"วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ฟันเฟืองของการพัฒนาพลังงานเพื่ออนาคต"รีวิวสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม : U-Review
ขึ้นชื่อว่าพลังงานธรรมชาติ หากไม่มีการหาทดแทน ก็จะถูกใช้จนหมดไปในสักวัน สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จึงเป็นสาขาวิชาหนึ่งสำหรับ น้องๆ ที่ไม่ชอบหยุดนิ่ง และสนใจอยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เสาะแสวงหาแหล่งพลังงานธรรมชาติใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
"ในประเทศที่มีการพัฒนาแล้วนั้น มักมีการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการศึกษาเกี่ยวกับเหมืองแร่และปิโตรเลียมอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบโจทย์การเจริญเติบโตระบบอุตสาหกรรม แต่ในประเทศไทย กลับมีสถาบันที่เปิดสอนเพียง 3 ที่เท่านั้น คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว
โดยที่จุฬาฯ นั้นจะเรียกหลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่ ว่าวิศกรรมทรัพยากรธรณี เรียนเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ของโลก (Earth Science) เพื่อศึกษาว่าทรัพยากรของโลกเกิดมาได้อย่างไร ในทางธรณีวิทยาอะไรที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แร่ธาตุเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไร และการจัดหาวัตถุดิบไปหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมอื่นๆ ในทุกภาคส่วน จึงถือว่าเป็นวิชาต้นน้ำในระบบอุตสาหกรรมอื่นๆ
ในเรื่องของการเปิดรับน้องๆ ที่สนใจเข้าเรียนวิศกรรมทรัพยากรธรณี จะรับสมัครโดยใช้ระบบสอบรับตรง และระบบแอดมิชชัน โดยในปีหนึ่งจะรับสมัครเพียงแค่ 20 - 30 คน เท่านั้น
“จุดเด่นของคณะนี้ คือจะไม่เหมือนกับวิศวกรรมสาขาอื่นๆ เพราะปีหนึ่งจะรับสมัครคนเข้าเรียนไม่เยอะ ทำให้การเรียนการสอนมีความใกล้ชิดและผูกพันธ์กันมาก และสามารถไปเรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้ เช่นที่ญี่ปุ่น หรือเยอรมัน บัณฑิตที่จบไปส่วนใหญ่ก็มักทำงานที่บริษัทเอสซีจี บริษัทก่อสร้าง กลุ่มบริษัทปูน โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ทำอุโมงค์ และในอนาคต ประเทศไทยจะมีการเปิดเหมืองแร่โปแตชขนาดใหญ่ที่ภาคอีสาน บัณฑิตสาขานี้จึงยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในประเทศและต่างประเทศ” ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์กล่าว
เพราะปัจจุบันพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนและหมุนเวียนโลกให้ก้าวหน้าต่อไป วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จึงเป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจสำหรับน้องๆ อยากเข้ามาเป็นหนึ่งในฟันเฟืองตัวสำคัญที่ไม่เคยหยุดนิ่งในระบบอุตสาหกรรม คอยทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยแร่ธาตุรวมไปถึงแหล่งพลังงานธรรมชาติเพื่อการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รายการ OPEN HOUSE ONAIR สถานีวิทยุจุฬา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : www.eng.chula.ac.th
"ในประเทศที่มีการพัฒนาแล้วนั้น มักมีการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการศึกษาเกี่ยวกับเหมืองแร่และปิโตรเลียมอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบโจทย์การเจริญเติบโตระบบอุตสาหกรรม แต่ในประเทศไทย กลับมีสถาบันที่เปิดสอนเพียง 3 ที่เท่านั้น คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว
โดยที่จุฬาฯ นั้นจะเรียกหลักสูตรวิศวกรรมเหมืองแร่ ว่าวิศกรรมทรัพยากรธรณี เรียนเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ของโลก (Earth Science) เพื่อศึกษาว่าทรัพยากรของโลกเกิดมาได้อย่างไร ในทางธรณีวิทยาอะไรที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แร่ธาตุเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไร และการจัดหาวัตถุดิบไปหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมอื่นๆ ในทุกภาคส่วน จึงถือว่าเป็นวิชาต้นน้ำในระบบอุตสาหกรรมอื่นๆ
“จุดเด่นของคณะนี้ คือจะไม่เหมือนกับวิศวกรรมสาขาอื่นๆ เพราะปีหนึ่งจะรับสมัครคนเข้าเรียนไม่เยอะ ทำให้การเรียนการสอนมีความใกล้ชิดและผูกพันธ์กันมาก และสามารถไปเรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศได้ เช่นที่ญี่ปุ่น หรือเยอรมัน บัณฑิตที่จบไปส่วนใหญ่ก็มักทำงานที่บริษัทเอสซีจี บริษัทก่อสร้าง กลุ่มบริษัทปูน โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ ทำอุโมงค์ และในอนาคต ประเทศไทยจะมีการเปิดเหมืองแร่โปแตชขนาดใหญ่ที่ภาคอีสาน บัณฑิตสาขานี้จึงยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในประเทศและต่างประเทศ” ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์กล่าว
เพราะปัจจุบันพลังงานเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนและหมุนเวียนโลกให้ก้าวหน้าต่อไป วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จึงเป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจสำหรับน้องๆ อยากเข้ามาเป็นหนึ่งในฟันเฟืองตัวสำคัญที่ไม่เคยหยุดนิ่งในระบบอุตสาหกรรม คอยทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยแร่ธาตุรวมไปถึงแหล่งพลังงานธรรมชาติเพื่อการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : รายการ OPEN HOUSE ONAIR สถานีวิทยุจุฬา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : www.eng.chula.ac.th