U-Review

นวัตกรรมความมั่นคงฝีมือนศ. มจพ.

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เข้าร่วมเข้าแข่งขันการประดิษฐ์หุ่นยนต์ สาขาหุ่นยนต์กู้ภัย ในงาน the international RoboCup 2016 ซึ่งเป็นงานแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับนักศึกษาและทีมวิจัยระดับนานาชาติ ครั้งที่ 20 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2559 ณ เมืองไลป์ซิก เยอรมนี โดยได้รับการตัดสินรางวัลสำคัญถึงสองรางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง และรางวัลขับเคลื่อนยอดเยี่ยม (best mobility) จากประเทศที่ส่งหุ่นยนต์กู้ภัยเข้าร่วมแข่งขันรวม24 ทีม (อาทิ ออสเตรีย เยอรมนี จีน สหราชอาณาจักร อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น) ทั้งนี้ ได้มีการจัด the International RoboCup ตั้งแต่ ปี 2540 เป็นประจำทุกปี โดยประเทศต่าง ๆ หมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดงาน แบ่งสาขาการแข่งขันหุ่นยนต์รวม 6 กลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ร่วมให้กำลังใจตลอดการแข่งขันในครั้งนี้

น้องนักศึกษา มจพ.มีความมุ่งมั่นและเตรียมตัวเข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่ มีการฝึกซ้อมอย่างเป็นระบบ โดยได้รับคำปรึกษาจากคณาจารย์ผู้นำคณะนักศึกษาเข้าร่วมแสดงความสามารถครั้่งนี้ ได้แก่ รศ.สมชาย เวชกรรม รองอธิการบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมกรรมการหุ่นยนต์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ ดร.อมรพันธ์ พันธุ์โอภาศ ผศ.ชัชชัย เสริมพงศ์พันธ์ (จบการศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยRosenheim เยอรมนี) และ อ.สายันต์ พรายมี (จบการศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัย Kassel เยอรมนี) น้องนักศึกษาได้ผูกมิตรและสร้างเครือข่ายการทำงานกับกลุ่มนักศึกษาและทีมวิจัยด้านหุ่นยนต์กู้ภัยจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงเพื่อนชาวเยอรมันด้วย ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือต่อกันในอนาคต

หุ่นยนต์กู้ภัยตัวนี้ ชื่อ I smile มีจุดกำเนิดจากผลงานคิดค้นของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เพื่อตอบสนองด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยส่งผ่านการพัฒนาจากนักศึกษารุ่นต่อรุ่น ในนามกลุ่ม ชุมนุมหุ่นยนต์ ซึ่งเปิดให้นักศึกษาทุกชั้นปีสามารถสมัครเข้าร่วมได้โดยไม่มีข้อจำกัด และกรรมการหุ่นยนต์ เป็นผู้ให้คำปรึกษานักศึกษาทุกรุ่น ทั้งนี้ มจพ.ได้ส่งหุ่นยนต์กู้ภัยเข้าร่วมการแข่งขัน the international RoboCup เป็นประจำทุกปี

I smile พัฒนาจากหุ่นยนต์กู้ภัย I tank (ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่สองจากเวทีประกวดนี้ในปีที่ผ่านมา) มีจุดเด่นด้านการใช้แขนกลหยิบจับสิ่งของ และการเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ จนได้รับรางวัล ขับเคลื่อนยอดเยี่ยมควบคู่กับรางวัลชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง และมีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นหุ่นยนต์กู้ภัยแทนมนุษย์ รวมถึงการเก็บกู้วัตถุระเบิดได้ด้วยในอนาคต ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพบุคลากรไทยในการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมไทย อันควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

สาขาการตลาด (หลักสูตรปริญญาตรีแบบ DUAL DEGREE) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

สาขาวิชาการตลาดของแสตมฟอร์ดร่วมมือกับ Pace University ...

สาขาบริหารธุรกิจ กลุ่มวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หลักสูตรปริญญาตรีแบบ DUAL DEGREE) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ...

สาขาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรการจัดการธุรกิจการบินของแสตมฟอร์ดได้ร่วมมือกับ ...