"สารสนเทศการแพทย์ ผสานเทคโนโลยีสู่การแพทย์" : Exclusive Talk
บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักสูตรสารสนเทศการแพทย์ ของหัวหน้าสาขาวิชาฯ ดร. ธนาธร ทะนานทอง วิทยาลัย ICT มหาวิทยาลัยรังสิต (คัดลอกบางส่วน)
ใจรักการแพทย์
สิ่งหนึ่งที่นักศึกษาต้องคำนึงถึงก็คือ อยากเรียนเกี่ยวกับอะไร เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เขามีความฝัน ความต้องการการศึกษาในวิชาชัพนั้นๆมากยิ่งขึ้น “สารสนเทศการแพทย์” เป็นวิชาชีพที่มีการ บูรณาการร่วมกันระหว่างสาขาไอทีและการแพทย์ ทำให้นักศึกษาได้ศึกษาจากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านไอที วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ผสมผสานกับการถ่ายทอดจากอาจารย์หมอทั้งหลาย ซึ่งกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราได้เรียนรู้อะไรแปลกๆ ใหม่ๆ มากกว่าการเรียนในด้านไอทีเพียงอย่างเดียว
ความโดดเด่นของการเรียน
ด้านสาขาวิชาสารสนเทศการแพทย์ เป็นสาขาเฉพาะที่เป็นสาขาแรกของประเทศไทยตลาดแรงงานมีความต้องการใช้บริการสูงมาก เพราะสถานพยาบาลทั้งหลายต่างนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปใช้ในสถานพยาบาล แต่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทางการแพทย์ จึงทำให้แต่ละที่ต้องการรับบุคลากรทางด้านสารสนเทศการแพทย์มาก แน่นอนว่าเมื่อตลาดแรงงานมีความต้องการใช้บริการสูง นักศึกษาที่จบจากสาขานี้ก็ย่อมมีที่เปิดขึ้นมารองรับกับการนำเทคโนโลยีไปใช้งานร่วมกับสถานพยาบาลทั้งหลาย ทำให้ปัจจุบันวิชาชีพนี้ในตลาดแรงงานมีความต้องการสูง แต่เนื่องจากความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านการแพทย์ของนักศึกษาสารสนเทศที่ไม่ได้จบโดยตรงยังน้อยอยู่มาก จึงทำให้นักศึกษาที่จบการศึกษาทางด้านนี้มีโอกาสเงินเดือนสูงกว่าวิชาชีพเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย
แนวทางการประกอบอาชีพ
นักเวชระเบียน
นักเวชสถิติ
นักวิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์
นักวิเคราะห์ระบบด้านการแพทย์และโรงพยาบาล
นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์/โปรแกรม
นักพัฒนาระบบสารสนเทศดานการแพทย์และโรงพยาบาล
ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลด้านการแพทย์และโรงพยาบาล
ผู้ประสานงานโครงการด้านการแพทย์และโรงพยาบาล
"เพราะปัจจุบันนี้การให้บริการและรักษาผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์ สามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและได้ผลจริงด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลสารสนเทศกับงานด้านการแพทย์ เป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงมากๆ ในต่างประเทศเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาที่กำลังตื่นตัวและลงทุนกับเรื่องนี้เป็นเรื่องหลักเลยทีเดียว "
ดูรายละเอียดหลักสูตร สารสนเทศการแพทย์ คลิกที่นี่
เรื่องโดย นิตยสาร COMTODAY ฉบับที่ 519
ภาพโดย นิตยสาร COMTODAY ฉบับที่ 519