วิทยาศาสตร์การกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ให้ความสำคัญด้านพลศึกษาและสุขศึกษาของประเทศไทย จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความแข็งแกร่งในศาสตร์วิชาชีพการกีฬาให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยฯ ในการสนับสนุนให้ภาควิชาพลศึกษาเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยแบ่งแผนกวิชาออกไปอีก 4 แผนก คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, วิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์, การโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา และ นันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา
วิทยาศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความพร้อมและความสมบูรณ์สูงสุด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนเทคนิคทางกีฬาในช่วงการแข่งขันที่จะพัฒนาไปสู่ความสามารถสูงสุดของนักกีฬาแต่ละคนได้อย่างเป็นระบบ โดยจะมีวิชาหลักๆ ที่น้องจะได้เรียน ได้แก่
กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และ ชีวกลศาสตร์ : เป็นศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย รูปร่าง สัดส่วนของนักกีฬาแต่ละคน (กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท) , การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของกีฬาและนักกีฬาแต่คน รวมไปถึงเรียนรู้สาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย
ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา : เรียนเกี่ยวกับหลักการในการในการกำหนดความหนัก-เบาของรูปแบบวิธีการฝึก ที่จะถูกจัดไว้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมให้ออกมาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยจะต้องพิจารณาจาก ช่วงอายุ, เพศ, วัย, ประสบการณ์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
โภชนาการทางการกีฬา : ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด ให้น้องๆ รู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตรและคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวการเก็บสำรองพลังงานไว้ในกล้ามเนื้อ การชดเชยพลังงานในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันและภายหลังการฝึกซ้อมแข่งขันซึ่งจะช่วยเสริมโครงร่างและความสามารถของร่างกายให้คงสภาพแข่งแกร่งยิ่งขึ้น
จิตวิทยาการกีฬา : เรียนเกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ ทั้งในการฝึกซ้อมและลงแข่งขันจริง ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
เวชศาสตร์การกีฬา และ เทคโนโลยีทางการกีฬา : เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยสนับสนุนการพัฒนา ส่งเสริม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องให้กับนักกีฬา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางด้านเทคนิค การประเมินผลและการรายงานผลการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องและรวดเร็วให้กับผู้ฝึกสอน นักกีฬา และผู้ชม
เรียนวิทยาศาสตร์การกีฬาจบออกไป ไม่ได้เป็นครูพละอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาผู้ที่นำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์และพัฒนาใช้ในการกีฬา น้องๆ จะเห็นได้ว่าสาขาวิชานี้จะเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวการกีฬาทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากครูพละอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ทางคณะยังมีศิษย์เก่าและนิสิตที่มีชื่อเสียงด้วย อย่างเช่น เทนนิส พาณิพัค นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดง กีฬาโอลิมปิค 2016 ที่ริโอ ประเทศบราซิล รวมถึงนักกีฬาทีมชาติอีกหลายๆคน อย่างเช่น สิทธิชัย สุวรประทีป เจ้าของเหรียญทองวิ่งผลัด 4x100 (ชาย) ทั้งในซีเกมส์และเอเชี่ยนเกมส์อีกหลายสมัย, วุฒิชัย ทาทอง และปิยะชาติ ถามะพันธ์ นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยอีกด้วย และยังมีนักแสดงที่มีชื่อเสียงที่จบจากคณะนี้อย่างเช่น นิว ชัยพล, อาเล็ก ธีรเดช และน็อต อัครณัฐ
จบมาทำงานอะไร
1. นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจัดการการกีฬา นักส่งเสริมสุขภาพ นักนันทนาการศาสตร์
2. ผู้ช่วยวิจัยทางการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา ส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการศาสตร์
3. ผู้ฝึกสอนกีฬา / ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬา และเจ้าหน้าที่จัดการการแข่งขันกีฬา
4. นักวิชาการทางการกีฬา การออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการในชุมชน
5. ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนา และบริการทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา ส่งเสริมสุขภาพและนันทนาการศาสตร์
6. ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
7. เจ้าของธุรกิจหรือประกอบอาชีพอิสระทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา การส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการศาสตร์
สมัครเรียนทำอย่างไร
โครงการรับตรงแบบพิเศษ (สิงหาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้น ม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป
- มีผลงานหรือประวัติทางด้านกีฬาที่โดดเด่นตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้
- มีผลคะแนนสอบในวิชา GAT/PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษร์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 2.6 แย่มาก
วิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
“แย่จุย”
อยากสอบเข้าจุฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่ว่าเกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เปงเศร้าา
วันวิสาข์
นักศึกษา
16 พ.ย. 63 14:27 น.
วิทยาศาสตร์การกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ให้ความสำคัญด้านพลศึกษาและสุขศึกษาของประเทศไทย จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความแข็งแกร่งในศาสตร์วิชาชีพการกีฬาให้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยฯ ในการสนับสนุนให้ภาควิชาพลศึกษาเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยแบ่งแผนกวิชาออกไปอีก 4 แผนก คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, วิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์, การโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา และ นันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา
วิทยาศาสตร์การกีฬา คือ ศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬาให้ก้าวไปสู่ความพร้อมและความสมบูรณ์สูงสุด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนเทคนิคทางกีฬาในช่วงการแข่งขันที่จะพัฒนาไปสู่ความสามารถสูงสุดของนักกีฬาแต่ละคนได้อย่างเป็นระบบ โดยจะมีวิชาหลักๆ ที่น้องจะได้เรียน ได้แก่
กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และ ชีวกลศาสตร์ : เป็นศาสตร์ที่ให้ความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย รูปร่าง สัดส่วนของนักกีฬาแต่ละคน (กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท) , การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของกีฬาและนักกีฬาแต่คน รวมไปถึงเรียนรู้สาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย
ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา : เรียนเกี่ยวกับหลักการในการในการกำหนดความหนัก-เบาของรูปแบบวิธีการฝึก ที่จะถูกจัดไว้ในโปรแกรมการฝึกซ้อมให้ออกมาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยจะต้องพิจารณาจาก ช่วงอายุ, เพศ, วัย, ประสบการณ์ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
โภชนาการทางการกีฬา : ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด ให้น้องๆ รู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องได้สัดส่วนทั้งในด้านปริมาตรและคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมหรือการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวการเก็บสำรองพลังงานไว้ในกล้ามเนื้อ การชดเชยพลังงานในระหว่างการฝึกซ้อมและแข่งขันและภายหลังการฝึกซ้อมแข่งขันซึ่งจะช่วยเสริมโครงร่างและความสามารถของร่างกายให้คงสภาพแข่งแกร่งยิ่งขึ้น
จิตวิทยาการกีฬา : เรียนเกี่ยวกับกระบวนการคิดการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ ทั้งในการฝึกซ้อมและลงแข่งขันจริง ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
เวชศาสตร์การกีฬา และ เทคโนโลยีทางการกีฬา : เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด และการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่วยสนับสนุนการพัฒนา ส่งเสริม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องให้กับนักกีฬา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางด้านเทคนิค การประเมินผลและการรายงานผลการแข่งขันที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องและรวดเร็วให้กับผู้ฝึกสอน นักกีฬา และผู้ชม
เรียนวิทยาศาสตร์การกีฬาจบออกไป ไม่ได้เป็นครูพละอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาผู้ที่นำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์และพัฒนาใช้ในการกีฬา น้องๆ จะเห็นได้ว่าสาขาวิชานี้จะเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวการกีฬาทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากครูพละอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ทางคณะยังมีศิษย์เก่าและนิสิตที่มีชื่อเสียงด้วย อย่างเช่น เทนนิส พาณิพัค นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดง กีฬาโอลิมปิค 2016 ที่ริโอ ประเทศบราซิล รวมถึงนักกีฬาทีมชาติอีกหลายๆคน อย่างเช่น สิทธิชัย สุวรประทีป เจ้าของเหรียญทองวิ่งผลัด 4x100 (ชาย) ทั้งในซีเกมส์และเอเชี่ยนเกมส์อีกหลายสมัย, วุฒิชัย ทาทอง และปิยะชาติ ถามะพันธ์ นักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยอีกด้วย และยังมีนักแสดงที่มีชื่อเสียงที่จบจากคณะนี้อย่างเช่น นิว ชัยพล, อาเล็ก ธีรเดช และน็อต อัครณัฐ
จบมาทำงานอะไร
2. ผู้ช่วยวิจัยทางการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา ส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการศาสตร์
3. ผู้ฝึกสอนกีฬา / ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนกีฬา และเจ้าหน้าที่จัดการการแข่งขันกีฬา
4. นักวิชาการทางการกีฬา การออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการในชุมชน
5. ผู้จัดโครงการส่งเสริม พัฒนา และบริการทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา ส่งเสริมสุขภาพและนันทนาการศาสตร์
6. ผู้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
7. เจ้าของธุรกิจหรือประกอบอาชีพอิสระทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกายการจัดการการกีฬา การส่งเสริมสุขภาพ และนันทนาการศาสตร์
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้น ม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไป
- มีผลงานหรือประวัติทางด้านกีฬาที่โดดเด่นตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้
- มีผลคะแนนสอบในวิชา GAT/PAT2 (วิทยาศาสตร์)
- ผ่านการสอบสัมภาษร์ของทางมหาวิทยาลัย
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิทยาศาสตร์การกีฬา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 2.6 แย่มาก
วิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
อยากสอบเข้าจุฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่ว่าเกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เปงเศร้าา
วันวิสาข์
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ