สารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รีวิวสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เนื่องด้วยปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินการทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษาเป็นอย่างมาก แต่คนที่มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีไม่มากนัก เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เริ่มเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปี 2541 ในชื่อหลักสูตร "สารสนเทศศึกษา" ต่อมาในปี 2555 หลักสูตรได้ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัล ในชื่อหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
หลักสูตรใหม่ของสาขาวิชานี้มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้สามารถในการจัดการสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีช่วยในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีทักษะการออกแบบ จัดการสื่อสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการสารสนเทศบนเครือข่าย ในการเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี บัณฑิตจะมีทักษะความรู้ที่สามารถประกอบอาชีพด้านสารสนเทศและด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี ได้แก่ นักจัดการสารสนเทศ นักวิชาการสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ช่วยวิจัยหรือสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ นักจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทอดสารสนเทศ นักวิจัยสารสนเทศในหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลและศูนย์วิจัย องค์การระหว่างประเทศ บริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูล ข่าวสารและประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ ผู้ออกแบบและดูแลเว็บไซต์ ผู้พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ ผู้ออกแบบและผลิตบทเรียนสำเร็จรูป (CAI) ผู้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ผู้จัดการสื่อดิจิทัล นักประชาสัมพันธ์บนเว็บ (SEO) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
1. อาชีพทางด้านสารสนเทศ เช่น
นักสารสนเทศ (Information Professionals)
บรรณารักษ์ดิจิทัล (Digital Librarian)
นักจดหมายเหตุ (Archivist)
ผู้จัดการสนเทศบนเว็บ (Web Content Manager)
ผู้จัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Manager)
ผู้สนับสนุนการใช้สารสนเทศภายในองค์กร (Information Entrepreneur)
นักวิจัยสารสนเทศในหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล สถาบันวิจัย กรมสารนิเทศ แผนกสารสนเทศ องค์การระหว่างประเทศ บริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
2. อาชีพด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี เช่น
นักวิชาการศึกษา
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer)
ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster)
ผู้พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป (CAI)
ผู้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ (e-Learning)
นักออกแบบและพัฒนาสื่อสารสนเทศ
นักออกแบบและพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชัน
นักออกแบบและพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
นักออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในสถาบันสารสนเทศ
3. อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรงทั่วประเทศ (มิถุนายน-กรกฏาคม)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.00
- ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th/wu_info.asp
โควตา 14 จังหวัดภาคใต้ (กรกฏาคม-ธันวาคม)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม
- ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th/wu_info.asp
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10 %
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30 %
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
96, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
12, 000 บาท/เทอม
7 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.7 ดีเยี่ยม
สารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดีไหม?
“เลือกไม่ได้”
ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนอะไร
ศิริวรรณ
นักเรียน
06 พ.ย. 60 20:34 น.
ศิริประภา
นักเรียน
30 ส.ค. 60 09:47 น.
“ความสับสน”
หนูกำลังจะจบ ปวช.สารสนเทศ จะต่อมหาลัย หรือ ปวส.ดีคะ
ถ้าจบปวส.สามารถต่อ มหาลัยที่นี่ได้ไหมคะ
อาทิตยา
นักเรียน
16 ส.ค. 60 20:26 น.
“มัวันนี้ได้เพราะอาจารย์ในหลักสูตร”
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศให้อะไรที่มากกว่าความรู้ ให้ทั้งมิตรภาพระหว่างเพื่อน พี่ รุ่นน้องและอาจารย์ในหลักสูตร หลักสูตรนี้เมื่อเรียนจบสามารถที่จะนำวิชาความรุ้ที่ได้จากหลักสูตรมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตได้
มนตรี พรหมทอง
ศิษย์เก่า
16 ธ.ค. 59 23:03 น.
“สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ”
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล หรือที่นักศึกษาในหลักสูตรเรียกกันว่า DIM (ดีไอเอ็ม) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนทักษะความรู้รอบด้านทั้ง IT , Media และ Content รายวิชามีเนื้อหาที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคดิจิทัล สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้จริง เป็นหลักสูตรที่มีความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษาเพราะมีห้องปฎิบัติการประจำหลักสูตร และมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมเสริมทักษะในด้านต่างๆให้แก่นักศึกษาอยู่สม่ำเสมอ จึงทำให้นักศึกษาภายในหลักสูตรมีทักษะความรู้รอบด้าน อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรทุกท่านล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเป็นกันเอง สามารถปรึกษาพูดคุยได้ทุกเรื่องไม่เพียงแค่เรื่องการเรียนเท่านั้น ทุกครั้งที่ได้พูดคุยหรือปรึกษาเรื่องต่างๆกับอาจารย์จะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และความห่วงใยจากอาจารย์ที่มีต่อลูกศิษย์ หลักสูตรการจัดการสารสนเทศดิจิทัล จึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของหนูค่ะ
Konkanok Collam
ศิษย์ปัจจุบัน
15 ธ.ค. 59 17:44 น.
“จบแล้วหาทำง่าย เรียนรู้การใช้ IT เพื่อจัดการสารสนเทศ”
เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย ในยุคดิจิทัล เหมาะกับผู้เรียนยุคใหม่ที่ชอบใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการจัดการสารสนเทศ เน้นการฝึกปฎิบัติจริง ผู้เรียนได้ลงมือทำอย่างเต็มที่ อาจารย์ใจดีและมีความเป็นกันเองกับลูกศิษย์มาก
Sirivajana Kaewphanuek
ศิษย์เก่า
15 ธ.ค. 59 09:52 น.
สารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รีวิวสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เนื่องด้วยปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินการทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษาเป็นอย่างมาก แต่คนที่มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีไม่มากนัก เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เริ่มเปิดรับนักศึกษาตั้งแต่ปี 2541 ในชื่อหลักสูตร "สารสนเทศศึกษา" ต่อมาในปี 2555 หลักสูตรได้ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัล ในชื่อหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
หลักสูตรใหม่ของสาขาวิชานี้มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้สามารถในการจัดการสารสนเทศและการใช้เทคโนโลยีช่วยในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมีทักษะการออกแบบ จัดการสื่อสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการสารสนเทศบนเครือข่าย ในการเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปี บัณฑิตจะมีทักษะความรู้ที่สามารถประกอบอาชีพด้านสารสนเทศและด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี ได้แก่ นักจัดการสารสนเทศ นักวิชาการสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ช่วยวิจัยหรือสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ นักจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายทอดสารสนเทศ นักวิจัยสารสนเทศในหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลและศูนย์วิจัย องค์การระหว่างประเทศ บริษัทที่ประกอบธุรกิจข้อมูล ข่าวสารและประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ ผู้ออกแบบและดูแลเว็บไซต์ ผู้พัฒนาโปรแกรมบนเว็บ ผู้ออกแบบและผลิตบทเรียนสำเร็จรูป (CAI) ผู้ผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ผู้จัดการสื่อดิจิทัล นักประชาสัมพันธ์บนเว็บ (SEO) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
นักสารสนเทศ (Information Professionals)
บรรณารักษ์ดิจิทัล (Digital Librarian)
นักจดหมายเหตุ (Archivist)
ผู้จัดการสนเทศบนเว็บ (Web Content Manager)
ผู้จัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Manager)
ผู้สนับสนุนการใช้สารสนเทศภายในองค์กร (Information Entrepreneur)
นักวิจัยสารสนเทศในหน่วยงานต่างๆ เช่น ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูล สถาบันวิจัย กรมสารนิเทศ แผนกสารสนเทศ องค์การระหว่างประเทศ บริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
2. อาชีพด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี เช่น
นักวิชาการศึกษา
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer)
ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster)
ผู้พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป (CAI)
ผู้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ (e-Learning)
นักออกแบบและพัฒนาสื่อสารสนเทศ
นักออกแบบและพัฒนาดิจิทัลคอลเล็คชัน
นักออกแบบและพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
นักออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในสถาบันสารสนเทศ
3. อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.00
- ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th/wu_info.asp
โควตา 14 จังหวัดภาคใต้ (กรกฏาคม-ธันวาคม)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม
- ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://entry.wu.ac.th/wu_info.asp
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 10%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10 %
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30 %
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
7 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 9.7 ดีเยี่ยม
สารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดีไหม?
ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนอะไร
ศิริวรรณ
😁
ศิริประภา
หนูกำลังจะจบ ปวช.สารสนเทศ จะต่อมหาลัย หรือ ปวส.ดีคะ ถ้าจบปวส.สามารถต่อ มหาลัยที่นี่ได้ไหมคะ
อาทิตยา
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศให้อะไรที่มากกว่าความรู้ ให้ทั้งมิตรภาพระหว่างเพื่อน พี่ รุ่นน้องและอาจารย์ในหลักสูตร หลักสูตรนี้เมื่อเรียนจบสามารถที่จะนำวิชาความรุ้ที่ได้จากหลักสูตรมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงการประกอบอาชีพในอนาคตได้
มนตรี พรหมทอง
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล หรือที่นักศึกษาในหลักสูตรเรียกกันว่า DIM (ดีไอเอ็ม) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนทักษะความรู้รอบด้านทั้ง IT , Media และ Content รายวิชามีเนื้อหาที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคดิจิทัล สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติได้จริง เป็นหลักสูตรที่มีความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษาเพราะมีห้องปฎิบัติการประจำหลักสูตร และมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมเสริมทักษะในด้านต่างๆให้แก่นักศึกษาอยู่สม่ำเสมอ จึงทำให้นักศึกษาภายในหลักสูตรมีทักษะความรู้รอบด้าน อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรทุกท่านล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเป็นกันเอง สามารถปรึกษาพูดคุยได้ทุกเรื่องไม่เพียงแค่เรื่องการเรียนเท่านั้น ทุกครั้งที่ได้พูดคุยหรือปรึกษาเรื่องต่างๆกับอาจารย์จะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และความห่วงใยจากอาจารย์ที่มีต่อลูกศิษย์ หลักสูตรการจัดการสารสนเทศดิจิทัล จึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของหนูค่ะ
Konkanok Collam
เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย ในยุคดิจิทัล เหมาะกับผู้เรียนยุคใหม่ที่ชอบใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการจัดการสารสนเทศ เน้นการฝึกปฎิบัติจริง ผู้เรียนได้ลงมือทำอย่างเต็มที่ อาจารย์ใจดีและมีความเป็นกันเองกับลูกศิษย์มาก
Sirivajana Kaewphanuek
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ