สื่อออนไลน์ เปิดทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่สนใจเรียน MBA
ความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยีของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสังคมไทยปัจจุบัน ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการหางาน หรือการสมัครที่เรียนสมัยนี้ก็สมัครผ่านอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น ที่ผ่านมา การประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดคนมาสมัครเรียน MBA เคยอยู่ในรูปแบบของการแจกแผ่นพับที่พิมพ์ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ รูปแบบดังกล่าวได้เปลี่ยนไปกลายเป็นการเข้าหากลุ่มเป้าหมายทาง Social Network, Blog และ VDO ออนไลน์มากขึ้น
การใช้สื่อออนไลน์นั้นก็มีความหลากหลาย อย่างเช่น สถาบันชั้นนำอย่าง Standford และ Insead ก็มี Facefook เป็นของตัวเอง ส่วน Saïd ก็ใช้ตั้งแต่ YouTube ไปจนถึงการสร้าง Blog นอกจากนี้ ในสถาบันต่าง ๆ ยังมีการใช้เครื่องมือที่ช่วยให้มีการสื่อสารที่ง่ายขึ้น เช่น ใช้ Groups ของ Google เพื่อจัดกลุ่มอภิปรายกัน ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งสถาบันหลายแห่งได้ให้เหตุผลส่วนหนึ่งว่า การที่สถาบันเริ่มรู้จักที่จะแสดงตัวในสังคมเสมือนจริงในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ตัวเองเป็นที่รู้จักแก่ว่าที่ผู้สมัครเรียนที่ใช้เวลาอยู่กับสื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามาศึกษา หาข้อมูลการสมัครเรียนแบบใกล้ชิด และสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการรับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ไม่ได้มีแต่เรื่องดี เองที่เป็นข้อควรระวังก็มี เช่น เนื้อหาข้อมูลในบางเรื่องอาจไม่ชัดเจน ทำให้บางทีเกิดความสับสนได้ ดังนั้นการรับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ควรมีการพิจารณาให้ดีก่อนจะได้ไม่เกิดผลกระทบด้านการรับข้อมูลตามมา
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็เริ่มให้ความสนใจกับสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ใช้สื่อสารกับทางสถาบันได้อย่างสะดวกและมั่นใจได้ว่าสถาบันจะได้รับข้อความที่สื่อออกไปจริง ๆ และสำหรับผู้ที่ไม่เคย หรือไม่สนใจการสื่อสารทาง Blog หรือ Social Network มาก่อน ก็จะได้รู้ว่า ยังมีช่องทางการหาข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบออนไลน์อีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจการเลือกสถานที่เรียน และการสมัครเรียนได้เป็นอย่างดีหากรู้จักรับข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ และผู้สมัครก็จะได้เตรียมตัวได้พร้อม และเลือกเรียนในสถาบันที่ตรงใจได้มากที่สุด “ เพราะไม่มีความสำเร็จใดที่ไม่ต้องใความพยายาม ”
การใช้สื่อออนไลน์นั้นก็มีความหลากหลาย อย่างเช่น สถาบันชั้นนำอย่าง Standford และ Insead ก็มี Facefook เป็นของตัวเอง ส่วน Saïd ก็ใช้ตั้งแต่ YouTube ไปจนถึงการสร้าง Blog นอกจากนี้ ในสถาบันต่าง ๆ ยังมีการใช้เครื่องมือที่ช่วยให้มีการสื่อสารที่ง่ายขึ้น เช่น ใช้ Groups ของ Google เพื่อจัดกลุ่มอภิปรายกัน ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งสถาบันหลายแห่งได้ให้เหตุผลส่วนหนึ่งว่า การที่สถาบันเริ่มรู้จักที่จะแสดงตัวในสังคมเสมือนจริงในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ตัวเองเป็นที่รู้จักแก่ว่าที่ผู้สมัครเรียนที่ใช้เวลาอยู่กับสื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามาศึกษา หาข้อมูลการสมัครเรียนแบบใกล้ชิด และสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการรับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ไม่ได้มีแต่เรื่องดี เองที่เป็นข้อควรระวังก็มี เช่น เนื้อหาข้อมูลในบางเรื่องอาจไม่ชัดเจน ทำให้บางทีเกิดความสับสนได้ ดังนั้นการรับข้อมูลจากสื่อออนไลน์ควรมีการพิจารณาให้ดีก่อนจะได้ไม่เกิดผลกระทบด้านการรับข้อมูลตามมา
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็เริ่มให้ความสนใจกับสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ใช้สื่อสารกับทางสถาบันได้อย่างสะดวกและมั่นใจได้ว่าสถาบันจะได้รับข้อความที่สื่อออกไปจริง ๆ และสำหรับผู้ที่ไม่เคย หรือไม่สนใจการสื่อสารทาง Blog หรือ Social Network มาก่อน ก็จะได้รู้ว่า ยังมีช่องทางการหาข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบออนไลน์อีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนก็สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจการเลือกสถานที่เรียน และการสมัครเรียนได้เป็นอย่างดีหากรู้จักรับข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ และผู้สมัครก็จะได้เตรียมตัวได้พร้อม และเลือกเรียนในสถาบันที่ตรงใจได้มากที่สุด “ เพราะไม่มีความสำเร็จใดที่ไม่ต้องใความพยายาม ”