"วิศวกรสำรวจ อาชีพที่เป็นรากฐานของโยธา" รีวิวสาขาวิศวกรรมสำรวจ : U-Review
ทุกวันนี้นักสำรวจเป็นที่ต้องการตัวอย่างมาก สำหรับหลายๆ โครงการ เช่นการวางผังเมือง การบูรณะสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ การสร้างตึก สร้างสะพานหรือสร้างอุโมงค์เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งอาชีพเฉพาะทางที่น่าสนใจ สำหรับคนลุยๆ ที่ชอบงานออกภาคสนาม
วิศวกรรมสำรวจ ถึงจะเป็นภาควิชาที่มีการพูดถึงน้อยมาก หากเทียบกับภาควิชาวิศวกรรมอื่นๆ อย่างวิศวโยธา วิศวไฟฟ้า หรือวิศวคอมพิวเตอร์ แต่หารู้หรือไม่ว่าวิศวสำรวจนี่แหละที่เป็นตัวเดินงานแรกของการก่อสร้างต่างๆ เกือบทุกงานเพราะจะต้องไปสำรวจดูพื้นที่ที่จะทำการปลูกสร้าง สำรวจพื้นที่แบบเบื้องต้น การวัดมุม การวัดระยะ การทำระดับ เพื่อทำแผนที่ใช้ในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งภาควิชาที่น่าสนใจที่นี่จะเปิดรับน้องๆ ที่มีคุณสมบัติมีความสามารถ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำคัญคือ ด้านคณิตศาสตร์ และในปัจจุบันถ้ามีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ไอที ก็ถือว่าได้เปรียบเหมือนกัน เพราะวิศวกรรมสำรวจในปัจจุบันจะมีเรียนวิชาทางด้านไอทีค่อนข้างมาก เพราะต้องได้เอาข้อมูลทางแผนที่ สำรวจมาใช้กับคอมพิวเตอร์มากขึ้น พวก GPS ระบบนำทางต่างๆ นั้นคือมาจากการสำรวจทั้งสิ้น ในแต่ละปีจะรับนักศึกษาเข้าเรียน 40 คน โครงการรับตรง 35 คน และระบบแอดมิสชั่น 5 คน
บรรยากาศในการเรียน ในภาพรวมจะเป็นแบบวิศวกรรมทั้งคณะเรียนรวมกันในช่วงปีแรก ต่อไปพอปี 2-3 มีการแยกวิชาเรียน แต่ก็ยังมีบางวิชาที่เรียนรวมกันกับภาควิชาอื่นๆอยู่ และนักศึกษาภาควิชาอื่นสามารถมาลงเรียนวิศวกรรมสำรวจเป็นวิชาเลือกได้ด้วย หรือวิศวกรรมสำรวจก็สามารถไปเรียนวิชาอื่นเป็นวิชาเลือกได้เช่นกัน
ขึ้นชื่อว่าสำรวจแล้วมันสำรวจอะไรนะ ? คำตอบคือ เป็นการสำรวจจดทำแผนที่ ตำแหน่งสิ่งของต่างๆ และสำรวจเพื่อจะไปสนับสนุนงานด้านวิศวกรรมโยธา การก่อสร้าง ออกแบบ การวางแผนต่างๆ แต่ช่วงหลังจะเริ่มขยายไปทางด้านภูมิศาสตร์สารสนเทศ
ข้อมูลด้านดาวเทียมมากขึ้นนั้นเอง
แล้วอาชีพล่ะ ทำอะไรบ้าง รศ.ดร.ชนินทร์ ทินนโชติ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวว่า “ ถ้าแบบตรงสาย วิศวกรรมสำรวจนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งโครงการสร้างงาน เช่นเดียวกับวิศวกรรมโยธา งานสร้างตึกสร้างอุโมงค์ คือมันต้องทำแผนที่พื้นที่ เพื่อจะนำไปออกแบบเพื่อทำวิศวกรรม และปัจจุบันงานทางด้านแผนที่ได้ถูกขยายออกไปอยู่ในวงการดิจิทัล ไอที เพราะอย่างนั้นมันจึงมีอีกงานหนึ่งคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ พวกภูมิศาสตร์ ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม และถือว่าเป็นสาขาที่ตลาดงานขาดแคลนมากเพราะมันเรียนตรง โดยส่วนมากแล้ว ที่อื่นๆจะไปทางงานโยธาส่วนมาก วิศวกรรมสำรวจมันก็เลยเป็นที่ต้องการ ”
แล้วอาชีพล่ะ ทำอะไรบ้าง รศ.ดร.ชนินทร์ ทินนโชติ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และหากใครที่ยังสับสนว่าอยากจะเรียนวิศวกรรม แต่ไม่รู้จะเรียนภาควิชาอะไร อย่างแรกน้องๆ ต้องศึกษาด้วยตัวเองก่อนว่าภาควิชานั้นๆ มันเรียนเกี่ยวกับอะไรตรงกับบุคลลิกของเราแค่ไหน และเมื่อจบไปแล้ว ภาควิชานั้นจะได้ทำงานอะไร ซึ่งสามารถหาข้อมูลตามเว็บไซต์คณะได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และคณะวิศวของจุฬา ในทุกๆ ปีจะมีการจัดค่าย ซึ่งเป็นค่ายประมาณว่าเปิดโอกาสให้น้องๆ นักเรียน ม.ปลาย เข้ามาเรียนรู้ว่าแต่ละภาควิชาจะต้องเรียนอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องคอยติดตามข่าวในเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา