แพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษาขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย
ในการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตของนิสิตแพทย์นั้น ในปี 1 เทอม 1 จะมีวิชาเรียนประมาน 8 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษพื้นฐานซึ่งจะะเรียนเหมือนๆ กันทั้งมหาวิทยาลัย เว้นแต่คณะอักษรศาสตร์, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ จะเป็นอังกฤษอีกตัวที่น้องๆ จะต้องเรียนสิ่งที่จะได้เรียนเทอมแรกจะเป็นการฟัง และพูด จะมีการสอบซักประวัติ จะมีศัพท์ใหม่ๆทางการแพทย์มากมายให้น้องๆ ได้เรียนรู้, เคมีสำหรับนิสิตแพทย์ วิชานี้เราจะได้เรียนทั้งเคมีอินทรีย์และอนินทรีย์, วิชาฟิสิกส์สำหรับนิสิตแพทย์ จะเรียนถึงเรื่องการเคลื่อนไหว สมดุลกล ความดัน กฎของไหลต่างๆ, วิชาแพทย์กับสังคม วิชานี้คล้ายๆวิชาสังคมจะได้เรียนถึงประวัติศาสตร์การแพทย์ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การเป็นแพทย์ที่ดี ปี 1 เทอม 2 ถือว่าเรียนไม่เยอะและก็ไม่ยาก อย่างเช่น วิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับนิสิตแพทย์ เป็นวิชาการทำแล็ปเกี่ยวกับกับเคมีอินทรีย์ เป็นการทดสอบหมู่ฟังก์ชันของสารและการทดสอบหาสารที่ไม่รู้จัก, เซลล์ชีววิทยาสำหรับนิสิตแพทย์
ในส่วนปี 2 เทอม 1 นั้นส่วนมากวิชาที่เรียนน้องๆ จะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่เป็นส่วนมากทั้งเทอมตั้งแต่กระดูก กล้ามเนื้อ และระบบต่างๆของร่างกาย และก็จะได้เรียนวิชา Medical Ethics and Critical Thinking ซึ่งเป็นวิชาที่เราจะได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์ ทำให้ได้ฝึกคิดและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ปี 2 เทอม 2 จะไม่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ ส่วนมากวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
ปี 3 เทอม 1 เรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายได้เรียนเกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ ทั้งไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อราต่างๆ ส่วนปี 3 เทอม 2 นี้จะเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายเช่นเดิมเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกาย ในปี3เราก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือที่เป็นความรู้ชั้นพรีคลินิกทั้งหมดเพื่อสอบ ในปี4 น้องๆ จะได้เวียนไปตามวอร์ดต่างๆ 4 วอร์ด คือสูติศาสตร์, ศัลยศาสตร์, อายุรศาสตร์ และ กุมารเวชศาสตร์ เรียนกันแบบไม่มีปิดเทอมเลย ก็จะผลัดเปลี่ยนจนครบ 4 วอร์ด โดยการไปเรียนนี้ก็ยังคงมีเรียนเลกเชอร์จะมีการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละประมาณ 10 คน มีอาจารย์ ปี 5 ก็คล้ายๆ ปี 4 แต่ปี 5 จะไม่ขึ้นวอร์ด จะขึ้นวอร์ดรอง เรียกว่า วอร์ดไมเนอร์ ก็คือวอร์ดย่อยในโรงพยาบาล เช่น นิติเวช และในปี 6 เหมือนได้เป็นหมอเต็มตัว ที่เรียกกันว่า extern
จบมาทำงานอะไร
แพทย์วิชาชีพ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรงผ่าน กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย)
- ต้องจบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น
- ต้องมีคะแนน O-NET รวม 5 กลุ่มสาระวิชา (วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- สอบวิชาเฉพาะ 30%
- สอบ 9 วิชาสามัญ ใช้ 5 วิชา 70% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, สังคม 10%, ภาษาไทย 10%)
ระบบรับตรง 3 โครงการ (กันยายน)
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เคยศึกษา ม.1 - 3 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ, ชลบุรี, จันทบุรี, ระยอง, ตราด, นครนายก, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นม.6
- ไม่กำหนด ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เป็นผู้อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก โดย
- เป็นผู้ที่ศึกษา ม.4 - 6 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัคร
- กำลังศึกษา ม.6 ปีการศึกษา 2558 ในสถานศึกษาจังหวัดที่สมัคร
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 3.50
โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6
- ไม่กำหนดผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในการสมัคร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
252, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
5 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.4 ดีมาก
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
แพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษาขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทย
ในการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตของนิสิตแพทย์นั้น ในปี 1 เทอม 1 จะมีวิชาเรียนประมาน 8 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษพื้นฐานซึ่งจะะเรียนเหมือนๆ กันทั้งมหาวิทยาลัย เว้นแต่คณะอักษรศาสตร์, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ จะเป็นอังกฤษอีกตัวที่น้องๆ จะต้องเรียนสิ่งที่จะได้เรียนเทอมแรกจะเป็นการฟัง และพูด จะมีการสอบซักประวัติ จะมีศัพท์ใหม่ๆทางการแพทย์มากมายให้น้องๆ ได้เรียนรู้, เคมีสำหรับนิสิตแพทย์ วิชานี้เราจะได้เรียนทั้งเคมีอินทรีย์และอนินทรีย์, วิชาฟิสิกส์สำหรับนิสิตแพทย์ จะเรียนถึงเรื่องการเคลื่อนไหว สมดุลกล ความดัน กฎของไหลต่างๆ, วิชาแพทย์กับสังคม วิชานี้คล้ายๆวิชาสังคมจะได้เรียนถึงประวัติศาสตร์การแพทย์ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การเป็นแพทย์ที่ดี ปี 1 เทอม 2 ถือว่าเรียนไม่เยอะและก็ไม่ยาก อย่างเช่น วิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับนิสิตแพทย์ เป็นวิชาการทำแล็ปเกี่ยวกับกับเคมีอินทรีย์ เป็นการทดสอบหมู่ฟังก์ชันของสารและการทดสอบหาสารที่ไม่รู้จัก, เซลล์ชีววิทยาสำหรับนิสิตแพทย์
ในส่วนปี 2 เทอม 1 นั้นส่วนมากวิชาที่เรียนน้องๆ จะได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่เป็นส่วนมากทั้งเทอมตั้งแต่กระดูก กล้ามเนื้อ และระบบต่างๆของร่างกาย และก็จะได้เรียนวิชา Medical Ethics and Critical Thinking ซึ่งเป็นวิชาที่เราจะได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมทางการแพทย์ ทำให้ได้ฝึกคิดและตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ปี 2 เทอม 2 จะไม่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ ส่วนมากวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาเกี่ยวกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย
ปี 3 เทอม 1 เรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายได้เรียนเกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ ทั้งไวรัส, แบคทีเรีย, เชื้อราต่างๆ ส่วนปี 3 เทอม 2 นี้จะเรียนเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายเช่นเดิมเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกาย ในปี3เราก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือที่เป็นความรู้ชั้นพรีคลินิกทั้งหมดเพื่อสอบ ในปี4 น้องๆ จะได้เวียนไปตามวอร์ดต่างๆ 4 วอร์ด คือสูติศาสตร์, ศัลยศาสตร์, อายุรศาสตร์ และ กุมารเวชศาสตร์ เรียนกันแบบไม่มีปิดเทอมเลย ก็จะผลัดเปลี่ยนจนครบ 4 วอร์ด โดยการไปเรียนนี้ก็ยังคงมีเรียนเลกเชอร์จะมีการเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละประมาณ 10 คน มีอาจารย์ ปี 5 ก็คล้ายๆ ปี 4 แต่ปี 5 จะไม่ขึ้นวอร์ด จะขึ้นวอร์ดรอง เรียกว่า วอร์ดไมเนอร์ ก็คือวอร์ดย่อยในโรงพยาบาล เช่น นิติเวช และในปี 6 เหมือนได้เป็นหมอเต็มตัว ที่เรียกกันว่า extern
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- ต้องจบแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ เท่านั้น
- ต้องมีคะแนน O-NET รวม 5 กลุ่มสาระวิชา (วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, สังคม, ภาษาไทย) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- สอบวิชาเฉพาะ 30%
- สอบ 9 วิชาสามัญ ใช้ 5 วิชา 70% (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ 40%, คณิตศาสตร์ 20%, ภาษาอังกฤษ 20%, สังคม 10%, ภาษาไทย 10%)
ระบบรับตรง 3 โครงการ (กันยายน)
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เคยศึกษา ม.1 - 3 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ, ชลบุรี, จันทบุรี, ระยอง, ตราด, นครนายก, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นม.6
- ไม่กำหนด ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX)
โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข
- เป็นผู้อยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก โดย
- เป็นผู้ที่ศึกษา ม.4 - 6 ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัคร
- กำลังศึกษา ม.6 ปีการศึกษา 2558 ในสถานศึกษาจังหวัดที่สมัคร
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 3.50
โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม.6
- ไม่กำหนดผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในการสมัคร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
แพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
5 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.4 ดีมาก
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ