การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Summary
8.49
รีวิวการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นอกจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างสจ๊วตและแอร์โฮสเตสแล้ว อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายการบินยังมีอีกมากแต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึง อย่างในการซื้อตั๋วก็จะต้องมีพนักงานขายตั๋วเครื่องบิน นั้นก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง แล้วตอนส่งกระเป๋าขึ้นเครื่องก็จะมีฝ่ายคาร์โก้ จนขึ้นเครื่องบินก็จะเจอพนักงานต้อนรับ บนเครื่องยังมีกัปตันขับเครื่องบิน นอกจากนี้ก็จะมีฝ่ายการตลาด ทั้งหมดที่ทำงานในสายการบินล้วนแต่เป็นอาชีพได้ทั้งสิ้น
สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถึงแม้จะเปิดสอนได้ไม่นานแต่ระบบการสอนมีความทันสมัย เน้นให้น้องๆ ได้เจอกับการฝึกเสมือนจริงๆ ทุกๆ เทอมจะมีเสริมภาษาอังกฤษหมดในระยะเวลา 4 ปี ส่วนกระบวนการเรียนที่ต้องเจอ ในตอนปี1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปอย่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม เรียนเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งหน้า ซึ่งมันจะทำให้เรามั่นใจตัวเองมากขึ้น เรียนประวัติการบิน ตั้งแต่ต้นกำเนิด ภาษาที่ใช้ในการบิน ในปี2 ก็จะเริ่มเข้าไปแต่ละอุตสาหกรรมหลัก มีให้ไปดูงานหลังจากนั้นมันจะทำให้เรารู้ว่าตัวเองเหมาะกับแนวไหน จนปี3 จะเรียนเจาะลึกวิชาอุตสาหกรรมที่เหลือจากปี2 มีให้ออกไปสัมภาษณ์ ทำรายงาน การทำแล็ป (ภาคปฏิบัติ) โดยการซื้อเครื่องบินลำจริงที่ปลดประจำการแล้ว ส่วนปี4 เทอมแรกเรียนเก็บวิชาที่เหลือจากปีสาม เทอมสองต้องฝึกงาน ซึ่งจะเน้นที่สายการบินภายในประเทศ เช่นการบินไทย หรือนักศึกษาจะเลือกสายการบินที่อยากไปฝึกงานเองก็ได้
เงินรายได้ในส่วนบนฟ้า ทั้งกัปตันและพนักงานต้อนรับ รายได้จะค่อนข้างสูงเพราะเขาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยชีวิตของผู้โดยสารทั้งลำ ความเสี่ยงก็สูง เวลามีไม่แน่นอน เงินเดือนจึงอยู่ที่หนึ่งแสนขึ้นไป ส่วนภาคพื้นดิน พนักงานขายตั๋วเครื่องบิน รายได้ก็จะเฉลี่ยเท่าๆ กับพนักงานบริษัททั่วไป แต่ความสนุกของมันคือ เราได้ผู้โดยสารแบบหลากหลาย ทำให้เกิดสีสันในการทำงาน ในส่วนของส่วนขนส่ง (คาร์โก้) รายได้ขึ้นอยู่กับว่าได้ทำส่วนไหน เพราะมันมีทั้งส่วนพนักงานรับของ ส่งของ ฝ่ายติดต่อ รายได้จึงเริ่มตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสน ถ้าประสบการณ์สูงและเก่งภาษา
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เน้นรายวิชาภาษาอังกฤษ โดยจะเสริมเข้าไปในภาคการเรียน
- มีทดสอบโทอิค (TOEIC) เพื่อพัฒนาด้านภาษาให้มีความชำนาญในวิชาชีพภายภาคหน้า
- มีห้องปฏิบัติการที่เป็นเครื่องบินจริงให้นักศึกษาได้ฝึกในภาคปฏิบัติ
จบมาทำงานอะไร
พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่อง , พนักงานบริการแลต้อนรับภาคพื้น , พนักงานฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ , เจ้าหน้าที่ในองค์กรและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง , มัคคุเทศก์ , เจ้าหน้าที่สถานทูต , เจ้าหน้าที่ประสานงานระหว่างประเทศ , ตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (ตุลาคม-สิงหาคม)
- สำเร็จการศึกษาชั้นม.6 หรือ เทียบเท่า
- สมัครด้วยตัวเองทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หรือ ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็ปไซต์ http://grade.dpu.ac.th/admissionform
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
189, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
8, 400 - 29, 400 บาท/เทอม
การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผลงานของสาขา
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
8.20
ความพร้อมของห้องปฎิบัติการและอุปกรณ์การเรียน
8.80
ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก
8.50
สภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน
8.50
ความน่าสนใจ (คะแนนจากผู้ใช้)
8.00
Summary
U-Review Score
8.49
ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “คึกคัก” เพื่อรอรับกระแสการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558 โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ รวมถึงการเปิดตัวสายการบินใหม่ 5 รายในภูมิภาคนี้ การเติบโตของธุรกิจที่ผ่านช่วงร้อนแรงที่สุดมาแล้ว อาจทำให้ปี 2556 อัตราอาจไม่สูงเท่าเดิม แต่จะเข้าสู่ภาวะที่เริ่มมั่นคง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของเศรษฐกิจในเติบโตของกำลังซื้อผู้บริโภคระดับกลำง
Centre for Aviation หรือ CAPA เปิดเผยว่าปัจจุบันสายการบินต้นทุนต่ำครองส่วนแบ่งที่นั่งราว 50% ของเที่ยวบินทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 3 ใน 5 สายการบินน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่าน ยังเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ได้แก่ แอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์, สกู้ต ของสิงคโปร์ และแมนดาลำ จากอินโดนีเซีย ซึ่งแปลงโฉมตัวเองจากที่เคยให้บริการเต็มรูปแบบ
ขณะที่การบินไทยส่ง “ไทยสไมล์” รุกตลาดภูมิภาคนี้ รวมทั้ง สปป.ลำวก็เปิดตัว “ลำว เซ็นทรัล แอร์ไลนส์” เช่นกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ในอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะการเข้าไปแสวงหาโอกาสชิงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศพม่าและเวียดนาม ซึ่งขณะนี้อัตราการเข้าถึงของสายการบินประเภทนี้ยังต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 26%
(ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ชื่อคณะ
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (Faculty of Tourism and Hospitality)
ชื่อสาขา
ธุรกิจการบิน (Aviation Business)
ชื่อปริญญา
ศศ.บ. (ธุรกิจการบิน) (ศิลปศาสตรบัณฑิต (ธุรกิจการบิน))
รายละเอียด
เน้นหนักในวิชาเฉพาะเรื่องของธุรกิจการบิน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบิน การบริหารจัดการสายการบิน ความสำคัญของการจราจรทางอากาศ นิรภัยการบิน เน้นหนักในงานบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือความสนใจของผู้โดยสารได้
คุณสมบัติ
- สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า
- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตจากสถานศึกษาที่ได้เคยศึกษามาแล้ว (ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอาจสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 2 ปี)
คุณสมบัติทั่วไป
- ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรค ติดยาเสพติดที่ให้โทษอย่างร้ายแรงโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือ ความผิดอันเป็นลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อนเนื่องจากถูกลงโทษทางวินัย
- มีผู้ปกครองและมีภูมิลำเนาที่พักอยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้
แผนการเรียน
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
ได้รับการรับรองจาก
สกอ. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
อาชีพ
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและการดำเนินงานภาคพื้น การทำงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น การท่าอากาศยาน บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศ ธุรกิจอาหารสำหรับสายการบิน บริษัททัวร์และแทรเวลเอเจนซี่ที่รับจองตั๋วเครื่องบิน
เส้นทางอาชีพและความก้าวหน้า
จากข้อมูลของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก หรือ World Travel and Tourism Council (WTTC) ซึ่งประเมินว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,946,000 ตำแหน่ง และจะเพิ่มเป็น 4,767,000 ตำแหน่งในอีก 10 ปีข้างหน้า
สำหรับผู้ปฏิบัติงานอาชีพ แอร์โฮสเตส,พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะได้รับการอบรมให้บริการผู้โดยสารระดับต่างๆ จนถึงบริการผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และถือเป็นการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยจะมีค่าตำแหน่งเพิ่มให้ และในบางตำแหน่งต้องมีการสอบ เช่น ตำแหน่ง Purser ครูสอน (Instructor ) In-flight Manager และผู้กำหนดตารางปฏิบัติงานการบินของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งหมด
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
เริ่มต้น 40,000 - 100,000
บุคลิกภาพที่เหมาะสมกับสาขานี้
1. มีใจรักงานบริการ
2. มีความละเอียด รอบคอบ อดทน
3. อัธยาศัยดี
4. ให้ความสำคัญและมีความสนใจในภาษาต่างประเทศ
5. ชอบ สังเกต และมีไหวพริบ ปฏิภาณ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดีไหม?
“โอเคเลย”
ค่าเทอมค่อนข้างโอเคเลย น่าสนใจนะ
วิมลสิริ
นักเรียน
09 ธ.ค. 60 22:15 น.
“สรุปคือ สาขานี้เรียนจบไปไม่ใช่ว่าจะเป็นแอร์ทุกคนนะคะ”
เท่าที่อ่านดู เหมือนเรียนเพื่อเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคพื้นมากกว่านะ จะเป็นแอร์ต้องไปเรียนเพิ่มอีกแน่ๆ ก็คิดดีๆ ค่ะ อย่าว่าเกี่ยงเลย แต่รายได้งานในภาคพื้นมันต่างกันเยอะ ภาระงานก็ค่อนข้างต่างด้วย
สรัญญา สรัญญา
บุคคลทั่วไป
04 ต.ค. 59 15:45 น.
“ค่าเทอม 8, 400 - 29, 400 บาท/เทอม”
ที่เขียนไว้ว่าค่าเทอม 8, 400 - 29, 400 บาท/เทอม นี่สรุปเป็นยังไงเหรอครับ ประมาณว่าเทอมละ 30, 000 ใช่มั้ยครับ งงๆ ตรงนี้
ศิริน เมธากุล
บุคคลทั่วไป
30 ก.ย. 59 13:03 น.
“สำหรับธุรกิจการบิน ที่นี่ถือว่าค่าเทอมถูกมาก”
มีเครื่องบินจำลองให้เรียน มีความพร้อมมากๆ ค่าเทอมถูกอีกด้วย
อังคณา ดิษยา
บุคคลทั่วไป
19 ก.ย. 59 11:42 น.
การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รีวิวการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นอกจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างสจ๊วตและแอร์โฮสเตสแล้ว อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายการบินยังมีอีกมากแต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึง อย่างในการซื้อตั๋วก็จะต้องมีพนักงานขายตั๋วเครื่องบิน นั้นก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง แล้วตอนส่งกระเป๋าขึ้นเครื่องก็จะมีฝ่ายคาร์โก้ จนขึ้นเครื่องบินก็จะเจอพนักงานต้อนรับ บนเครื่องยังมีกัปตันขับเครื่องบิน นอกจากนี้ก็จะมีฝ่ายการตลาด ทั้งหมดที่ทำงานในสายการบินล้วนแต่เป็นอาชีพได้ทั้งสิ้น
สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ถึงแม้จะเปิดสอนได้ไม่นานแต่ระบบการสอนมีความทันสมัย เน้นให้น้องๆ ได้เจอกับการฝึกเสมือนจริงๆ ทุกๆ เทอมจะมีเสริมภาษาอังกฤษหมดในระยะเวลา 4 ปี ส่วนกระบวนการเรียนที่ต้องเจอ ในตอนปี1 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปอย่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม เรียนเรื่องบุคลิกภาพ การแต่งหน้า ซึ่งมันจะทำให้เรามั่นใจตัวเองมากขึ้น เรียนประวัติการบิน ตั้งแต่ต้นกำเนิด ภาษาที่ใช้ในการบิน ในปี2 ก็จะเริ่มเข้าไปแต่ละอุตสาหกรรมหลัก มีให้ไปดูงานหลังจากนั้นมันจะทำให้เรารู้ว่าตัวเองเหมาะกับแนวไหน จนปี3 จะเรียนเจาะลึกวิชาอุตสาหกรรมที่เหลือจากปี2 มีให้ออกไปสัมภาษณ์ ทำรายงาน การทำแล็ป (ภาคปฏิบัติ) โดยการซื้อเครื่องบินลำจริงที่ปลดประจำการแล้ว ส่วนปี4 เทอมแรกเรียนเก็บวิชาที่เหลือจากปีสาม เทอมสองต้องฝึกงาน ซึ่งจะเน้นที่สายการบินภายในประเทศ เช่นการบินไทย หรือนักศึกษาจะเลือกสายการบินที่อยากไปฝึกงานเองก็ได้
เงินรายได้ในส่วนบนฟ้า ทั้งกัปตันและพนักงานต้อนรับ รายได้จะค่อนข้างสูงเพราะเขาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยชีวิตของผู้โดยสารทั้งลำ ความเสี่ยงก็สูง เวลามีไม่แน่นอน เงินเดือนจึงอยู่ที่หนึ่งแสนขึ้นไป ส่วนภาคพื้นดิน พนักงานขายตั๋วเครื่องบิน รายได้ก็จะเฉลี่ยเท่าๆ กับพนักงานบริษัททั่วไป แต่ความสนุกของมันคือ เราได้ผู้โดยสารแบบหลากหลาย ทำให้เกิดสีสันในการทำงาน ในส่วนของส่วนขนส่ง (คาร์โก้) รายได้ขึ้นอยู่กับว่าได้ทำส่วนไหน เพราะมันมีทั้งส่วนพนักงานรับของ ส่งของ ฝ่ายติดต่อ รายได้จึงเริ่มตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสน ถ้าประสบการณ์สูงและเก่งภาษา
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีทดสอบโทอิค (TOEIC) เพื่อพัฒนาด้านภาษาให้มีความชำนาญในวิชาชีพภายภาคหน้า
- มีห้องปฏิบัติการที่เป็นเครื่องบินจริงให้นักศึกษาได้ฝึกในภาคปฏิบัติ
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาชั้นม.6 หรือ เทียบเท่า
- สมัครด้วยตัวเองทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หรือ ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็ปไซต์ http://grade.dpu.ac.th/admissionform
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 50%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
Centre for Aviation หรือ CAPA เปิดเผยว่าปัจจุบันสายการบินต้นทุนต่ำครองส่วนแบ่งที่นั่งราว 50% ของเที่ยวบินทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 3 ใน 5 สายการบินน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่าน ยังเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ได้แก่ แอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์, สกู้ต ของสิงคโปร์ และแมนดาลำ จากอินโดนีเซีย ซึ่งแปลงโฉมตัวเองจากที่เคยให้บริการเต็มรูปแบบ
ขณะที่การบินไทยส่ง “ไทยสไมล์” รุกตลาดภูมิภาคนี้ รวมทั้ง สปป.ลำวก็เปิดตัว “ลำว เซ็นทรัล แอร์ไลนส์” เช่นกัน อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ในอาเซียนยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะการเข้าไปแสวงหาโอกาสชิงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศพม่าและเวียดนาม ซึ่งขณะนี้อัตราการเข้าถึงของสายการบินประเภทนี้ยังต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 26%
(ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
แผนการศึกษาหลักสูตร
- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตจากสถานศึกษาที่ได้เคยศึกษามาแล้ว (ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอาจสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 2 ปี)
คุณสมบัติทั่วไป
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
สำหรับผู้ปฏิบัติงานอาชีพ แอร์โฮสเตส,พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะได้รับการอบรมให้บริการผู้โดยสารระดับต่างๆ จนถึงบริการผู้โดยสารชั้นหนึ่ง และถือเป็นการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น โดยจะมีค่าตำแหน่งเพิ่มให้ และในบางตำแหน่งต้องมีการสอบ เช่น ตำแหน่ง Purser ครูสอน (Instructor ) In-flight Manager และผู้กำหนดตารางปฏิบัติงานการบินของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินทั้งหมด
2. มีความละเอียด รอบคอบ อดทน
3. อัธยาศัยดี
4. ให้ความสำคัญและมีความสนใจในภาษาต่างประเทศ
5. ชอบ สังเกต และมีไหวพริบ ปฏิภาณ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
4 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
การท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดีไหม?
ค่าเทอมค่อนข้างโอเคเลย น่าสนใจนะ
วิมลสิริ
เท่าที่อ่านดู เหมือนเรียนเพื่อเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคพื้นมากกว่านะ จะเป็นแอร์ต้องไปเรียนเพิ่มอีกแน่ๆ ก็คิดดีๆ ค่ะ อย่าว่าเกี่ยงเลย แต่รายได้งานในภาคพื้นมันต่างกันเยอะ ภาระงานก็ค่อนข้างต่างด้วย
สรัญญา สรัญญา
ที่เขียนไว้ว่าค่าเทอม 8, 400 - 29, 400 บาท/เทอม นี่สรุปเป็นยังไงเหรอครับ ประมาณว่าเทอมละ 30, 000 ใช่มั้ยครับ งงๆ ตรงนี้
ศิริน เมธากุล
มีเครื่องบินจำลองให้เรียน มีความพร้อมมากๆ ค่าเทอมถูกอีกด้วย
อังคณา ดิษยา
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ