รีวิวมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร
น้องที่อยากเรียนศิลปะพี่เชื่อว่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น้องๆ อยากจะเข้าเรียน เพราะที่นี่มีศิษย์เก่าหลายคนที่มีเชื่อเสียง เช่น นนทรีย์ นิมิบุตร, ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับชื่อดัง และมีศิษย์เก่าที่จบสาขาการออกแบบภายใน อย่างเช่น ท่านอ.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย ซึ่งดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และจบไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบภายในประจำมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศอีกหลายท่าน
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมชื่อคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีวิชาการตกแต่งอยู่ด้วย จัดตั้งมา 76 ปีแล้ว ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
คณะมัณฑนศิลป์ได้ปรับปรุงหลักสูตรเสมอมา เพื่อจัดการสอนให้น้องๆ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ โครงสร้างหลักของหลักสูตรที่นี่น้องๆจะได้เรียน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา ได้แก่
1.กลุ่มวิชาพื้นฐานมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์
2.กลุ่มวิชาพื้นฐานทางศิลปปฏิบัติและทฤษฎีศิลปะ ซึ่งน้องๆ ที่เรียนคณะมัณฑนศิลป์ทุกคนจะต้องเรียนเพื่อให้มีมาตรฐานทางศิลปะปฏิบัติและทฤษฎีศิลปะ
3.กลุ่มวิชาเอกหรือวิชาบังคับของสาขาวิชาเป็นกลุ่มวิชาที่สร้างความรู้ความสามารถในวิชาชีพโดยตรง
4.กลุ่มวิชาเลือกเป็นกลุ่มวิชาที่เสริมความรู้ในวิชาชีพให้กว้างขวาง และส่งเสริม ความสนใจ ความถนัดส่วนบุคคล ให้มีโอกาสพัฒนามากขึ้น
ที่นี่ถือว่าเป็นคณะที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะ ซึ่งน้องๆที่มีความสนใจในด้านศิลปะอยากจะเข้าเรียน และ ที่นี่มีการรับนักศึกษาโดยการสอบตรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คน ในสาขาการออกแบบภายใน โดยการสอบคัดเลือกในวิชาบังคับ 3 วิชา ประกอบด้วย ภาษาและสังคม, วิทย์และคณิตและวาดเส้นมัณฑนศิลป์ โดยน้องๆ สามารถเลือกสาขาวิชาที่ต้องการสมัครได้สูงสุดถึง 7 วิชาในคณะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต (การออกแบบภายใน) 4 ปี
- จบแผนการเรียน ศิลป์-คำนวน, ศิลป์-ภาษา, ปวช. หรือเทียบเท่า สามารถสมัครเรียนได้
เรียนเกี่ยวกับอะไร
การออกแบบที่ดีแก้ได้ทุกปัญหา จากหลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นพบมนุษย์เราใช้การออกแบบเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ รู้จักการใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ประดิษฐ์อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และสร้างงานศิลปะเพื่อสุนทรียะมานานกว่า 6,000 ปี สาขาออกแบบภายใน (Interior Design) เป็นหนึ่งในสาขาหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ และสุนทรียะในการเรียน เราใช้การออกแบบภายในเพื่อตกแต่งห้องในอาคาร บ้านเรือน ร้านค้า หรือหอประชุมขนาดใหญ่ ให้เกิดความสวยงาม พร้อมกันนั้นก็ต้องคอยคำนึงถึงการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เช่น ทิศทางแสง อุณหภูมิห้อง หรือเสียงรบกวน เป็นต้น รวมไปถึงการกระตุ้นสร้างให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ด้วย เช่น การใช้สีแดงในห้องทานอาหารเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้น เป็นต้น ฉะนั้นคนที่เรียนในสาขานี้จะต้องมีความรู้ที่รอบด้านเกี่ยวกับการออกแบบภายในอาคาร ตั้งแต่การเรียนเขียนแบบ การใช้ความพิวเตอร์กราฟฟิกเพื่อการออกแบบ การออกแบบสภาพแวดล้อม การออกแบบเครื่องเรือน ไปจนถึงความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่จะนำมาใช้เพื่อการตกแต่ง
จบมาทำงานอะไร
มัณฑนากร, นักออกแบบภายใน, สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมภายใน, ผู้บริหารงานโครงการออกแบบภายใน, ที่ปรึกษาโครงการออกแบบภายใน, อาจารย์, นักวิชาการด้านการออกแบบภายใน, ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจการค้าวัสดุและอุปกรณ์ ธุรกิจการค้าเครื่องเรือน และของตกแต่ง รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (สิงหาคม)
-ให้ผู้สมัครเข้าสู่ เวปไซต์ www.decentrance.su.ac.th
คุณสมบัติ
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
** หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการเป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่งรายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
176, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
22, 000 บาท/เทอม
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน
มหาวิทยาลัยศิลปากร
รีวิวมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร
น้องที่อยากเรียนศิลปะพี่เชื่อว่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น้องๆ อยากจะเข้าเรียน เพราะที่นี่มีศิษย์เก่าหลายคนที่มีเชื่อเสียง เช่น นนทรีย์ นิมิบุตร, ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับชื่อดัง และมีศิษย์เก่าที่จบสาขาการออกแบบภายใน อย่างเช่น ท่านอ.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย ซึ่งดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และจบไปเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบภายในประจำมหาวิทยาลัยชื่อดังในประเทศอีกหลายท่าน
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดิมชื่อคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีวิชาการตกแต่งอยู่ด้วย จัดตั้งมา 76 ปีแล้ว ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้
คณะมัณฑนศิลป์ได้ปรับปรุงหลักสูตรเสมอมา เพื่อจัดการสอนให้น้องๆ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ โครงสร้างหลักของหลักสูตรที่นี่น้องๆจะได้เรียน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวิชา ได้แก่
1.กลุ่มวิชาพื้นฐานมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์
2.กลุ่มวิชาพื้นฐานทางศิลปปฏิบัติและทฤษฎีศิลปะ ซึ่งน้องๆ ที่เรียนคณะมัณฑนศิลป์ทุกคนจะต้องเรียนเพื่อให้มีมาตรฐานทางศิลปะปฏิบัติและทฤษฎีศิลปะ
3.กลุ่มวิชาเอกหรือวิชาบังคับของสาขาวิชาเป็นกลุ่มวิชาที่สร้างความรู้ความสามารถในวิชาชีพโดยตรง
4.กลุ่มวิชาเลือกเป็นกลุ่มวิชาที่เสริมความรู้ในวิชาชีพให้กว้างขวาง และส่งเสริม ความสนใจ ความถนัดส่วนบุคคล ให้มีโอกาสพัฒนามากขึ้น
ที่นี่ถือว่าเป็นคณะที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะ ซึ่งน้องๆที่มีความสนใจในด้านศิลปะอยากจะเข้าเรียน และ ที่นี่มีการรับนักศึกษาโดยการสอบตรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คน ในสาขาการออกแบบภายใน โดยการสอบคัดเลือกในวิชาบังคับ 3 วิชา ประกอบด้วย ภาษาและสังคม, วิทย์และคณิตและวาดเส้นมัณฑนศิลป์ โดยน้องๆ สามารถเลือกสาขาวิชาที่ต้องการสมัครได้สูงสุดถึง 7 วิชาในคณะ
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- จบแผนการเรียน ศิลป์-คำนวน, ศิลป์-ภาษา, ปวช. หรือเทียบเท่า สามารถสมัครเรียนได้
เรียนเกี่ยวกับอะไร
จบมาทำงานอะไร
สมัครเรียนทำอย่างไร
-ให้ผู้สมัครเข้าสู่ เวปไซต์ www.decentrance.su.ac.th
คุณสมบัติ
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาระดับชั้นม.6 หรือเทียบเท่า
- สัญชาติไทย
- เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือ โรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
** หากปรากฎในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการเป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่งรายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน
มหาวิทยาลัยศิลปากร
ความโดดเด่นของหลักสูตรของภาควิชาออกแบบภายในของคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรก็คือ เราเชี่ยวชาญในศิลปะวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการใช้ศาสตร์และศิลป์มาผสมผสานกันแล้วก็สร้างผลงานตกแต่งภายในหรือว่างานมัณฑนศิลป์ให้มีคุณภาพ ช่วยยกระดับจิตใจมนุษย์ที่เข้าไปใช้ในพื้นที่ต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้นจำเป็นจะต้องมีประโยชน์ใช้สอยภายในอาคาร แต่ว่าในแต่ละประโยชน์ใช้สอยเหล่านั้นก็ต้องประกอบไปด้วยคุณภาพหรือคุณค่าของงานตกแต่งที่จะช่วยยกระดับจิตใจคนเหล่านั้นให้สูงขึ้น มีความเข้าใจศิลปะแล้วก็ความงามในพื้นที่เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น จึงมีความแตกต่างกับหลักสูตรทางด้านสถาปัตยกรรมอยู่พอสมควร
จบการศึกษาออกมาเป็นสถาปนิกหรือเป็นมัณฑนากร แน่นอนว่าส่วนหนึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องมีจิตสำนึกอาสาสาธารณะนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาด้านมัณฑนศิลป์หรือว่าภาควิชาออกแบบภายในของเรา มันไม่ใช่แค่เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในแง่นี้อย่างเดียว แต่ว่าตัวนักเรียนเองที่เข้ามาจะต้องมีความสามารถในเรื่องของทักษะในการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ จะต้องมีรสนิยมพื้นฐานที่จรรโลงใจครับ สามารถที่จะแยกแยะประเภทของงานที่มีความงามและความไม่งามออกจากกันได้ในระดับหนึ่ง
ปัจจุบันนี้รัฐบาลก็มอบให้คณะมัณฑนศิลป์เป็นคณะวิชาแห่งการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าผลผลิต เพราะฉะนั้นจึงทำให้คณะของเราต้องมีภาระรับผิดชอบต่อรัฐบาลแล้วก็สังคมในแง่ที่ว่า นอกจากจะสร้างสรรค์ให้สวยงามแล้วยังจะต้องเพิ่มมูลค่าวัสดุ มูลค่าของงานออกแบบเพื่อกำหนดให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของงานของนักออกแบบแต่ละคนเพื่อให้มีคุณค่ามากขึ้น ดังนั้นการจะเข้ามาเรียนได้มันเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรต้องมีวิชาพื้นฐาน เช่นว่า นักเรียนอาจจะต้องมีความรู้เรื่องวิชาวาดเส้น หรือ Drawing มีความรู้ทางด้านศิลปะ ในการถ่ายทอดวิชาความถนัดในการออกแบบภายใน ต้องเขียนทัศนียภาพเป็น บางคนก็อาจจะต้องมีการฝึกมือเพื่อจะได้สามารถสอบเข้าแข่งขันกับคนที่อยากเข้าได้จำนวนมาก ดังนั้นศิลปะแล้วก็ความชอบ แล้วรสนิยมจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
วิเคราะห์ข้อมูล U-Review Score
โดย AdmissionPremium.com
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ในชั้นปีที่1 ทุกภาควิชาจะต้องเรียนเหมือนกัน ก็คือรายวิชาทักษะพื้นฐาน เช่น รายวิชาวาดเส้น วิชาออกแบบนะครับ วิชาศิลปะไทยปริทัศน์ ที่เราจะต้องออกไปดูคุณค่าความงามของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยต่างๆ เหมือนกับเป็นวิชาท่องเที่ยวนะ แต่จริงๆ แล้วจะมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหรือคณาจารย์มาถ่ายทอดว่าความงามของศิลปะหรือสถาปัตยกรรมมันส่งเสริมต่อโลกยุคปัจจุบันนี้ยังไง ก็ทำให้มีความภาคภูมิใจกับคนในชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้วิชาเหล่านี้จะปูพื้นให้เกิดรสนิยมแล้วก็เกิดคุณภาพทางการออกแบบที่สร้างสรรค์หรือเป็นภาระความรับผิดชอบของหลักสูตร
ชั้นปีที่ 2-3 จนถึงชั้นปีที่ 4 ก็จะเป็นรายวิชาที่นักศึกษาจะต้องเรียนนอกจากศิลปะ เช่นวิธีในการสร้างสรรค์ เรื่องของเหตุผลในการออกแบบ เรื่องของรายวิชาพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรมเบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นวิชาโครงสร้าง วิชาออกแบบเครื่องเรือน วิชาออกแบบย่อยต่างๆ ซึ่งก็จะมีประกอบในวิชาเลือกมากมายครับ ด้วยความที่อาจารย์ในหลักสูตรมีความสามารถที่หลากหลาย มีทั้งเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม มีทั้งเป็นนักวิชาการ แล้วก็เป็นนักออกแบบอาชีพมาอยู่รวมกัน จึงทำให้มีองค์ความรู้อยู่มากมายแล้วก็พร้อมจะถ่ายทอดให้นักศึกษาของเราได้อย่างดี
ชั้นปีที่4 ก็จะมีรายวิชาที่เรียกว่าศิลปะนิพนธ์หรือว่าทีสิสซึ่งก็จะเป็นสนามประลองสุดท้ายแบบฝึกหัดสุดท้ายก่อนที่นักศึกษาจะจบออกไปทำงาน โดยที่นักศึกษาก็จะได้สร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง แล้วก็สามารถจะนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของตนเองออกสู่สาธารณะชน โดยที่เรามีข้อกำหนดว่างานจะต้องเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชนด้วยโดยการจัดแสดง ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้นักศึกษารู้จักภาระรับผิดชอบที่ตัวเองมีต่อสังคมด้วย ภาพรวมของหลักสูตร
1. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญศึกษา
3. เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4. ต้องไม่มีความผิดปกติต่างๆ ที่คณะกรรมการ ดำเนินการสอบคัดเลือกฯ เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการ ศึกษาและปฏิบัติงานในวิชาชีพ เช่น ตาบอดสีทั้งสองข้าง หูหนวก ทั้งสองข้าง มีความพิการของมือ แขน หรือขา ทั้งสองข้าง
5. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยและมีที่พักอาศัยอยู่ใน ประเทศ ไทย หากปรากฎในภายหลังว่า ผู้สมัครขาด คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกตัดสิทธิ์การสอบคัดเลือก หรือ ถอนสภาพจากการ เป็นนักศึกษา ถึงแม้ว่าได้รับการส่ง รายชื่อเข้ารับการศึกษาในคณะมัณฑนศิลป์แล้วก็ตาม
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
เทียบเท่า (อาชีวะ)
1. มัณฑนากร นักออกแบบภายใน สถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ตามพระราชบัญญัติ สถาปนิก พ.ศ. 2543
2. ผู้บริหารงานโครงการออกแบบภายใน ที่ปรึกษาโครงการออกแบบภายใน
3. ผู้สอน นักวิชาการด้านการออกแบบภายใน
4. ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจการค้าวัสดุและอุปกรณ์ ธุรกิจการค้าเครื่องเรือน และของตกแต่ง รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์
มัณฑนากรเป็นอาชีพที่ต้องให้บริการแนะนำและแก้ปัญหาในเชิงสร้างสรรค์แก่ผู้ว่าจ้างสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพมัณฑนากรนั้นขึ้นอยู่กับว่ามัณฑนากรผู้นั้นเป็นผู้ที่มีความละเอียด ถี่ถ้วน และมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ดีหรือไม่ รายได้ของอาชีพนี้ค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา เป็นมัณฑนากร หรือนายช่างออกแบบตกแต่งภายในของหน่วยราชการ สำนักงาน หรือห้างร้านต่าง ๆ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ศึกษาต่อปริญญาโทและเอก ทั้งในและต่างประเทศ
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
มัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ