัตยกรรม เป็นต้น เป็นผู้ประกอบการอิสระ เช่น รับเหมางานก่อสร้าง และงานที่ปรึกษาด้านการก่อสร้าง เป็นต้น วิศวกรโยธาในหน่วยงานของรัฐบาล เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทางหลวง สำนักการโยธา เทศบาล วิศวกรส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาจารย์ผู้สอนด้านวิศวกรรมโยธา หรือเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโยธาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการ สอนในระดับอนุปริญญา หรือเป็น อาจารย์ผู้ช่วยสอนด้านวิศวกรรมโยธาหรือเทคโนโลยี อุตสาหกรรมโยธา ในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ผู้ช่วยนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธา เป็นต้น
การเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จะมีทั้งทฤษฎีและการปฎิบัติ ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ทางวิชาการและลงมือทำ เวลาจบออกไปทำงานสามารถทำได้จริง เพราะได้มีการลงมือทำมาแล้วและเมื่อเจอกับปัญหาในการทำงานก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา ทำให้เวลาเรียน นักศึกษาจึงสนุกกับการเรียน และสามารถปรึกษาและสอบถามอาจารย์ได้ตลอดเวลา ในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เปรียบเหมือนกับการทำงาน เพราะเราจะมีเพื่อนร่วมและผู้ว่าจ้าง จึงเหมือนเพื่อนและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน
สำหรับน้อง ๆ ที่จะเข้ามาเรียนต้องมีความสนใจทางด้านสายงานนี้ก่อน และเวลาเรียนจะได้เจออาจารย์ที่พร้อมจะให้ความรู้และความเข้าใจและเทคนิคต่าง ๆ และความสนุกในการเรียน และหลังจบออกไปสามารถหางานทำได้ง่ายกว่าสายอาชีพอื่น ๆแน่นนอน
โดยรายละเอียดการเรียนนั้น มีการจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ปกติในหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 144 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เท่านั้นยังไม่พอ เพราะที่นี่มีการทำความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ด้านการเรียนการสอน เช่น บริษัท ทีพีไอ คอนกรีต จำกัด สนับสนุนวัสดุสำหรับงานวิจัยของนักศึกษาและคณาจารย์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ฝึกอบรมการใช้โปรแกรมทางด้านปฐพี หรือจะเป็นด้านการทำงาน เช่น สถานที่ฝึกงาน มีบริษัทรองรับนักศึกษา เช่น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ประยูรวิศว์ จำกัด , บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
และเมื่อน้องเรียนจบไปแล้วสามารถเดินเส้นทางอาชีพการทำงานสายโยธาได้มากมาย อาทิ วิศวกรโยธาในหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา เช่น งานออกแบบ งานก่อสร้าง งานสำรวจ และงานสถาปัตยกรรม เป็นต้น เป็นผู้ประกอบการอิสระ เช่น รับเหมางานก่อสร้าง และงานที่ปรึกษาด้านการก่อสร้าง เป็นต้น วิศวกรโยธาในหน่วยงานของรัฐบาล เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทางหลวง สำนักการโยธา เทศบาล วิศวกรส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาจารย์ผู้สอนด้านวิศวกรรมโยธา หรือเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโยธาในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการ สอนในระดับอนุปริญญา หรือเป็น อาจารย์ผู้ช่วยสอนด้านวิศวกรรมโยธาหรือเทคโนโลยี อุตสาหกรรมโยธา ในสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ผู้ช่วยนักวิจัยด้านวิศวกรรมโยธา เป็นต้น
การเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา จะมีทั้งทฤษฎีและการปฎิบัติ ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ทางวิชาการและลงมือทำ เวลาจบออกไปทำงานสามารถทำได้จริง เพราะได้มีการลงมือทำมาแล้วและเมื่อเจอกับปัญหาในการทำงานก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา ทำให้เวลาเรียน นักศึกษาจึงสนุกกับการเรียน และสามารถปรึกษาและสอบถามอาจารย์ได้ตลอดเวลา ในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เปรียบเหมือนกับการทำงาน เพราะเราจะมีเพื่อนร่วมและผู้ว่าจ้าง จึงเหมือนเพื่อนและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน
สำหรับน้อง ๆ ที่จะเข้ามาเรียนต้องมีความสนใจทางด้านสายงานนี้ก่อน และเวลาเรียนจะได้เจออาจารย์ที่พร้อมจะให้ความรู้และความเข้าใจและเทคนิคต่าง ๆ และความสนุกในการเรียน และหลังจบออกไปสามารถหางานทำได้ง่ายกว่าสายอาชีพอื่น ๆแน่นนอน