"เรียนวิศวกรรมไฟฟ้า ด้วยห้องเรียนกลับด้าน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ใช้อุปกรณ์จริง" รีวิวสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า : U-Review
รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วใครสามารถเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้บ้าง หลายๆคนอาจคิดว่าจะต้องเรียนจบจากสายวิทย์ – คณิตเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม นอกจากจะรับนักเรียนจากสายวิทย์ – คณิต แล้วยังรับนักเรียนจากสายศิลป์คำนวณ และนักเรียนจากสายอาชีวะอีกด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุมให้มากขึ้น ว่าการเรียนการสอนที่นี่แตกต่าง สนุก และมีความปลอดภัยอย่างไร
เริ่มด้วยการทำความรู้จักห้องปฏิบัติการต่างๆในคณะที่มีมากกว่า 10 ห้องเลยทีเดียว
ห้องเครื่องจักรกลไฟฟ้า
เป็นห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนรู้เครื่องจักรไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ ตั้งแต่มอเตอร์ของเล่นเล็กๆ มอเตอร์เครื่องสูบน้ำ ไปจนถึงมอเตอร์ของรถไฟฟ้าที่สั่งซื้อจากเยอรมนีซึ่งจะมีความสลับซับซ้อนในการควบคุมมากขึ้น และรวมไปถึงอุปกรณ์ทดลองพื้นฐานที่นักศึกษาได้ประกอบขึ้นเองเพื่อให้น้องๆ ในรุ่นต่อไปสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ และส่วนหนึ่งก็นำไปแจกให้กับโรงเรียนที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์เหล่านี้
ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน
ในห้องนี้จะเป็นห้องปฏิบัติการเริ่มแรกสำหรับนักศึกษาที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า เริ่มด้วยอุปกรณ์ต่อวงจรหน้าตาคล้ายกับเลโก้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสิ่งที่คุ้นเคย เพื่อการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ แล้วค่อยๆพัฒนาไปเรียนรู้กับอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับ เช่นการปรับระบบไฟฟ้า เป็นต้น
ห้องทดลองทางระบบไฟฟ้ากำลัง
เป็นห้องปฏิบัติการที่รวบรวมเอาอุปกรณ์การจ่ายไฟไว้ให้นักศึกษาได้ทดลองใช้งานและเรียนรู้การทำงานของอุปกรณ์
ซึ่งจะมีตั้งแต่อุปกรณ์จ่ายไฟตามโรงงาน ไปจนถึงอุปกรณ์ในการส่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อการขายไฟฟ้า นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการส่งจ่าย การควบคุมมอเตอร์ การซิงโครไนซ์ระบบ เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา กอเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ยังบอกอีกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนทั้งหมดของที่นี่จะเน้นให้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร้กังวล “เราเห็นว่าการเรียนรู้นั้นนอกจากสนุกแล้ว จะต้องปลอดภัยด้วย”
นอกจากห้องปฏิบัติการต่างๆแล้ว อาจารย์ ปรีชา ยังพาเราเข้าชมในส่วนของห้องแลปที่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนในเรื่องของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ หรือเครื่องมือวัดปริมาณทางกลต่างๆ ว่ามีค่าเท่าไหร่ที่จะแปลงเป็นไฟฟ้า และแลปที่ต่อยอดจากอุปกรณ์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการอื่นๆด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร. ปรีชา กอเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ยังบอกอีกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนทั้งหมดของที่นี่จะเน้นให้มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร้กังวล “เราเห็นว่าการเรียนรู้นั้นนอกจากสนุกแล้ว จะต้องปลอดภัยด้วย”
นอกจากห้องปฏิบัติการต่างๆแล้ว อาจารย์ ปรีชา ยังพาเราเข้าชมในส่วนของห้องแลปที่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนในเรื่องของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ หรือเครื่องมือวัดปริมาณทางกลต่างๆ ว่ามีค่าเท่าไหร่ที่จะแปลงเป็นไฟฟ้า และแลปที่ต่อยอดจากอุปกรณ์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการอื่นๆด้วย
ด้วยวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม เห็นว่าอีกสิ่งสำคัญที่นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อก้าวให้ทันยุคสมัยและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ มิติของการโทรคมนาคม ซึ่งการเรียนรู้ในส่วนนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้กับอุปกรณ์ที่สั่งซื้อจากเยอรมนีเช่นกัน และอีกส่วนจะเป็นอุปกรณ์ที่ทางคณะได้วิจัยและสร้างขึ้นเอง ให้นักศึกษาได้ลงมือทดลอง และนำไปช่วยเหลือชุมชนอีกส่วนหนึ่ง
นอกเหนือจากการเรียนการสอนแล้วทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีการช่วยเหลือสังคม ด้วยการรับตรวจสอบวิทยุชุมชน ร่วมกับ กสทช. เพื่อไม่ให้การส่งสัญญาณของวิทยุชุมชนไปรบกวนคลื่นสัญญาณอื่นๆ โดยเฉพาะกับการไปรบกวนวิทยุการบิน
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด อาจารย์ ปรีชา พาเรามาที่ห้อง พาวเวอร์อิเล็กทลอนิค เป็นห้องที่ใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับอิเล็กทลอนิคเพื่ออนาคต โดยเป็นการศึกษาองค์ความรู้ที่จำเป็นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
ในที่นี้ อาจารย์ ปรีชา ยังได้พูดถึงระบบที่ทางสาขาวิศวกรรมไฟฟ้านำมาใช้ในการเรียนการสอนที่เรียกว่า “Flipped Classroom” หรือ “ห้องเรียนกลับด้าน” คือแทนที่จะเรียนในห้องเรียนแล้วทำการบ้านที่บ้าน กลับเป็นการเรียนด้วยตัวเองที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ แล้วเอาการบ้านมาทำที่ห้องเรียนภายใต้การแนะนำโดยอาจารย์ โดยทางสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าได้ใช้ระบบนี้มา 3 เทอมแล้ว ซึ่งระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาด้านความสามารถทางการทำความเข้าใจที่ไม่เท่ากันของนักศึกษาแต่ละคน โดยทางมหาวิทยาลัยจะมีระบบ e-Learning รองรับการอัพโหลดวีดีโอการสอนในคราสให้กับอาจารย์ประจำรายวิชา และนักศึกษาสามารถเข้าใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และต่อยอดด้วยการให้อาจารย์สามารถแยกนักศึกษาในห้องออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อการสอนที่ใกล้ชิด เน้นกำจัดจุดอ่อนของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
ในส่วนของการสร้างพันธมิตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีความร่วมมือกับบริษัท Innovation ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งได้มีการส่งนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน และในทางกลับกันบริษัทเองก็ได้ส่งบุคลากรมาให้ความรู้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย
และที่น่าสนใจมากสำหรับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุมคือ นอกจากนักศึกษาที่จบการศึกษาออกไปแล้วจะสามารถประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตไฟฟ้า หรือการวางระบบไฟฟ้าแล้วยังสามารถประกอบอาชีพเกี่ยวกับวิศวกรรมโทรคมนาคมได้อีกด้วย
สำหรับใครที่มีความสนใจด้านวิศวกรรม โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก็ถือว่าเป็นอีกที่ที่น่าสนใจเลยทีเดียว ด้วยอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน การเรียนที่สนุกเน้นความปลอดภัย ระบบการศึกษาที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการนำระบบ “Flipper Classroom” มาใช้ผสมผสานกับระบบการเรียนแบบ e-Learning ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอดจนอิสระในการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตที่หลากหลาย
นอกเหนือจากการเรียนการสอนแล้วทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีการช่วยเหลือสังคม ด้วยการรับตรวจสอบวิทยุชุมชน ร่วมกับ กสทช. เพื่อไม่ให้การส่งสัญญาณของวิทยุชุมชนไปรบกวนคลื่นสัญญาณอื่นๆ โดยเฉพาะกับการไปรบกวนวิทยุการบิน
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด อาจารย์ ปรีชา พาเรามาที่ห้อง พาวเวอร์อิเล็กทลอนิค เป็นห้องที่ใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับอิเล็กทลอนิคเพื่ออนาคต โดยเป็นการศึกษาองค์ความรู้ที่จำเป็นและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
ในที่นี้ อาจารย์ ปรีชา ยังได้พูดถึงระบบที่ทางสาขาวิศวกรรมไฟฟ้านำมาใช้ในการเรียนการสอนที่เรียกว่า “Flipped Classroom” หรือ “ห้องเรียนกลับด้าน” คือแทนที่จะเรียนในห้องเรียนแล้วทำการบ้านที่บ้าน กลับเป็นการเรียนด้วยตัวเองที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ แล้วเอาการบ้านมาทำที่ห้องเรียนภายใต้การแนะนำโดยอาจารย์ โดยทางสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าได้ใช้ระบบนี้มา 3 เทอมแล้ว ซึ่งระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาด้านความสามารถทางการทำความเข้าใจที่ไม่เท่ากันของนักศึกษาแต่ละคน โดยทางมหาวิทยาลัยจะมีระบบ e-Learning รองรับการอัพโหลดวีดีโอการสอนในคราสให้กับอาจารย์ประจำรายวิชา และนักศึกษาสามารถเข้าใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และต่อยอดด้วยการให้อาจารย์สามารถแยกนักศึกษาในห้องออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อการสอนที่ใกล้ชิด เน้นกำจัดจุดอ่อนของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
ในส่วนของการสร้างพันธมิตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีความร่วมมือกับบริษัท Innovation ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งได้มีการส่งนักศึกษาเข้าไปฝึกงาน และในทางกลับกันบริษัทเองก็ได้ส่งบุคลากรมาให้ความรู้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย
และที่น่าสนใจมากสำหรับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุมคือ นอกจากนักศึกษาที่จบการศึกษาออกไปแล้วจะสามารถประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตไฟฟ้า หรือการวางระบบไฟฟ้าแล้วยังสามารถประกอบอาชีพเกี่ยวกับวิศวกรรมโทรคมนาคมได้อีกด้วย
สำหรับใครที่มีความสนใจด้านวิศวกรรม โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ก็ถือว่าเป็นอีกที่ที่น่าสนใจเลยทีเดียว ด้วยอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน การเรียนที่สนุกเน้นความปลอดภัย ระบบการศึกษาที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการนำระบบ “Flipper Classroom” มาใช้ผสมผสานกับระบบการเรียนแบบ e-Learning ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอดจนอิสระในการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตที่หลากหลาย