หน้าแรก ข่าวมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอกชน

วิศวกรรมโลจิสติกส์ 4 ปีเรียนอะไรบ้าง ?

วันที่เวลาโพส 04 สิงหาคม 64 17:44 น.
อ่านแล้ว 0
พี่เจน Admission Premium

สายวิศวะ ก็มีน้อง ๆ หลาย ๆ คนสนใจกันอยู่ใช่ไหม ? 
วันนี้พี่จะพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักสาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4 ปีเรียนอะไรบ้างมาดูกันเลย


 
เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
วิศวะ “ โลจิสติกส์  ” เพราะโลจิสติกส์ไม่ใช่แค่การขนส่ง แต่เป็นการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
1. ไม่ใช่แค่การขนส่ง เพราะที่นี่สอนให้โลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่การขนส่งแต่เป็นการแก้ปัญหาทั้งกระบวนการในอุตสาหกรรม ที่นี่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งด้านการขนส่ง, การกระจายสินค้าทั่วโลก, ความรู้ทางด้านการผลิต, Supply Chain, ระบบสารสนเทศ ERP, ความรู้พื้นฐานด้านการบัญชี และตลอดจนการออกแบบกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างนวัตกรนำความสำเร็จสู่ภาคธุรกิจยุค 4.0
2. ไม่ใช่แค่เรียนรู้จากในตำรา ข้อมูลทางวิชาการ เรายังเน้นการฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหา และเทคนิคการลดต้นทุน จากการเรียนรู้ปัญหาจริงที่พบในอุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ จากคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน ให้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการทั่วประเทศ
3. Logisitcs 4.0 การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบระบบอัตโนมัติในงานโลจิสติกส์ การวิเคราะห์ data visualization รวมถึงระบบ ERP โดยได้ทดลองออกแบบระบบ ERP ตามโจทย์ของอุตสาหกรรม โดยทีมคณาจารย์มีประสบการณ์ทางด้านพัฒนาระบบ ERP ให้กับองค์กรต่างๆ ร่วมถึงการพัฒนากระบวนการโดยใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การขนถ่ายวัสดุ
4. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานต้นทุนโลจิสติกส์นับเป็นต้นทุนที่สำคัญส่งผลต่อความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ วัดผลยังไง แก้ปัญหาจุดไหนถึงจะถึงจะลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ โดยในปี 2561 ได้รับความไว้วางใจจาก กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับจัดทำระบบการประมวลผล
5. อาจารย์ที่เป็นเหมือน " โค้ช " การเรียนการสอนแบบ active learning ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน ร่วมถึงการปูพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่ว่าน้องๆจะจบสาขาอะไร หรือสายไหน ก็สามารถที่จะเรียนกับเรา


จบมาทำงานอะไร ?
1. ผู้จัดการโรงงาน
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ 
3. วิศวกรออกแบบและควบคุมระบบขนส่ง
4. วิศวกรโรงงาน และฝ่ายวางแผนการผลิต
5. วิศวกรควบคุมคุณภาพ และวิศวกรประกันคุณภาพ
6. ผู้ควบคุมคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า
7. วิศวกรโคงการ หรือผู้จัดการโครงการออกแบบคลังสินค้า
8. วิศวกรจัดหาและจัดซื้อ
9. ผู้นำเข้าส่งออกสินค้า
เงินเดือน  18,000-25,000 บาท


ปี 1
ปูพื้นฐานด้านวิศวกรรม 
พื้นฐานด้านลอจิกเบื้องต้น รวมถึงวิชา Gened  เช่น  
- คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ 
- สามารถเข้าใจทฤษฏีการบริหารจัดการ Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำได้ ผ่านรายวิชา การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 
- สามารถเข้าใจในศาสตร์ของสาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน 


ปี 2
เรียนลงลึกมากขึ้น
ลงลึกในด้านของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ 
เช่น การขนส่งการกระจายสินค้า การบริหารสินค้าคงคลังและออกแบบคลังสินค้า   การวางแผนทรัพยากรองค์กรและกระบวนการทางธุรกิจ และทางด้านกระบวนการผลิต


ปี 3
เรียนรู้โปรแกรมที่วิเคราะห์ข้อมูลได้
- สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูป( Minitab ) ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
- สามารถดำเนินการพิธีศุลกากรโดยการกรอกใบขนสินค้าขาเข้าขาออกได้
- สามารถออกแบบระบบขนถ่ายวัสดุและการจัดเรียงสินค้าในคลังสินค้าได้
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับปัญหาจริงจากสถานประกอบการโดยการทำโครงงาน1/การฝึกงานทางวิศวกรรม


ปี 4
เน้นการเลือกรายวิชาตามที่สนใจ  
และเน้นการพัฒนาโครงงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่การเก็บความต้องการไปจนถึงการเผยแพร่งานที่สร้างขึ้น ประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมา  เตรียมพร้อมสู่การทำงานในตลาดงาน ตัวอย่างรายวิชา เช่น โครงงานวิศวกรรม  สหกิจศึกษา โลจิสติกส์และการผลิตแบบกระบวนการ การผลิตและโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร


ตัวอย่างม.ที่เปิดหลักสูตรนี้
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
เบอร์โทร 02-954-7300 ต่อ 344.
เว็บไซต์  : http://https://cite.dpu.ac.th/logistics.html
Facebook : https://www.facebook.com/cite.dpu/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

คนอื่นๆอ่านเรื่องนี้ แล้วมักจะอ่านเรื่องต่อไปนี้ต่อ

หมวด