"ภาพยนตร์ พลังภายใต้ความบันเทิง" รีวิวสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล : U-Review
ตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มักถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ มากมาย ตั้งแต่เป็นเครื่องมือสร้างความบันเทิง ถ่ายทอดประสบการณ์ สื่อสารทางการเมือง ตลอดจนเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจ และการขับเคลื่อนสังคม ภาพยนตร์จึงมีบทบาทอย่างมากในฐานะของตัวแทนวัฒนธรรมที่เป็น Soft power โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้ง่ายดาย และใครๆ ก็สามารถผลิตภาพยนตร์มาเผยแพร่ได้ ภาพยนตร์ไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับกลุ่มทุน และชนชั้นนำอีกต่อไป
เดิมสาขาภาพยนตร์อาจถูกมองว่าเป็นสาขาที่เข้าถึงได้อยาก ต้องใช้เงินและต้นทุนสูง แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามาถึงขั้นที่ใครๆ ก็สามารถผลิตภาพยนตร์ได้ เราสามารถสร้างภาพยนตร์ได้โดยกล้องสักตัว หรือมือถือสักเครื่อง การผลิตภาพยนตร์จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ฉะนั้นใครก็ตามที่มีความสนใจ และคิดว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์ มีสิ่งที่ต้องการสื่อสารอยู่ในตัว จึงเหมาะที่จะเข้าไปเรียนในสาขาภาพยนตร์ เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และขัดเกลาความสามารถให้โดดเด่น
“คนเรียนแพทย์ เรียนวิศวฯ เขาจะอ่านหนังสือกันเป็นหลัก ส่วนคนเรียนทำหนังสิ่งที่ต้องทำคือดูหนัง”
อ.บัณฑิต สัตย์เพริศพราย
หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิวทยาลัยเกษมบัณฑิต
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จะเริ่มสอนน้องๆ ตั้งแต่วิธีการจัดระบบความคิด วิธีการสร้างภาพยนตร์ สอนทฤษฏีผ่านการลงมือปฏิบัติจริง สร้างน้องๆ ให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ เป็นการเรียนการสอนที่แม้แต่คนที่เริ่มต้นจาก 0 ก็สามารถเรียนได้
การเรียนการสอนของสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า 4+1 = 3+2 ที่เป็นการให้น้องปี 1 ทำงานร่วมกับพี่ปี 4 และนักศึกษาปี 3 ทำงานร่วมกับนักศึกษาปี 2 เมื่อน้องๆ เข้ามาเรียนในปี 1 จะได้ร่วมทำภาพยนตร์กับพี่ๆ ปี 4 เลย แล้วพี่ปี 4 จะเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้น้องๆ ส่วนปี 2 และปี 3 จะทำงานร่วมกันในเชิงการแบ่งปันความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในการวัดผลจะเป็นแบบ “Based On project” คือในหนึ่งโปรเจคที่น้องๆ จะได้ทำจะสามารถวัดผลได้หลายๆ วิชา เช่น การผลิตหนังเรื่องหนึ่ง ก็จะได้เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการ Pre-production, Production ไปจนถึง Post-production วัดผลตั้งแต่วิชาเขียนบท การกำกับภาพยนตร์ การถ่ายภาพ และการตัดต่อภาพยนตร์
ห้องสตูดิโอ
อ.กชพรรณ สกุลพุทธพร อาจารย์ผู้ดูแลโปรเจค 4+1 = 3+2
กระบวนการเรียนภายในห้องสตูดิโอน้องๆ จะได้เรียนตั้งแต่กระบวนการ Pre-production เช่น การเขียนบท การคิดไอเดีย เรียนมุมกล้อง ภาษาภาพ การจัดแสง เรียนการสื่อสารผ่านการแสดง การแต่งหน้า ตลอดจนการสร้างฉาก ก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำจริง ในกระบวนการ Production แล้วนำไปตัดต่อในขั้นตอน Post-production
สตูดิโอถ่ายภาพนิ่ง
อ.วัฒนา เจริญชัยนพกุล
การเรียนภาพนิ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาขาสาภาพยนตร์ในการทำความคุ้นเคยกับกล้อง น้องๆ จะต้องใช้งานกล้องให้ได้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ฉะนั้นจะต้องฝึกการปรับค่ากล้อง ปรับค่า F-stop หรือรูรับแสง การปรับค่าสปีดชัตเตอร์ การจัดแสงเพื่อการถ่ายภาพ ไปจนถึงการสื่อสารกับนักแสดง หรือแบบ ว่าต้องการให้ภาพออกมาในอารมณ์ไหน เพราะภาพยนตร์คือภาพนิ่งหลายๆ ภาพมาต่อกัน ฉะนั้นต้องเรียนเรื่องภาพนิ่งเป็นพื้นฐานก่อน
ห้องฉายภาพยนตร์
อ.โพลาร์ ชัยพล อินทรวงศ์
ในห้องเรียนนี้เป็นการเรียนรู้จากการดูภาพยนตร์ของรุ่นพี่ที่เคยได้รับรางวัลในเวทีต่างๆ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจตั้งแต่เข้ามาเรียนในปี 1 พอดูจบแล้วค่อยมาอภิปรายกันว่าภาพยนตร์ที่ได้ดูไปถ่ายทอดภาพออกมาเป็นอย่างไร ใช้มุมกล้องอะไร การจัดแสงเป็นแบบไหน และอุปสรรคในการถ่ายทำของรุ่นพี่มีอะไรบ้าง
“เด็กปี 1 ชอบบ่นว่าเมื่อไหร่จะได้ถ่ายหนัง แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้ทฤษฏีกันไปก่อนพอสมควร แต่เราจะให้เห็น ให้เกิดความอยาก และสร้างแรงบันดาลใจกันไปก่อน
ห้องตัดต่อ
ขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างภาพยนตร์ ในขั้น Post-production ห้องนี้จึงเป็นห้องที่นักศึกษาสามารถนำ Footage ที่ได้จากการถ่ายทำมาตัดต่อ ใส่เสียง ปรับแสงในขั้นตอนสุดท้าย จนออกมาเป็นภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ทั้งเรื่อง
เดิมสาขาภาพยนตร์อาจถูกมองว่าเป็นสาขาที่เข้าถึงได้อยาก ต้องใช้เงินและต้นทุนสูง แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามาถึงขั้นที่ใครๆ ก็สามารถผลิตภาพยนตร์ได้ เราสามารถสร้างภาพยนตร์ได้โดยกล้องสักตัว หรือมือถือสักเครื่อง การผลิตภาพยนตร์จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ฉะนั้นใครก็ตามที่มีความสนใจ และคิดว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์ มีสิ่งที่ต้องการสื่อสารอยู่ในตัว จึงเหมาะที่จะเข้าไปเรียนในสาขาภาพยนตร์ เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และขัดเกลาความสามารถให้โดดเด่น
“คนเรียนแพทย์ เรียนวิศวฯ เขาจะอ่านหนังสือกันเป็นหลัก ส่วนคนเรียนทำหนังสิ่งที่ต้องทำคือดูหนัง”
อ.บัณฑิต สัตย์เพริศพราย
หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิวทยาลัยเกษมบัณฑิต
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จะเริ่มสอนน้องๆ ตั้งแต่วิธีการจัดระบบความคิด วิธีการสร้างภาพยนตร์ สอนทฤษฏีผ่านการลงมือปฏิบัติจริง สร้างน้องๆ ให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพ เป็นการเรียนการสอนที่แม้แต่คนที่เริ่มต้นจาก 0 ก็สามารถเรียนได้
การเรียนการสอนของสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า 4+1 = 3+2 ที่เป็นการให้น้องปี 1 ทำงานร่วมกับพี่ปี 4 และนักศึกษาปี 3 ทำงานร่วมกับนักศึกษาปี 2 เมื่อน้องๆ เข้ามาเรียนในปี 1 จะได้ร่วมทำภาพยนตร์กับพี่ๆ ปี 4 เลย แล้วพี่ปี 4 จะเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้น้องๆ ส่วนปี 2 และปี 3 จะทำงานร่วมกันในเชิงการแบ่งปันความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในการวัดผลจะเป็นแบบ “Based On project” คือในหนึ่งโปรเจคที่น้องๆ จะได้ทำจะสามารถวัดผลได้หลายๆ วิชา เช่น การผลิตหนังเรื่องหนึ่ง ก็จะได้เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการ Pre-production, Production ไปจนถึง Post-production วัดผลตั้งแต่วิชาเขียนบท การกำกับภาพยนตร์ การถ่ายภาพ และการตัดต่อภาพยนตร์
ห้องสตูดิโอ
อ.กชพรรณ สกุลพุทธพร อาจารย์ผู้ดูแลโปรเจค 4+1 = 3+2
กระบวนการเรียนภายในห้องสตูดิโอน้องๆ จะได้เรียนตั้งแต่กระบวนการ Pre-production เช่น การเขียนบท การคิดไอเดีย เรียนมุมกล้อง ภาษาภาพ การจัดแสง เรียนการสื่อสารผ่านการแสดง การแต่งหน้า ตลอดจนการสร้างฉาก ก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำจริง ในกระบวนการ Production แล้วนำไปตัดต่อในขั้นตอน Post-production
สตูดิโอถ่ายภาพนิ่ง
อ.วัฒนา เจริญชัยนพกุล
การเรียนภาพนิ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาขาสาภาพยนตร์ในการทำความคุ้นเคยกับกล้อง น้องๆ จะต้องใช้งานกล้องให้ได้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ฉะนั้นจะต้องฝึกการปรับค่ากล้อง ปรับค่า F-stop หรือรูรับแสง การปรับค่าสปีดชัตเตอร์ การจัดแสงเพื่อการถ่ายภาพ ไปจนถึงการสื่อสารกับนักแสดง หรือแบบ ว่าต้องการให้ภาพออกมาในอารมณ์ไหน เพราะภาพยนตร์คือภาพนิ่งหลายๆ ภาพมาต่อกัน ฉะนั้นต้องเรียนเรื่องภาพนิ่งเป็นพื้นฐานก่อน
ห้องฉายภาพยนตร์
อ.โพลาร์ ชัยพล อินทรวงศ์
ในห้องเรียนนี้เป็นการเรียนรู้จากการดูภาพยนตร์ของรุ่นพี่ที่เคยได้รับรางวัลในเวทีต่างๆ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจตั้งแต่เข้ามาเรียนในปี 1 พอดูจบแล้วค่อยมาอภิปรายกันว่าภาพยนตร์ที่ได้ดูไปถ่ายทอดภาพออกมาเป็นอย่างไร ใช้มุมกล้องอะไร การจัดแสงเป็นแบบไหน และอุปสรรคในการถ่ายทำของรุ่นพี่มีอะไรบ้าง
“เด็กปี 1 ชอบบ่นว่าเมื่อไหร่จะได้ถ่ายหนัง แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องเรียนรู้ทฤษฏีกันไปก่อนพอสมควร แต่เราจะให้เห็น ให้เกิดความอยาก และสร้างแรงบันดาลใจกันไปก่อน
ห้องตัดต่อ
ขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างภาพยนตร์ ในขั้น Post-production ห้องนี้จึงเป็นห้องที่นักศึกษาสามารถนำ Footage ที่ได้จากการถ่ายทำมาตัดต่อ ใส่เสียง ปรับแสงในขั้นตอนสุดท้าย จนออกมาเป็นภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ทั้งเรื่อง