วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทันสมัย
ประเทศไทยมีการเรียนการสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องด้านนี้มากว่า 40 กว่าปี ในระดับประกาศณียบัตรบัณฑิต ป.โท และ ป.เอก แต่ยังไม่มีระดับปริญญาตรี และจุดเริ่มต้นการก่อตั้งภาควิชา เนื่องมาจากประเทศไทยมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้มีความต้องการวิศวกรด้านนิวเคลียร์มารองรับ แม้ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนไปใช้พลังงานหลักด้านอื่น ดังนั้นทำให้ทางภาควิชาได้มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนตาม มาเป็นการใช้ประโยชน์ด้านรังสี และที่จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขานี้ในระดับปริญญาตรี (อยากให้ผู้ปกครองหรือน้องๆ ที่สนใจรู้ว่า ภาควิชานี้ไม่ได้เริ่มใหม่ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนจากภาควิชาเดิมกว่า 45 ปี)
หลักสูตร/การเรียนการสอน
ระยะเวลาเรียน 4 ปี
ปีแรก หลักสูตรพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เขียนแบบ เป็นต้น
ปีสอง เรียนพื้นฐานด้านรังสี นิวเคลียร์ รวมไปถึงพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ บางรายวิชาจะเรียนคล้ายสาขาเครื่องกล อุตสาหการ เคมี
ปีสาม ลงลึกรายละเอียดวิชาเฉพาะทางด้านนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี รังสีในอุตสาหกรรม การใช้รังสีเพื่อการถ่ายภาพ และใช้ประโยชน์ต่างๆ ของรังสี
ปีสี่ มีอีก 4 สาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียนเจาะลึก ทั้ง เครื่องมือนิวเคลียร์ การใช้งานรังสีทางอุตสาหกรรมและสิ่งเเวดล้อม นิวเคลียร์กำลัง และการกำจัดของเสียทางนิวเคลียร์ นำความรู้จากชั้นปีที่ 1-3 มาใช้ในการทำโครงงานทางวิศวกรรม
เมื่อเรียนจบแล้วมีโอกาสการทำงานยังไง
สามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะไปช่วยดูแล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่รับบัณฑิตสาขานี้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ กฟผ.และจบมาแล้วยังสามารถไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์
จุดเด่น
- เป็นสถาบันแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนสาขานี้ในระดับปริญญาตรี
- มีทุนการศึกษาให้ไปฝึกอบรมและศึกษาดูงานในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี
คุณสมบัติ/การรับสมัคร
"เปิดรับในปี 2560 เปิดรับสมัครช่วง 1 - 15 มีนาคม 2560 ผ่านระบบรับตรง (แบบปกติ) จำนวน 20 คน ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เน้นความรู้ด้านภาษาอังกฤษ อาจจะมีเกณฑ์คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ" ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ค่าเทอม เทอมละ 18,000 (ข้อมูลจาก https://www.reg.chula.ac.th/tuition-fees.html)
รายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่
ข้อมูลจาก : www.curadio.chula.ac.th
หลักสูตร/การเรียนการสอน
ระยะเวลาเรียน 4 ปี
ปีแรก หลักสูตรพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เขียนแบบ เป็นต้น
ปีสอง เรียนพื้นฐานด้านรังสี นิวเคลียร์ รวมไปถึงพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ บางรายวิชาจะเรียนคล้ายสาขาเครื่องกล อุตสาหการ เคมี
ปีสาม ลงลึกรายละเอียดวิชาเฉพาะทางด้านนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี รังสีในอุตสาหกรรม การใช้รังสีเพื่อการถ่ายภาพ และใช้ประโยชน์ต่างๆ ของรังสี
ปีสี่ มีอีก 4 สาขาวิชาย่อยให้เลือกเรียนเจาะลึก ทั้ง เครื่องมือนิวเคลียร์ การใช้งานรังสีทางอุตสาหกรรมและสิ่งเเวดล้อม นิวเคลียร์กำลัง และการกำจัดของเสียทางนิวเคลียร์ นำความรู้จากชั้นปีที่ 1-3 มาใช้ในการทำโครงงานทางวิศวกรรม
เมื่อเรียนจบแล้วมีโอกาสการทำงานยังไง
สามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะไปช่วยดูแล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่รับบัณฑิตสาขานี้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ กฟผ.และจบมาแล้วยังสามารถไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์
จุดเด่น
- เป็นสถาบันแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนสาขานี้ในระดับปริญญาตรี
- มีทุนการศึกษาให้ไปฝึกอบรมและศึกษาดูงานในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี
คุณสมบัติ/การรับสมัคร
"เปิดรับในปี 2560 เปิดรับสมัครช่วง 1 - 15 มีนาคม 2560 ผ่านระบบรับตรง (แบบปกติ) จำนวน 20 คน ซึ่งใช้เกณฑ์เดียวกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เน้นความรู้ด้านภาษาอังกฤษ อาจจะมีเกณฑ์คะแนนสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ" ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ค่าเทอม เทอมละ 18,000 (ข้อมูลจาก https://www.reg.chula.ac.th/tuition-fees.html)
รายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่
ข้อมูลจาก : www.curadio.chula.ac.th