"สัตวศาสตร์และสัตวแพทย์แตกต่างกันอย่างไร?" รีวิวสาขาสัตวศาสตร์ : U-Review
น้อง ๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าสัตวศาสตร์กับสัตวแพทย์แตกต่างกันอย่างไร? วันนี้ขออธิบายง่ายๆ ให้น้องได้เขาใจเลยว่า
สัตวศาสตร์นั้นเรียน 4 ปี โดยจบแล้วจะได้วุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต และเรียนเพื่อจะทำการวิจัยและเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์มุ่งเน้นการเรียนรู้ไปที่สัตว์เศรษฐกิจที่ใช้ในการบริโภค โดยที่สัตวแพทย์ศาสตร์นั้นเรียน 6 ปี เรียนจบแล้วจะได้วุฒิสัตวแพทย์ศาสตร์บัณฑิต และเรียนเพื่อวิจัย "รักษา" สัตว์มากกว่า
โดยหลักสูตรสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะที่นี้เน้นนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิด สร้างสรรค์ มีทักษะการทำงาน และการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ส่งเสริมระบบสหกิจศึกษา พัฒนา สื่อการเรียนรู้ให้หลากหลาย และพัฒนากลยุทธ์การสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ ที่สามารถต่อยอดความรู้และพัฒนาเป็นชิ้นงานออกมาได้ ส่งเสริมการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการความรู้ในชุมชน ซึ่งจะสอดคล้องกับโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล หรือ ไทยแลนด์ 4.0 ของกลุ่มเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยจะปรับเปลี่ยนจากการเกษตรดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปเป็นการทำการเรียนรู้เรียนสัตว์เศรษฐกิจ เช่น เป็ดไก่ ไก่ไข่ เนื้อ แพะ
มีการเรียนรู้เองตามหลักวิชาการในห้องเรียนนำไปสู่การปฎิบัติที่มีการรายงานผล ติดตามผลจนเกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง รวมถึงการเรียนรู้ในส่วนของสัตว์ปีก เช่นไก่เนื้อที่จะมีฟาร์มทดลองเพื่อการเรียนรู้ จะได้เรียนรู้การจัดการตั้งแต่ไก่เล็กจนถึงเข้าโรงงานผลิต ทั้งการเลี้ยง การดูแล การจัดการวัคซีน รวมถึงการดูแลสุขภาพไก่ ซึ้งตรงนี้จะอยู่ในส่วนของชั้นปีการศึกษาที่ 2 ได้เรียนรู้หลักสุขที่ถูกต้องรวมถึงจรรยาบรรณวิชาชีพสัตวบาล
มีการต่อยอดไปสู่ชั้นปีที่ 3 ที่เจาะจงเฉพาะด้านมากยิงขึ้น สามารถแยกออกเป็น 2 สาขาคือ สาขาที่ลงฟาร์มโดยตรง และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเนื้อสัตว์ที่มีการเรียนรู้ใน 4 ส่วนคือ การตัดแต่ง การแปรรูป การตรวจสอบคุณภาพ และการขาย
จุดเด่นของการเรียนที่นี้ คือ การเรียนรู้ในส่วนของจุลวิทยาเนื้อสัตว์ที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ มีการเรียนรู้ทุกกระบวนการเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ทฤษฎีที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ ที่มีการปฏิบัติการจริงตั้งแต่การผลิตไปสู่การขาย และยังมีการอบรมเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน
หลังสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพ เช่น นักสัตวบาล นักวิชาการ นักวิจัย พนักงานประจําห้องปฏิบัติการโภชนศาสตร์เนื้อสัตว์ พนักงานขายอาหารสัตว์ อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ และเวชภัณฑ์ พนักงานส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ผู้จัดการฟาร์มบริษัท ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องในทางสัตวศาสตร์
หากน้องคนไหนที่สนใจอยากเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ ของสถาบันเทคโนโลยีกระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย