วิทยาศาสตร์ มธ. จับมือสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ชู 2 หลักสูตรตั้งเป้าปั้นนักพัฒนาเกม-แอนิเมเตอร์ไทย หัวกะทิป้อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
วิทยาศาสตร์ มธ. จับมือสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ชู 2 หลักสูตรตั้งเป้าปั้นนักพัฒนาเกม-แอนิเมเตอร์ไทย หัวกะทิป้อนเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จับมือสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน (DigiPen) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าปั้นนักพัฒนาเกม–แอนิเมเตอร์ไทยหัวกะทิผ่าน 2 หลักสูตร อันได้แก่ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD) ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบเกมอย่างครบวงจร การออกแบบสิ่งแวดล้อม การใช้แสงเงาและสีกำหนดอารมณ์ภาพในเกม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เล่นกับระบบ และหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT) ที่ผนวกรวมวิทยาการคอมพิวเตอร์กราฟิก ฟิสิกส์ และศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างกราฟิกแสดงภาพเคลื่อนไหว จำลองสถานการณ์และพัฒนาเกมประเภทต่างๆ ที่สมจริงยิ่งขึ้นป้อนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ หลังพบมูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในปี 2557 – 2558 สูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 6.5% ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 11,300 ล้านบาท และในปี 2559 - 2560 จะมีแนวโน้มเติบโตสูงถึง 15% ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเกมได้ปีละกว่า 10,000 คน
รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มเกมและแอนิเมชัน ซึ่งจากผลสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่ามีมูลค่าตลาดในปี 2557 – 2558 รวมถึง 11,300 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต 6.5% จากปีก่อนหน้า และคาดการณ์ว่าในปี 2559 - 2560 จะเติบโตมากกว่า 15% ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเกมได้ปีละ 10,000 คนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี (สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์) อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าการตลาดจะสูง แต่การบริโภคในตลาดดังกล่าวกว่าครึ่งเป็นคอนเทนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่การส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการรับจ้างผลิต ประกอบกับการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยเองยังมีน้อย อันเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้นได้ จึงมีแนวคิดมุ่งมั่นที่จะปั้นบุคลากรด้านเกมและแอนิเมชันยุคใหม่ ให้สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างมืออาชีพภายใต้แนวคิด SCI+BUSINESS ผ่านการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ) โดยร่วมมือกับศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (DIDTC) ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็น 2 หลักสูตรแรกในประเทศไทยที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน (DigiPen Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลคอนเทนต์โดยตรง มาร่วมเสริมหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายธนัช จิรวารศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (DIDTC) และ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.กล่าวเสริมว่าการเรียนการสอนด้านดิจิทัลคอนเทนต์ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มักเน้นการสอนด้านวิทยาศาสตร์หรือศิลปะตามความเชี่ยวชาญที่ทางสถาบันมีอยู่ ในขณะที่ลักษณะงานด้านดิจิทัลคอนเทนต์จำเป็นต้องใช้ความรู้ทั้งศาสตร์ด้านวิทย์ เทคโนโลยี และศิลปะอย่างผสมผสาน ดังนั้น สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD)และสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT)ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. จึงเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เปิดโลกทัศน์และสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนผ่านทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning)และใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกระบวนการทำงานด้านดิจิทัลคอนเทนต์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่วงการดิจิทัลคอนเทนต์ต่อไป
สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอกด้วยกัน วิชาเอกแรกคือ“ศิลปะและการออกแบบเกม” (Game Arts and Design)มุ่งนำเสนอประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับเกมแบบครบวงจร อาทิ ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการพัฒนาเกม ตั้งแต่การละเล่นในยุคโบราณจนถึงวิดีโอเกมในยุคปัจจุบัน การวิเคราะห์ตรรกะเชิงความคิด เงื่อนไขของเกมประเภทต่างๆ การออกแบบเกม 2 มิติ และ 3 มิติการออกแบบสิ่งแวดล้อมในเกม การเล่าเรื่องแบบสื่อสารสองทางและบทตัวละครในเกม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เล่นและระบบเทคโนโลยีฯลฯ ส่วนอีกหนึ่งวิชาเอกคือ “แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์” (Animation and Visual Effect) ที่เปิดสอนตั้งแต่พื้นฐานของเทคนิคการทำแอนิเมชันแบบดั้งเดิมการศึกษาและวิเคราะห์ชิ้นงานแอนิเมชันที่มีชื่อเสียงอย่างละเอียด การเรียนรู้ถึงวัสดุอุปกรณ์ในการวาดภาพขั้นพื้นฐาน การฝึกหัดวาดลายเส้นไปจนถึงโครงสร้างมนุษย์และสัตว์ โดยเน้นลักษณะการเคลื่อนไหว และการใช้สีกำหนดอารมณ์ภาพ การแอนิเมทตัวละครเพื่อแสดงสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึกการถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวบนฉากสีเขียว ฯลฯ
ขณะที่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอกเช่นเดียวกัน โดยวิชาเอกแรกคือ “การจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล” (Digital Interactive Simulation) ที่มุ่งสอนการเขียนซอฟแวร์ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานเรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ และเทคนิคการวิเคราะห์ รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟแวร์ เกม หรือแบบจำลองรูปแบบต่างๆ ได้อย่างครบวงจร อาทิ การสร้างโปรแกรมแบบจำลองการบินหรือสนามแข่งขัน การประมวลผลและสร้างภาพทางการแพทย์ หรือนิติวิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้างวัตถุสามมิติ และระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้ ฯลฯ และอีกวิชาเอกหนึ่งคือ“วิศวกรรมและการออกแบบเกม” (Game Engineering and Design) ที่เปิดสอนการออกแบบโครงสร้างและกลไกเกมประเภทต่างๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ผ่านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C และ C++ ในการกำหนดสถานะและตำแหน่งในเกม การออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหวของตัวละคร ทั้งการเดินหน้า การเดินถอยหลังรวมไปถึงการเซตค่าการต่อสู้ของตัวละครทั้งในแบบประชิดตัว ระยะไกล เพื่อให้ได้มาซึ่งเกมที่มีลูกเล่นและมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น ฯลฯ
อย่างไรก็ดี สำหรับสองหลักสูตรดังกล่าวมีทางเลือกในการศึกษาให้กับผู้เรียน 2 รูปแบบ สำหรับรูปแบบแรก คือ ทำการศึกษาที่ มธ. ตลอดหลักสูตรเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัลและ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จาก มธ. ส่วนรูปแบบที่สองคือ ทำการศึกษาที่ มธ. เป็นระยะเวลา 2 ปี และไปศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน อีก 2 ปี โดยผู้เรียนในหลักสูตร IDD จะได้รับ 2 ปริญญาคือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จาก มธ. และ Bachelor of Fine Arts in Animation and Visual Effect หรือ Bachelor of Fine Arts in Game Design จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ขณะที่ผู้เรียนในหลักสูตร CDT จะได้รับ 2 ปริญญาเช่นกัน คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จาก มธ. และ Bachelor of Science in Computer Science in Real-Time Interactive Simulation หรือ Bachelor of Science in Computer Science and Game Design จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพนนอกจากนี้ ทางหลักสูตรยังได้มีการส่งอาจารย์ในหลักสูตรไปอบรมที่สถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ขณะเดียวกัน ก็มีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน รวมไปถึงทีมผู้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันอย่าง ดรีมเวิร์ค (Dreamworks) มาร์เวล (Marvel) และเกมไฟนอลแฟนตาซี 15 (Final Fantasy 15) ที่มาร่วมสอนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่นักศึกษาอีกด้วยในบางวิชา
สำหรับเทรนด์การออกแบบเกมและแอนิเมชันในอนาคต จะมีการนำเทคโนโลยีที่ชื่อว่า VR (Visual Reality) เทคโนโลยีการสร้างโลกเสมือนจริงมาผนวกกับการออกแบบเกม โดยมุ่งสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างเกมและผู้เล่น เพื่อทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปในโลกของเกมได้อย่างแนบเนียน และเทคโนโลยี AR (Augment Reality) เทคโนโลยีการผสานเนื้อหาเกมลงในโลกความเป็นจริงได้อย่างลงตัว ผ่านการอิงระบบข้อมูลจากสถานที่จริง (Location base)เพื่อสร้างความท้าทายให้กับผู้เล่น อาทิ เกมโปเกมอน โก (Pokémon Go) ที่กระตุ้นให้ผู้เล่นเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อตามล่าโปเกมอนสุดหายากให้ครบตามกำหนด เป็นต้น ขณะที่เทรนด์ของอุปกรณ์พกพา (Mobile Device) ที่มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตพบว่า ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของผู้บริโภคลดลงกว่า 30% เนื่องด้วยผู้บริโภคมีความรู้สึกคุ้นชินกับการใช้แอปฯ เดิมอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือรำคาญกับสื่อโฆษณาที่ขึ้นบังสายตาขณะใช้งาน อันเกิดจากวัฒนธรรมการนิยมซื้อพื้นที่สื่อโฆษณาของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในหน้าแอปฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์มากกว่า 800 บริษัททั่วประเทศหากนับเฉพาะบริษัทเกมและแอนิเมชันจะมีรวมมากกว่า 200 แห่ง ซึ่งล้วนต้องการบุคลากรคุณภาพเข้าไปร่วมสร้างสรรค์ผลงานอันน่าท้าทายโดยมีตำแหน่งงานรองรับอย่างหลากหลาย อาทิ นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบเกม (Game Designer) นักพัฒนาเกม (Game Developer) แอนิเมเตอร์ (Animator) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer) ผู้ทำหุ่นจำลอง (Modeler) ผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์ (Creative Director) ผู้อำนวยการสร้าง (Producer) เป็นต้น อันสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีโอกาสอีกมาก หากประเทศไทยมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนต์เพิ่มขึ้น ก็จะถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง อันสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติอย่างยั่งยืน นายธนัช กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นายสุรเกียรติ วิริยะเลิศสิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล สาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเหตุผลที่เลือกเรียนหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล ในสาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก โดยชอบวาดภาพตัวการ์ตูนบ้าง หรือตัวละครในเกมบ้าง อีกทั้งยังชอบเล่นเกมในช่วงเวลาว่าง และจากความชอบส่วนตัวนี้เอง พอได้มาเรียนที่หลักสูตรนี้ก็ยิ่งรู้สึกสนุกและมีความสุข โดยช่วงแรกที่เข้าเรียนจะเป็นการวาดรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป เพื่อดูการตกกระทบของแสงและเงา ก่อนต่อเนื่องด้วยการวาดภาพลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ (Anatomy) เพื่อเรียนรู้ถึงโครงสร้าง และลักษณะกล้ามเนื้อของมนุษย์ในการเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนสร้างภาพแอนิเมชัน เช่น การกำหนดท่าทางและการเคลื่อนไหวของตัวละคร ทั้งการเดิน การวิ่ง ผ่านโปรแกรม Digicel Flipbook โปรแกรมสำหรับสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกสนุกและสร้างความท้าทายในการครีเอทตัวละครในเกมยิ่งขึ้น
นางสาวอุรัสยาก์ บุนนาค นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล สาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่เลือกเรียนหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล เพราะโดยส่วนตัวมองว่าวงการเกมและแอนิเมชันสามารถเติบโตได้เรื่อยๆ โดยที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการหรือพัฒนาการของเกมและแอนิเมชันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมที่เป็นเกมที่มีลูกเล่นง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และเป็นเพียงภาพ 2 มิติ แต่ปัจจุบันกลับมีลูกเล่นที่สมจริงมากยิ่งขึ้น มีความสวยงามของตัวละครในเกมและฉาก อีกทั้งสามารถเลือกเล่นได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ประกอบกับตนเองมีความสนใจในการวาดภาพและชอบเล่นเกมมาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคิดที่อยากจะออกแบบเกมเป็นของตนเองบ้าง เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ที่ได้เรียนประกอบกับเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเองในอีกช่องทางหนึ่ง
สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD) และ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 086-334-8852 อีเมล์ iddcdt.scitu@gmail.com หรือเข้าไปที่ www.idd-cdt.sci.tu.ac.thและ www.facebook.com/IDDCDT
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ACNews
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จับมือสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน (DigiPen) ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าปั้นนักพัฒนาเกม–แอนิเมเตอร์ไทยหัวกะทิผ่าน 2 หลักสูตร อันได้แก่ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD) ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบเกมอย่างครบวงจร การออกแบบสิ่งแวดล้อม การใช้แสงเงาและสีกำหนดอารมณ์ภาพในเกม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เล่นกับระบบ และหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT) ที่ผนวกรวมวิทยาการคอมพิวเตอร์กราฟิก ฟิสิกส์ และศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างกราฟิกแสดงภาพเคลื่อนไหว จำลองสถานการณ์และพัฒนาเกมประเภทต่างๆ ที่สมจริงยิ่งขึ้นป้อนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ หลังพบมูลค่าการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในปี 2557 – 2558 สูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 6.5% ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 11,300 ล้านบาท และในปี 2559 - 2560 จะมีแนวโน้มเติบโตสูงถึง 15% ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเกมได้ปีละกว่า 10,000 คน
รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มเกมและแอนิเมชัน ซึ่งจากผลสำรวจของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พบว่ามีมูลค่าตลาดในปี 2557 – 2558 รวมถึง 11,300 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต 6.5% จากปีก่อนหน้า และคาดการณ์ว่าในปี 2559 - 2560 จะเติบโตมากกว่า 15% ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเกมได้ปีละ 10,000 คนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี (สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์) อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าการตลาดจะสูง แต่การบริโภคในตลาดดังกล่าวกว่าครึ่งเป็นคอนเทนต์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่การส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการรับจ้างผลิต ประกอบกับการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยเองยังมีน้อย อันเนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเล็งเห็นถึงศักยภาพของตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้นได้ จึงมีแนวคิดมุ่งมั่นที่จะปั้นบุคลากรด้านเกมและแอนิเมชันยุคใหม่ ให้สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างมืออาชีพภายใต้แนวคิด SCI+BUSINESS ผ่านการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ) โดยร่วมมือกับศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (DIDTC) ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเป็น 2 หลักสูตรแรกในประเทศไทยที่ได้รับความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน (DigiPen Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลคอนเทนต์โดยตรง มาร่วมเสริมหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
ด้าน นายธนัช จิรวารศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (DIDTC) และ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.กล่าวเสริมว่าการเรียนการสอนด้านดิจิทัลคอนเทนต์ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มักเน้นการสอนด้านวิทยาศาสตร์หรือศิลปะตามความเชี่ยวชาญที่ทางสถาบันมีอยู่ ในขณะที่ลักษณะงานด้านดิจิทัลคอนเทนต์จำเป็นต้องใช้ความรู้ทั้งศาสตร์ด้านวิทย์ เทคโนโลยี และศิลปะอย่างผสมผสาน ดังนั้น สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD)และสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT)ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. จึงเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เปิดโลกทัศน์และสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนผ่านทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning)และใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)โดยมีเนื้อหาครอบคลุมกระบวนการทำงานด้านดิจิทัลคอนเทนต์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่วงการดิจิทัลคอนเทนต์ต่อไป
สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอกด้วยกัน วิชาเอกแรกคือ“ศิลปะและการออกแบบเกม” (Game Arts and Design)มุ่งนำเสนอประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับเกมแบบครบวงจร อาทิ ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการพัฒนาเกม ตั้งแต่การละเล่นในยุคโบราณจนถึงวิดีโอเกมในยุคปัจจุบัน การวิเคราะห์ตรรกะเชิงความคิด เงื่อนไขของเกมประเภทต่างๆ การออกแบบเกม 2 มิติ และ 3 มิติการออกแบบสิ่งแวดล้อมในเกม การเล่าเรื่องแบบสื่อสารสองทางและบทตัวละครในเกม เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างผู้เล่นและระบบเทคโนโลยีฯลฯ ส่วนอีกหนึ่งวิชาเอกคือ “แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์” (Animation and Visual Effect) ที่เปิดสอนตั้งแต่พื้นฐานของเทคนิคการทำแอนิเมชันแบบดั้งเดิมการศึกษาและวิเคราะห์ชิ้นงานแอนิเมชันที่มีชื่อเสียงอย่างละเอียด การเรียนรู้ถึงวัสดุอุปกรณ์ในการวาดภาพขั้นพื้นฐาน การฝึกหัดวาดลายเส้นไปจนถึงโครงสร้างมนุษย์และสัตว์ โดยเน้นลักษณะการเคลื่อนไหว และการใช้สีกำหนดอารมณ์ภาพ การแอนิเมทตัวละครเพื่อแสดงสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึกการถ่ายทำภาพเคลื่อนไหวบนฉากสีเขียว ฯลฯ
ขณะที่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จะแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอกเช่นเดียวกัน โดยวิชาเอกแรกคือ “การจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล” (Digital Interactive Simulation) ที่มุ่งสอนการเขียนซอฟแวร์ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานเรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ และเทคนิคการวิเคราะห์ รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อให้สามารถพัฒนาซอฟแวร์ เกม หรือแบบจำลองรูปแบบต่างๆ ได้อย่างครบวงจร อาทิ การสร้างโปรแกรมแบบจำลองการบินหรือสนามแข่งขัน การประมวลผลและสร้างภาพทางการแพทย์ หรือนิติวิทยาศาสตร์รวมทั้งการสร้างวัตถุสามมิติ และระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้ ฯลฯ และอีกวิชาเอกหนึ่งคือ“วิศวกรรมและการออกแบบเกม” (Game Engineering and Design) ที่เปิดสอนการออกแบบโครงสร้างและกลไกเกมประเภทต่างๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ผ่านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C และ C++ ในการกำหนดสถานะและตำแหน่งในเกม การออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหวของตัวละคร ทั้งการเดินหน้า การเดินถอยหลังรวมไปถึงการเซตค่าการต่อสู้ของตัวละครทั้งในแบบประชิดตัว ระยะไกล เพื่อให้ได้มาซึ่งเกมที่มีลูกเล่นและมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น ฯลฯ
อย่างไรก็ดี สำหรับสองหลักสูตรดังกล่าวมีทางเลือกในการศึกษาให้กับผู้เรียน 2 รูปแบบ สำหรับรูปแบบแรก คือ ทำการศึกษาที่ มธ. ตลอดหลักสูตรเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัลและ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จาก มธ. ส่วนรูปแบบที่สองคือ ทำการศึกษาที่ มธ. เป็นระยะเวลา 2 ปี และไปศึกษาต่อที่สถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน อีก 2 ปี โดยผู้เรียนในหลักสูตร IDD จะได้รับ 2 ปริญญาคือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จาก มธ. และ Bachelor of Fine Arts in Animation and Visual Effect หรือ Bachelor of Fine Arts in Game Design จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ขณะที่ผู้เรียนในหลักสูตร CDT จะได้รับ 2 ปริญญาเช่นกัน คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จาก มธ. และ Bachelor of Science in Computer Science in Real-Time Interactive Simulation หรือ Bachelor of Science in Computer Science and Game Design จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพนนอกจากนี้ ทางหลักสูตรยังได้มีการส่งอาจารย์ในหลักสูตรไปอบรมที่สถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน ขณะเดียวกัน ก็มีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน รวมไปถึงทีมผู้สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันอย่าง ดรีมเวิร์ค (Dreamworks) มาร์เวล (Marvel) และเกมไฟนอลแฟนตาซี 15 (Final Fantasy 15) ที่มาร่วมสอนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่นักศึกษาอีกด้วยในบางวิชา
สำหรับเทรนด์การออกแบบเกมและแอนิเมชันในอนาคต จะมีการนำเทคโนโลยีที่ชื่อว่า VR (Visual Reality) เทคโนโลยีการสร้างโลกเสมือนจริงมาผนวกกับการออกแบบเกม โดยมุ่งสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างเกมและผู้เล่น เพื่อทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปในโลกของเกมได้อย่างแนบเนียน และเทคโนโลยี AR (Augment Reality) เทคโนโลยีการผสานเนื้อหาเกมลงในโลกความเป็นจริงได้อย่างลงตัว ผ่านการอิงระบบข้อมูลจากสถานที่จริง (Location base)เพื่อสร้างความท้าทายให้กับผู้เล่น อาทิ เกมโปเกมอน โก (Pokémon Go) ที่กระตุ้นให้ผู้เล่นเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อตามล่าโปเกมอนสุดหายากให้ครบตามกำหนด เป็นต้น ขณะที่เทรนด์ของอุปกรณ์พกพา (Mobile Device) ที่มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตพบว่า ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของผู้บริโภคลดลงกว่า 30% เนื่องด้วยผู้บริโภคมีความรู้สึกคุ้นชินกับการใช้แอปฯ เดิมอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายหรือรำคาญกับสื่อโฆษณาที่ขึ้นบังสายตาขณะใช้งาน อันเกิดจากวัฒนธรรมการนิยมซื้อพื้นที่สื่อโฆษณาของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในหน้าแอปฯ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์มากกว่า 800 บริษัททั่วประเทศหากนับเฉพาะบริษัทเกมและแอนิเมชันจะมีรวมมากกว่า 200 แห่ง ซึ่งล้วนต้องการบุคลากรคุณภาพเข้าไปร่วมสร้างสรรค์ผลงานอันน่าท้าทายโดยมีตำแหน่งงานรองรับอย่างหลากหลาย อาทิ นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบเกม (Game Designer) นักพัฒนาเกม (Game Developer) แอนิเมเตอร์ (Animator) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Designer) ผู้ทำหุ่นจำลอง (Modeler) ผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์ (Creative Director) ผู้อำนวยการสร้าง (Producer) เป็นต้น อันสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวยังมีโอกาสอีกมาก หากประเทศไทยมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนต์เพิ่มขึ้น ก็จะถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง อันสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติอย่างยั่งยืน นายธนัช กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นายสุรเกียรติ วิริยะเลิศสิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล สาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเหตุผลที่เลือกเรียนหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล ในสาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เนื่องจากส่วนตัวเป็นคนชอบวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก โดยชอบวาดภาพตัวการ์ตูนบ้าง หรือตัวละครในเกมบ้าง อีกทั้งยังชอบเล่นเกมในช่วงเวลาว่าง และจากความชอบส่วนตัวนี้เอง พอได้มาเรียนที่หลักสูตรนี้ก็ยิ่งรู้สึกสนุกและมีความสุข โดยช่วงแรกที่เข้าเรียนจะเป็นการวาดรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป เพื่อดูการตกกระทบของแสงและเงา ก่อนต่อเนื่องด้วยการวาดภาพลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ (Anatomy) เพื่อเรียนรู้ถึงโครงสร้าง และลักษณะกล้ามเนื้อของมนุษย์ในการเคลื่อนไหวท่าทางต่างๆ ควบคู่ไปกับการเรียนสร้างภาพแอนิเมชัน เช่น การกำหนดท่าทางและการเคลื่อนไหวของตัวละคร ทั้งการเดิน การวิ่ง ผ่านโปรแกรม Digicel Flipbook โปรแกรมสำหรับสร้างภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกสนุกและสร้างความท้าทายในการครีเอทตัวละครในเกมยิ่งขึ้น
นางสาวอุรัสยาก์ บุนนาค นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล สาขาวิชาเอกแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่เลือกเรียนหลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล เพราะโดยส่วนตัวมองว่าวงการเกมและแอนิเมชันสามารถเติบโตได้เรื่อยๆ โดยที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการหรือพัฒนาการของเกมและแอนิเมชันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมที่เป็นเกมที่มีลูกเล่นง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และเป็นเพียงภาพ 2 มิติ แต่ปัจจุบันกลับมีลูกเล่นที่สมจริงมากยิ่งขึ้น มีความสวยงามของตัวละครในเกมและฉาก อีกทั้งสามารถเลือกเล่นได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ประกอบกับตนเองมีความสนใจในการวาดภาพและชอบเล่นเกมมาตั้งแต่เด็ก จึงมีความคิดที่อยากจะออกแบบเกมเป็นของตนเองบ้าง เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ที่ได้เรียนประกอบกับเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเองในอีกช่องทางหนึ่ง
สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD) และ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 086-334-8852 อีเมล์ iddcdt.scitu@gmail.com หรือเข้าไปที่ www.idd-cdt.sci.tu.ac.thและ www.facebook.com/IDDCDT
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ACNews