Ph.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวPh.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนในปีการศึกษา 2545 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นให้เป็นนักวิชาการและนักวิจัยขั้นสูงที่มีองค์ความรู้ความสามารถได้มาตรฐานสากล มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ สามารถที่จะทำงานวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยพัฒนาประเทศและสามารถก้าวไปสู่ความมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีได้
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดการเรียนการสอนในวัน - เวลาราชการ ทั้ง 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตศาลายาและวิทยาเขตพญาไท โดยเรียนกับอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด การเรียนเป็นแบบระบบทวิภาค ไม่มีฤดูร้อน ใช้เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปีการศึกษา และแผนการเรียนมี 2 แบบ สำหรับผู้เรียนที่มีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและความต้องการต่างกัน คือ รูปแบบที่ 1 เป็นการทำวิจัยอย่างเดียว จำนวน 48 หน่วยกิต และ รูปแบบที่ 2 เป็นการศึกษารายวิชาและการทำวิจัย เรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
เพราะความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งทำให้เกิดโอกาสมากมายด้านเศรษฐกิจพร้อมกับทำให้เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ ต่อสังคม ดังนั้น ทุกองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมบุคลากรหรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเป็นมืออาชีพ รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความเข้าใจในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมและวัฒนธรรม เพื่อช่วยชี้นำทำงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมร่วมกับสังคมได้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย
จบมาทำงานอะไร
1. ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
2. นักวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรรัฐและเอกชน
3. ผู้บริหารองค์หรือผู้จัดการด้านระบบสารสนเทศขององค์กร
5.นักวิเคราะห์หรือที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศ
6. นักวิชาการคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. นักเขียนโปรแกรมหรือนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล
8. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ผู้สมัครสามารถเลือกวิธีการสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อได้วิธีใดวิธีหนึ่งจากการสมัครทั้ง 2 วิธี คือ
1. ระบบการสอบตรง (Direct Admission)
- ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียน 3 วิชา คือ ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 15 หน่วยกิต หรือมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องทางด้าน IT ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีผลการศึกษาในระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
- สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรอง
หรือมีคะแนน TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
- มีผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาโท มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
2. การสมัครสอบโดยการยื่นคะแนนสอบสากล (International Admission)
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากทบวง มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องทางด้าน IT ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
TOEFL Paper Based ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ
TOEFL Computer Based ไม่ต่ำกว่า 213 คะแนน หรือ
TOEFL Internet Based ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน หรือ
IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- คะแนนเฉลี่ยรวมวิชาภาษาอังกฤษจากสถาบันการศึกษาไม่ต่ำกว่า “B”
- มีผลการสอบผ่านคะแนนทางด้านวิชาการตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
GRE วิชา Analytical Writing คะแนนอยู่ระหว่าง 2.5 - 3 และ Verbal score ไม่ต่ำกว่า 300
คะแนนเฉลี่ยรวม GRE ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนน GRE Subject Test (วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 700, คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 720)
(ผลคะแนนสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
372, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ค่าวิจัยทำวิทยานิพนธ์ 300, 000 บาท
ค่าลงทะเบียน 48 หน่วยกิต 72, 000 บาท
Ph.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
มหาวิทยาลัยมหิดล
รีวิวPh.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนในปีการศึกษา 2545 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตนักวิชาการและนักวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นให้เป็นนักวิชาการและนักวิจัยขั้นสูงที่มีองค์ความรู้ความสามารถได้มาตรฐานสากล มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ สามารถที่จะทำงานวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล เครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการที่จะช่วยพัฒนาประเทศและสามารถก้าวไปสู่ความมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีได้
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จัดการเรียนการสอนในวัน - เวลาราชการ ทั้ง 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตศาลายาและวิทยาเขตพญาไท โดยเรียนกับอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด การเรียนเป็นแบบระบบทวิภาค ไม่มีฤดูร้อน ใช้เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 6 ปีการศึกษา และแผนการเรียนมี 2 แบบ สำหรับผู้เรียนที่มีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและความต้องการต่างกัน คือ รูปแบบที่ 1 เป็นการทำวิจัยอย่างเดียว จำนวน 48 หน่วยกิต และ รูปแบบที่ 2 เป็นการศึกษารายวิชาและการทำวิจัย เรียนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
เพราะความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งทำให้เกิดโอกาสมากมายด้านเศรษฐกิจพร้อมกับทำให้เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ ต่อสังคม ดังนั้น ทุกองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมบุคลากรหรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเป็นมืออาชีพ รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีความเข้าใจในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมและวัฒนธรรม เพื่อช่วยชี้นำทำงานวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ และประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมร่วมกับสังคมได้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย
จบมาทำงานอะไร
2. นักวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรรัฐและเอกชน
3. ผู้บริหารองค์หรือผู้จัดการด้านระบบสารสนเทศขององค์กร
5.นักวิเคราะห์หรือที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศ
6. นักวิชาการคอมพิวเตอร์หรือนักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. นักเขียนโปรแกรมหรือนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล
8. ประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
สมัครเรียนทำอย่างไร
1. ระบบการสอบตรง (Direct Admission)
- ผู้สมัครต้องผ่านการสอบข้อเขียน 3 วิชา คือ ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 15 หน่วยกิต หรือมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องทางด้าน IT ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีผลการศึกษาในระดับปริญญาโท เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
- สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่บัณฑิตวิทยาลัยรับรอง
หรือมีคะแนน TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้สมัครเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
- มีผลการศึกษา (Transcript) ในระดับปริญญาโท มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
2. การสมัครสอบโดยการยื่นคะแนนสอบสากล (International Admission)
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองจากทบวง มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ที่เกี่ยวข้อง โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องทางด้าน IT ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
TOEFL Paper Based ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน หรือ
TOEFL Computer Based ไม่ต่ำกว่า 213 คะแนน หรือ
TOEFL Internet Based ไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน หรือ
IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
- คะแนนเฉลี่ยรวมวิชาภาษาอังกฤษจากสถาบันการศึกษาไม่ต่ำกว่า “B”
- มีผลการสอบผ่านคะแนนทางด้านวิชาการตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
GRE วิชา Analytical Writing คะแนนอยู่ระหว่าง 2.5 - 3 และ Verbal score ไม่ต่ำกว่า 300
คะแนนเฉลี่ยรวม GRE ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนน GRE Subject Test (วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่ต่ำกว่า 700, คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 720)
(ผลคะแนนสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา)
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ค่าลงทะเบียน 48 หน่วยกิต 72, 000 บาท
Ph.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
มหาวิทยาลัยมหิดล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
Ph.D. (Computer Science) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ