"เรียนออกแบบครอบคลุมทุกสื่อ สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน" รีวิวสาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ : U-Review
ถ้าพูดถึง "สื่อ" น้องๆ จะคิดถึงสื่อไหนกันบ้างครับ สื่อที่กำเนินขึ้นเป็นสื่อแรกของโลกอย่าง สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อภาพเคลื่อนไหวอย่างวีดีโอ แอนนิเมชัน วีดีโอเกม หรือ สื่อสมัยใหม่อย่างเว็บไซต์ และ Social Media ลองดูว่าสื่อแรกที่น้องๆ นึกถึงเป็นสิ่งที่คลุกคลีอยู่ทุกวันใช่หรือไม่ มนุษย์เราอยู่กับสื่อกันทุกวันตั้งแต่สื่อกำเนิดขึ้นมาอย่างจริงจัง ตลาดการผลิตสื่อเพื่อการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่ไม่เคยตายไปจากโลก เพียงแต่เพิ่มเติมและวิวัฒน์ไปตามกาลเวลา ยุคสมัย และเทคโนโลยีเท่านั้น
การเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคนี้จึงต้องเป็นไปในทิศทางที่จะทำให้น้องๆ มีความรู้ ความสามารถครอบคลุมทุกสื่อที่มี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะสร้างความได้เปรียบให้ได้ด้วยเช่นกัน ที่สาขาวิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นอกจากน้องๆ จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน และมีความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรกับสถาบันในประเทศนิวซีแลนด์แล้ว จุดเด่นของที่นี่ยังเป็นการสร้างความรู้ในการออกแบบให้กับน้องๆ ครอบคลุมทุกสื่อที่ต้องอาศัยการออกแบบเพื่อการสื่อสารก่อนในปี 1 และปี 2 ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ แอนนิเมชิน 3D และการผลิตวีดีโอ เพราะทุกสื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกัน ใช้พื้นฐานทางศิลปะ และคอมพิวเตอร์แบบเดียวกัน พอน้องๆ เข้าเรียนปี 3 ถึงจะได้เลือกเรียนสื่อใดสื่อหนึ่งเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ตนเอง
ขอกระซิบบอกถึงการเรียนที่นี่อีกนิดหนึ่ง การเรียนที่นี่จะเรียนกัน 3 เทอมต่อปีการศึกษา ฉะนั้นน้องๆ จะเรียนกันแค่ 3 ปีเท่านั้น แต่เวลาเรียนไม่ได้น้อยกว่าที่อื่นนะครับ เพียงแต่เวลาปิดเทอมอาจน้อยกว่าที่อื่นนิดหน่อยเท่านั้นเอง
“โรงเรียนสอนออกแบบในไทย 90% สอนเป็นภาษาไทย 10% สอนเป็น International
คนที่เรียนภาคภาษาอังกฤษจึงได้เปรียบมากในการหางาน”
วาริ โชคล้ำเลิศ
หัวหน้าภาควิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
พูดถึงการเรียนกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่การทำงานหลังจบการศึกษา ขอบอกเลยว่าหลังจากเรียนจบออกไปทำงานแล้ว ค่าตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน ลงแรง และการทุ่มเทแรงใจของน้องๆ แน่นอนครับ ด้วยความที่สถาบันการเรียนการสอนด้านการออกแบบในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะสอนกันเป็นภาษาไทย แล้วมีเพียง 10% เท่านั้นที่จัดการเรียนการสอนเป็นแบบ International ทำให้น้องๆ ที่จบจากสาขาวิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด มีความได้เปรียบด้านการทำงานร่วมกับบริษัทต่างชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และรับงานเอามาทำ เรื่องรายได้จากการทำงานกับบริษัทต่างชาติเองก็มักจะสูงกว่าการทำงานกับบริษัททั่วไป แม้น้องๆ จะมีความสามารถด้านการใช้เครื่องมือการออกแบบเท่ากันก็ตาม
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเอกนักออกแบบชาวไทยเองก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น งานออกแบบของเราก็พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นโอกาสอันดีของน้องๆ ที่มีใจรักด้านการออกแบบ ที่จะเลือกเรียนในสาขาที่สอนการออกแบบครอบคลุมทุกสื่อ ทั้งสื่อดั้งเดิมอันเป็นพื้นฐาน และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นการต่อยอดความรู้ พัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้เกิดขึ้น ในเวลาที่น้อยกว่าที่อื่นกว่า 1 ปี พร้อมสร้างทักษะด้านการสื่อสารให้น้องๆ สามารถรับงานได้จากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย
การเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในยุคนี้จึงต้องเป็นไปในทิศทางที่จะทำให้น้องๆ มีความรู้ ความสามารถครอบคลุมทุกสื่อที่มี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะสร้างความได้เปรียบให้ได้ด้วยเช่นกัน ที่สาขาวิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นอกจากน้องๆ จะได้ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน และมีความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรกับสถาบันในประเทศนิวซีแลนด์แล้ว จุดเด่นของที่นี่ยังเป็นการสร้างความรู้ในการออกแบบให้กับน้องๆ ครอบคลุมทุกสื่อที่ต้องอาศัยการออกแบบเพื่อการสื่อสารก่อนในปี 1 และปี 2 ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ แอนนิเมชิน 3D และการผลิตวีดีโอ เพราะทุกสื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกัน ใช้พื้นฐานทางศิลปะ และคอมพิวเตอร์แบบเดียวกัน พอน้องๆ เข้าเรียนปี 3 ถึงจะได้เลือกเรียนสื่อใดสื่อหนึ่งเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ตนเอง
ขอกระซิบบอกถึงการเรียนที่นี่อีกนิดหนึ่ง การเรียนที่นี่จะเรียนกัน 3 เทอมต่อปีการศึกษา ฉะนั้นน้องๆ จะเรียนกันแค่ 3 ปีเท่านั้น แต่เวลาเรียนไม่ได้น้อยกว่าที่อื่นนะครับ เพียงแต่เวลาปิดเทอมอาจน้อยกว่าที่อื่นนิดหน่อยเท่านั้นเอง
“โรงเรียนสอนออกแบบในไทย 90% สอนเป็นภาษาไทย 10% สอนเป็น International
คนที่เรียนภาคภาษาอังกฤษจึงได้เปรียบมากในการหางาน”
วาริ โชคล้ำเลิศ
หัวหน้าภาควิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
พูดถึงการเรียนกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่การทำงานหลังจบการศึกษา ขอบอกเลยว่าหลังจากเรียนจบออกไปทำงานแล้ว ค่าตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน ลงแรง และการทุ่มเทแรงใจของน้องๆ แน่นอนครับ ด้วยความที่สถาบันการเรียนการสอนด้านการออกแบบในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะสอนกันเป็นภาษาไทย แล้วมีเพียง 10% เท่านั้นที่จัดการเรียนการสอนเป็นแบบ International ทำให้น้องๆ ที่จบจากสาขาวิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด มีความได้เปรียบด้านการทำงานร่วมกับบริษัทต่างชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และรับงานเอามาทำ เรื่องรายได้จากการทำงานกับบริษัทต่างชาติเองก็มักจะสูงกว่าการทำงานกับบริษัททั่วไป แม้น้องๆ จะมีความสามารถด้านการใช้เครื่องมือการออกแบบเท่ากันก็ตาม
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเอกนักออกแบบชาวไทยเองก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น งานออกแบบของเราก็พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นโอกาสอันดีของน้องๆ ที่มีใจรักด้านการออกแบบ ที่จะเลือกเรียนในสาขาที่สอนการออกแบบครอบคลุมทุกสื่อ ทั้งสื่อดั้งเดิมอันเป็นพื้นฐาน และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นการต่อยอดความรู้ พัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้เกิดขึ้น ในเวลาที่น้อยกว่าที่อื่นกว่า 1 ปี พร้อมสร้างทักษะด้านการสื่อสารให้น้องๆ สามารถรับงานได้จากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย