U-Review

ทำความรู้จักกับ " สาขาโลจิสติกส์ " ที่ไม่ใช่แค่ระบบขนส่ง


           
          สำหรับในประเทศไทยนั้น การจัดการโลจิสติกส์กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากของหลายๆ บริษัท เพราะถ้าหากว่าบริษัทใด มีการขนส่งสินค้าที่ใช้งบประมาณน้อย หรือการขนส่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สามารถประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเกิดผลดี และช่วยลดต้นทุนต่อบริษัทได้มากขึ้นเท่านั้น หรือสรุปง่ายๆ คือ โลจิสติกส์เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดต้นทางไปยังจุดจำหน่ายตามความต้องการของลูกค้า

         UploadImageโดยเป้าหมายของโลจิสติกส์นั้นเพื่อให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด และในแถบภูมิภาคอาเซียนมองประเทศไทยเป็นผู้นำด้านโลจิสติกส์ และการส่งออกที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดความต้องการทางด้านโลจิสติกส์มากขึ้น หลายๆมหาวิทยาลัยจึงมีการเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์เกิดขึ้น
          อย่างที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเอกชนที่เล็งเห็นถึงกระแสของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์  โดย ดร.คมน์ พันธรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อธิบายเกี่ยวกับโลจิสติกส์ไว้ว่า “ความเข้าใจในอดีตคนทั่วไปคิดว่าโลจิสติกส์คือการขนส่งแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เพียงแค่การขนส่ง การขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ ส่วนถัดมาเป็นเรื่องของการบริหารสินค้าคงคลัง คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้าที่ทำหน้าที่ในการกระจายสินค้าไปยังลูกค้า และยังมีงานในส่วนให้บริการด้านโลจิสติกส์ การส่งออก นำเข้า และสุดท้ายคืองานให้คำปรึกษาด้านโลจิสติกส์”
 
          ผู้คนที่จบทางด้านโลจิสติกส์จะมีงานที่เกี่ยวข้อง 4 งานใหญ่ ดังนี้  ได้แก่ การขนส่ง เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ  54% คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า มีหน้าที่รวบรวมสินค้าจากหลายๆ ที่แล้วกระจายไปตามสาขาต่างๆคิดเป็นร้อยละ 24 % งานบริการด้านโลจิสติกส์ เป็นตัวแทนออกของ สายการเดินเรือ และ Clearing คิดเป็นร้อยละ 19% และงานให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยลดต้นทุน คิดเป็นร้อยละ 3%
 
          UploadImageทางมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้นได้ทำการเปิดการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีนั้นจะสอนเกี่ยวกับกระบวนการ วิธีการ เรียนรู้แต่ละฟังก์ชั่น แต่ละหน้าที่ที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ การวางแผน สินค้าคงคลัง โดยพื้นฐานจะเกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้น ต้องเข้าใจว่าถ้าไปเริ่มต้นทำธุรกิจเราต้องมองภาพออก พอเรียนไปเรื่อยๆ และในปีที่สูงขึ้นนักศึกษาต้องเรียนลงลึกไปอีก สุดท้ายก่อนจบจะมีการส่งนักศึกษาออกไปปฏิบัติแบบสหกิจศึกษากับสถานประกอบการอย่างน้อย 6 เดือน



          UploadImageนอกจากนั้นในระหว่างที่กำลังศึกษา ทางคณะยังได้เชิญบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านโลจิสติกส์มาบรรยายในทุกวิชา และทุกเทอม พอถึงช่วงฝึกงาน หรือฝึกสหกิจทางคณะจะมีเครือข่ายหรือ พาทเนอร์ภายนอกที่สามารถติดต่อให้เข้าร่วมฝึกสหกิจให้ด้วย เช่น บริษัทขนส่งระดับโลกอย่าง FedEx DHL UPS รวมไปถึงบริษัทขนส่งทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนปริญญาโทได้สอนให้เป็นอย่างผู้บริหาร สอนให้ไปแก้ปัญหา เช่นไปหาดูว่าองค์กรเรามีปัญหาอะไร ก็รีบแก้ไข เป็นต้น ส่วนของปริญญาเอก จะสอนให้ไปสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้ใหม่ ไปดู
วิธีการโดยคิดวิธีใหม่ๆ ผ่านการวิจัย



          สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเรียนทางด้านสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ของ ม.ศรีปทุม ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าไม่จำกัดว่าสายศิลป์ หรือสายวิทย์ ซึ่งหลายคนอาจจะกังวลเกี่ยวกับพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ กลัวว่ามันจะยากเกินไป ซึ่งวันนี้ เราจะพาไปทำความรู้จัก กับรุ่นพี่ปี 4 คือ พี่เจน นายภูดิศ เอี่ยมสิริ ผู้ที่ไม่ได้จบสายวิทย์ - คณิตมา และไม่ได้ตั้งใจจะเลือกสาขาโลจิสติกส์ตั้งแต่แรก เพียงแค่คิดว่าเรียนอะไรก็ได้ที่อยู่ในสายบริหารธุรกิจ ไปลองอ่านส่วนหนึ่งกับบทสัมภาษณ์กันเลย

หลายคนบอกว่าเรียนโลจิสติกส์ใช้คณิตศาสตร์เยอะไหม ?
เอาจริงๆผมก็เรียนศิลป์ – ญี่ปุ่นมาก็ไม่ค่อยแน่นเรื่องคณิตเท่าไหร่ เกรดก็ประมาณ 3 กว่าๆ ครับ

UploadImageทำไมถึงมาเลือกเรียนสาขานี้ ?
ที่จริงแล้ว ผมอยากเรียนคณะบริหารแต่ผมไม่ได้พ้อยว่า ผมต้องเรียนสาขาไหน แต่คือตอนนี้ผมเห็นแนวโน้มว่าโลจิสติกส์น่าสนใจที่สุด เลยเลือกที่จะเรียนครับ

พอเลือกเรียนเสร็จแล้ว เหมือนที่คิดไว้ไหม ?
ดีกว่าที่คิดครับ เพราะก่อนที่จะเข้ามาผมก็มีความเชื่อว่าเป็นแค่เพียงการขนส่ง ก็มีการปรึกษาคุณพ่อบ้างว่ามันเป็นอย่างไร เพราะพ่อผมก็ทำงานในสายบริหาร พ่อก็บอกว่ามันเป็นการลดต้นทุนนะ ผมก็ยังไม่เข้าใจ แต่พอผมเข้ามาได้สัมผัสได้ อาจารย์ก็มีเรื่องมาเล่าบ่อยๆ ก็เลยเข้าใจมากขึ้น ว่ามันไม่ใช่แค่การขนส่งแต่มันเป็นทั้งกระบวนการในโซ่อุปทาน

          จากบทสัมภาษณ์ส่วนหนึ่งเพียงสั้นๆ ก็พอสรุปได้ว่า การที่จะเข้ามาเรียนในสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้น ไม่จำเป็นต้องเก่งด้านคณิตศาสตร์มาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ว่าก่อนเข้าศึกษาไม่คิดจะอ่านตำราอะไรมาเลย สิ่งที่ต้องเตรียมมา คือ ความตั้งใจ และความมุ่งมั่น ที่พอหลับตาแล้วเราเห็นตัวเองทำงานด้านไหน คุณสมบัติเรามีอะไร แล้วเมื่อจบออกไปเราประสบความสำเร็จแน่นอน
          และวันนี้เราจะทิ้งท้ายด้วยสิ่ง 3 สิ่งที่ ดร.คมน์ พันธรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน อยากจะฝากไว้ให้น้องๆ ที่สนใจในด้านโลจิสติกส์ อย่างแรก ต้องมีความตั้งใจ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะยากเกินไป อย่างที่สอง ต้องเป็นคนช่างสังเกต คิดวิเคราะห์ เพราะคนที่เรียนบริหาร และโลจิสติกส์ต้องเป็นคนช่างวางแผน อย่างที่สาม ต้องกล้าแสดงออก กล้าที่จะนำเสนอ เพราะตลอดเวลาที่เรียนจะมีการออกไปนำเสนอผลงาน คือต้องกล้าพูด กล้าทำ กล้าคิด เพราะถ้าจบออกไปแล้วนั้น ต้องได้ใช้แน่นอน.....

UploadImage
 

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ก่อตั้งมากจาก ความร่วมมือร่วมใจ ...

เภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐ ...

MBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากสภาพการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ของภาคธุรกิจ ทำให้หลายๆ ...