สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รีวิวสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อาชีวอนามัย เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาสุขศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ และผลกระทบที่เกิดจากการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อเกิดความปลอดภัยสูงสุด และได้รับการคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำว่า อาชีวอนามัย มาจากคำว่า อาชีวะ (การประกอบอาชีพ) และอนามัย (ความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ) รวมกันแล้วจะหมายความว่า การส่งเสริม, ควบคุม, ดูแล, ป้องกันโรคและอุบัติเหตุให้กับผู้ประกอบอาชีพตามหลักของศาสตร์การอนามัย และเพื่อยกระดับความปลอดภัยของแรงงานด้านอุตสาหกรรมที่เป็นรากฐานของเครษฐกิจระดับประเทศ สาขาอาชีวอนามัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับน้องๆ ที่สนใจในด้านของอุตสาหกรรมและชอบดูแลให้ผู้อื่นปลอดภัยในการทำงาน
ที่นี่จะเน้นเรื่องของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก เคมี ชีวะ และฟิสิกส์สุขภาพ ปีที่ 1 น้องๆ จะต้องเริ่มต้นจากวิชาพื้นฐานต่างๆ ในการใช้ชีวิตทั่วไป ขึ้นปีที่ 2 เรียนเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ (Basic Anatomy) ที่เรียนกับอาจารย์ใหญ่แต่ไม่ได้ลงมือผ่าร่างกาย เพียงแค่ให้น้องๆ รู้ว่าสรีรร่างกายของมนุษย์เป็นอย่างไร การทำงานของร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อปูไปสู่การเรียนปี 3 - 4 ที่เป็นการเรียนหลักอาชีวอนามัยที่เข้มข้นขึ้นไปอีก อาทิ โรคต่างๆ การจัดการความปลอดภัย อากาศ, น้ำ, ไฟ, ของเสีย เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เป็นอาชีพที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างต้องการตัว เพราะถ้าโรงงานไหนไม่มีเจ้าหน้าที่ส่วนนี้ จะส่งผลให้โรงงานนั้นไม่ผ่านมาตราฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้
หน่วยงานเอกชน
เครือซิเมนต์ไทย, กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เครือเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ
หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงแรงงาน กองตรวจความปลอดภัยในการทํางาน สถาบันความปลอดภัย ในการทํางาน, กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บริษัทการบินไทย จํากัด, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบโควตา
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม. 6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
มีโควตาดังนี้
- โควตา 9 จังหวัด (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี)
- โควตาทั่วประเทศ (ยกเว้น 9 จังหวัดข้างต้น)
- โควตาความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โควตานักกีฬา, ดนตรี และนาฏศิลป์
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
194, 400 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
24, 300 บาท/เทอม
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิต การวิจัย บริการวิชาการทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพ ให้มีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี เป็นผู้นำการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ พัฒนางานวิจัยและให้บริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการและชุมชน
เมื่อนักศึกษาจบการศึกษา การทำงานเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานของผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันการเกิด อุบัติเหตุเนื่องจากการทํางาน การจัดสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เหมาะสม เช่น แสง เสียง ความ ร้อน ฝุนละออง สารเคมี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อเป็นการส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจในการประกอบอาชีพ และเพื่อเป็นการลดความสูญเสียและ ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน
เส้นทางความก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (จป.) SAFETY OFFICER
- สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน ด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ต่าง ๆ
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน และป้องกันโรคจากการทํางาน
- การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
- การวางแผนและควบคุมการสูญเสียของการผลิต
- การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะสำนักวิชาแพทยศาสตร์ (Institute of Medicine)
ชื่อสาขา
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety )
ชื่อปริญญา
วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ( วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) )
รายละเอียด
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการที่ใช้ในงานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อนําข้อมูลและเทคนิคต่าง ๆ
ไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และความปลอดภัย การป้องกันและการควบคุมอันตรายจากการทํางาน
ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
คุณสมบัติ
โควตาโดยไม่มีการสอบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่รับนักศึกษาโควตา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการจัดการสาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยไม่มีการสอบข้อเขียน แต่พิจารณาจากผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดโอกาสให้เลือกสาขาวิชาที่ต้องการได้ก่อนเข้าเรียน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายการกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแก่เยาวชนในทุกภูมิภาค คือ มุ่งเน้นการรับนักศึกษาโดยวิธีให้โควตามากถึงร้อยละ 80 ของจำนวนรับทั้งหมด โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐหรือเอกชนทั่วประเทศ มีคะแนนสะสมเฉลี่ยรวมทุกวิชานับรวมภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไม่ต่ำกว่า 2.75 นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมตามประเภทโควตาต่างๆ ดังนี้
โควตาโรงเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพิจารณาให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทุกโรงเรียนในเขตปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี โดยนักเรียนต้องมีคะแนนสะสมเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 2.75
โควตาจังหวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพิจารณาให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศ (ยกเว้นจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี) โดยนักเรียนต้องมีคะแนนสะสมเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 2.75
โควตานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศที่มีคุณสมบัติและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยต้องผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้าแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การอบรมตลอดหลักสูตรในค่าย 2 ของศูนย์ส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้รับรางวัล ระดับภาคหรือระดับประเทศจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดโดยองค์กรระดับชาติที่มหาวิทยาลัยเห็นชอบ นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงมหาวิทยาลัยให้ในปีการศึกษาแรก และเมื่อสิ้นปีการศึกษา หากมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุง มหาวิทยาลัยในปีการศึกษาต่อไป
โควตานักกีฬา ให้โควตาแก่นักเรียนที่เป็นนักกีฬาในประเภทที่มหาวิทยาลัยกำหนดและมีคุณสมบัติความสามารถทางด้านกีฬาข้อใดข้อหนึ่ง คือ ได้ตำแหน่งชนะเลิศหรือรองชนะเลิศในระดับจังหวัด หรือเป็นนักกีฬาตัวแทนระดับจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาที่จังหวัดไม่ได้จัดแข่ง หรือมีประสบการณ์เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับจังหวัดไม่น้อยกว่า ๑ ปี และเมื่อได้โควตาต้องเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และจะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยตลอดระยะเวลาที่เป็นนักกีฬาตัวแทนของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้รับการสอนเสริมทางด้านวิชาการตามความจำเป็น ตลอดจนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ และการยกเว้นค่าหน่วยกิต หากประสบผลสำเร็จในการแข่งขันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
โควตาดนตรีและนาฏศิลป์ ให้โควตาแก่นักเรียนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีสากล ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาฏศิลป์หรือขับร้อง ตลอดจนเป็นนักดนตรีและนักแสดงนาฏศิลป์ของโรงเรียน มีเอกสารหรือมีผู้ รับรองการเข้าร่วมกิจกรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์จากโรงเรียน และเมื่อได้โควตาจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยจะได้รับการลดค่าธรรมเนียมหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยครึ่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ทุนการศึกษา
กยศ. กรอ. ทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานของผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันการเกิด อุบัติเหตุเนื่องจากการทํางาน การจัดสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เหมาะสม เช่น แสง เสียง ความ ร้อน ฝุนละออง สารเคมี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อเป็นการส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจในการประกอบอาชีพ และเพื่อเป็นการลดความสูญเสียและ ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน
เมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพ ได้หลายหน่วยงาน ดังนี้
1. หน่วยงานรัฐบาล
- กระทรวงแรงงาน กองตรวจความปลอดภัยในการทํางาน สถาบันความปลอดภัย ในการทํางาน
- กระทรวงอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
- บริษัทการบินไทย จํากัด
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. หน่วยงานเอกชน กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (จป.)
- เครือซิเมนต์ไทย - กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- เครือเจริญโภคภัณฑ์
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (จป.) SAFETY OFFICER
- สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน ด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ต่าง ๆ เนื่องจากการทํางาน
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน และป้องกันโรคจากการทํางาน
- การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน
- การวางแผนและควบคุมการสูญเสียของการผลิต
- การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทํางานให้กับผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้อง
เรียนต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดีไหม?
“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย...น่าเรียนนะครับ”
อยากเรียนสาขานี้นะครับ ที่บ้านแนะนำว่าตำแหน่งจป.วิชาชีพขาดแคลนมาก อยากทราบว่าที่สาขานี้ของม.สุรนารี ปี4 ต้องฝึกงานที่ไหน หรือเป็นสหกิจมั้ย มีร่วมมือกับองค์กรไหนเป็นพิเศษมั้ย แบบก่อนจบมีคนนมาจองตัวไรงี้อ่ะครับ
จีรกิตติ์ อุทัยวรรณ
บุคคลทั่วไป
06 ต.ค. 59 10:26 น.
“เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ”
เพิ่งรู้ว่าที่โรงงานอุตสหกรรมเค้าต้องการตำแหน่ง จป.วิชาชีพ คือต้องเรียนสาขานี้นะครับ น่าสนใจแล้วก็ค่าตอบแทนดีมากด้วย ทุกโรงงานต้องการเจ้าหน้าที่ตรงนี้ เป็นสาขาอาชีพขาดแคลนด้วยนะครับ
First Attameka
บุคคลทั่วไป
06 ต.ค. 59 10:24 น.
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รีวิวสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อาชีวอนามัย เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาสุขศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ และผลกระทบที่เกิดจากการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อเกิดความปลอดภัยสูงสุด และได้รับการคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำว่า อาชีวอนามัย มาจากคำว่า อาชีวะ (การประกอบอาชีพ) และอนามัย (ความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ) รวมกันแล้วจะหมายความว่า การส่งเสริม, ควบคุม, ดูแล, ป้องกันโรคและอุบัติเหตุให้กับผู้ประกอบอาชีพตามหลักของศาสตร์การอนามัย และเพื่อยกระดับความปลอดภัยของแรงงานด้านอุตสาหกรรมที่เป็นรากฐานของเครษฐกิจระดับประเทศ สาขาอาชีวอนามัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับน้องๆ ที่สนใจในด้านของอุตสาหกรรมและชอบดูแลให้ผู้อื่นปลอดภัยในการทำงาน
ที่นี่จะเน้นเรื่องของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก เคมี ชีวะ และฟิสิกส์สุขภาพ ปีที่ 1 น้องๆ จะต้องเริ่มต้นจากวิชาพื้นฐานต่างๆ ในการใช้ชีวิตทั่วไป ขึ้นปีที่ 2 เรียนเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ (Basic Anatomy) ที่เรียนกับอาจารย์ใหญ่แต่ไม่ได้ลงมือผ่าร่างกาย เพียงแค่ให้น้องๆ รู้ว่าสรีรร่างกายของมนุษย์เป็นอย่างไร การทำงานของร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อปูไปสู่การเรียนปี 3 - 4 ที่เป็นการเรียนหลักอาชีวอนามัยที่เข้มข้นขึ้นไปอีก อาทิ โรคต่างๆ การจัดการความปลอดภัย อากาศ, น้ำ, ไฟ, ของเสีย เป็นต้น
จบมาทำงานอะไร
หน่วยงานเอกชน
เครือซิเมนต์ไทย, กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี, เครือเจริญโภคภัณฑ์ ฯลฯ
หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงแรงงาน กองตรวจความปลอดภัยในการทํางาน สถาบันความปลอดภัย ในการทํางาน, กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บริษัทการบินไทย จํากัด, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- กำลังศึกษาในระดับชั้น ม. 6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.75
มีโควตาดังนี้
- โควตา 9 จังหวัด (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี)
- โควตาทั่วประเทศ (ยกเว้น 9 จังหวัดข้างต้น)
- โควตาความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- โควตานักกีฬา, ดนตรี และนาฏศิลป์
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 20%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เมื่อนักศึกษาจบการศึกษา การทำงานเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทํางานของผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันการเกิด อุบัติเหตุเนื่องจากการทํางาน การจัดสภาพแวดล้อมในการทํางานที่เหมาะสม เช่น แสง เสียง ความ ร้อน ฝุนละออง สารเคมี ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกําหนด เพื่อเป็นการส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจในการประกอบอาชีพ และเพื่อเป็นการลดความสูญเสียและ ค่าใช้จ่าย เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน
เส้นทางความก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (จป.) SAFETY OFFICER
- สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน ด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ต่าง ๆ
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน และป้องกันโรคจากการทํางาน
- การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
- การวางแผนและควบคุมการสูญเสียของการผลิต
- การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และความปลอดภัย การป้องกันและการควบคุมอันตรายจากการทํางาน
ซึ่งเป็นบทบาทและหน้าที่ส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
โควตาโดยไม่มีการสอบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่รับนักศึกษาโควตา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการจัดการสาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยไม่มีการสอบข้อเขียน แต่พิจารณาจากผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดโอกาสให้เลือกสาขาวิชาที่ต้องการได้ก่อนเข้าเรียน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายการกระจายโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแก่เยาวชนในทุกภูมิภาค คือ มุ่งเน้นการรับนักศึกษาโดยวิธีให้โควตามากถึงร้อยละ 80 ของจำนวนรับทั้งหมด โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐหรือเอกชนทั่วประเทศ มีคะแนนสะสมเฉลี่ยรวมทุกวิชานับรวมภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไม่ต่ำกว่า 2.75 นอกจากนี้มหาวิทยาลัย ได้กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมตามประเภทโควตาต่างๆ ดังนี้
โควตาโรงเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพิจารณาให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทุกโรงเรียนในเขตปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี โดยนักเรียนต้องมีคะแนนสะสมเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 2.75
โควตาจังหวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพิจารณาให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศ (ยกเว้นจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี) โดยนักเรียนต้องมีคะแนนสะสมเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนด ไม่ต่ำกว่า 2.75
โควตานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้โควตาแก่นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศที่มีคุณสมบัติและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยต้องผ่านการคัดเลือก เพื่อเข้าแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การอบรมตลอดหลักสูตรในค่าย 2 ของศูนย์ส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการฯ (สอวน.) เข้ารอบชิงชนะเลิศการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้รับรางวัล ระดับภาคหรือระดับประเทศจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดโดยองค์กรระดับชาติที่มหาวิทยาลัยเห็นชอบ นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงมหาวิทยาลัยให้ในปีการศึกษาแรก และเมื่อสิ้นปีการศึกษา หากมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุง มหาวิทยาลัยในปีการศึกษาต่อไป
โควตานักกีฬา ให้โควตาแก่นักเรียนที่เป็นนักกีฬาในประเภทที่มหาวิทยาลัยกำหนดและมีคุณสมบัติความสามารถทางด้านกีฬาข้อใดข้อหนึ่ง คือ ได้ตำแหน่งชนะเลิศหรือรองชนะเลิศในระดับจังหวัด หรือเป็นนักกีฬาตัวแทนระดับจังหวัดเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาที่จังหวัดไม่ได้จัดแข่ง หรือมีประสบการณ์เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับจังหวัดไม่น้อยกว่า ๑ ปี และเมื่อได้โควตาต้องเป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และจะได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยตลอดระยะเวลาที่เป็นนักกีฬาตัวแทนของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งได้รับการสอนเสริมทางด้านวิชาการตามความจำเป็น ตลอดจนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ และการยกเว้นค่าหน่วยกิต หากประสบผลสำเร็จในการแข่งขันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
โควตาดนตรีและนาฏศิลป์ ให้โควตาแก่นักเรียนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีสากล ดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาฏศิลป์หรือขับร้อง ตลอดจนเป็นนักดนตรีและนักแสดงนาฏศิลป์ของโรงเรียน มีเอกสารหรือมีผู้ รับรองการเข้าร่วมกิจกรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์จากโรงเรียน และเมื่อได้โควตาจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้านดนตรีและนาฏศิลป์ของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยจะได้รับการลดค่าธรรมเนียมหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยครึ่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
เมื่อจบการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพ ได้หลายหน่วยงาน ดังนี้
1. หน่วยงานรัฐบาล
- กระทรวงแรงงาน กองตรวจความปลอดภัยในการทํางาน สถาบันความปลอดภัย ในการทํางาน
- กระทรวงอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
- บริษัทการบินไทย จํากัด
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. หน่วยงานเอกชน กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ในตําแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน (จป.)
- เครือซิเมนต์ไทย - กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- เครือเจริญโภคภัณฑ์
- สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน ด้านความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ต่าง ๆ เนื่องจากการทํางาน
- การวางแผน ควบคุม ประสานงาน และป้องกันโรคจากการทํางาน
- การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางาน
- การวางแผนและควบคุมการสูญเสียของการผลิต
- การจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทํางานให้กับผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้อง
- ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- ด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
- ด้านสิ่งแวดล้อม
- ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดีไหม?
อยากเรียนสาขานี้นะครับ ที่บ้านแนะนำว่าตำแหน่งจป.วิชาชีพขาดแคลนมาก อยากทราบว่าที่สาขานี้ของม.สุรนารี ปี4 ต้องฝึกงานที่ไหน หรือเป็นสหกิจมั้ย มีร่วมมือกับองค์กรไหนเป็นพิเศษมั้ย แบบก่อนจบมีคนนมาจองตัวไรงี้อ่ะครับ
จีรกิตติ์ อุทัยวรรณ
เพิ่งรู้ว่าที่โรงงานอุตสหกรรมเค้าต้องการตำแหน่ง จป.วิชาชีพ คือต้องเรียนสาขานี้นะครับ น่าสนใจแล้วก็ค่าตอบแทนดีมากด้วย ทุกโรงงานต้องการเจ้าหน้าที่ตรงนี้ เป็นสาขาอาชีพขาดแคลนด้วยนะครับ
First Attameka
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ