วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์มากว่า 45 ปี แต่เป็นระดับป.โท และ ป.เอก แม้ทางภาควิชาจะมีความพร้อมในการเรียนการสอนเพื่อจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านนิวเคลียร์ แต่เนื่องมาจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และยังไม่มีความพร้อมในด้านนี้ชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทางภาควิชาต้องมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถเปิดสอนหลักสูตรนี้ในระดับปริญญาตรีได้ จึงปรับหลักสูตรเดิมที่เน้นเฉพาะด้านนิวเคลียร์มาเป็นการใช้ประโยชน์ด้านรังสีเป็นหลัก และในปี 2559 จึงเริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เป็นปีแรก ถือว่าเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขานี้ในระดับปริญญาตรี โดยมีหลักสูตรการเรียน 4 ปี
ในปีแรก นักศึกษาจะได้เรียนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เขียนแบบ ต่อมาในปีที่ 2 จะเรียนพื้นฐานด้านรังสี นิวเคลียร์ รวมไปถึงพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ บางรายวิชาจะเรียนคล้ายสาขาเครื่องกล อุตสาหการ เคมี จากนั้นในปี 3 จะลงลึกในรายวิชาเฉพาะทางด้านนิวเคลียร์ เช่น กากกัมมันตรังสี รังสีในอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์ต่างๆ ของรังสี และสุดท้ายในชั้นปีที่ 4 จะมีอีก 4 สาขาวิชาย่อยให้นักศึกษาได้เลือกเรียนแบบเจาะลึกคือ 1.เครื่องมือนิวเคลียร์ 2.การใช้งานรังสีทางอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม 3.นิวเคลียร์กำลัง และ 4.การกำจัดของเสียทางนิวเคลียร์ จากนั้นก่อนจบการศึกษาจะได้นำความรู้จากการเรียนทั้งหมดมาใช้ในการทำโครงงานทางวิศวกรรม
แม้จะเป็นปีแรกที่เปิดรับสอนในระดับปริญญาตรี แต่ตลาดงานทางด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์นั้นเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ดังนั้นเมื่อนักศึกษาเรียนจบแล้ว บัณฑิตมีสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะไปช่วยดูแล รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่รับบัณฑิตสาขานี้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ กฟผ. แม้จะเป็นสาขาวิชาเฉพาะและดูเหมือนตลาดงานในประเทศไทยด้านนิวเคลียร์ยังมีไม่มาก แต่ว่าวิศวกรสาขานี้ในต่างประเทศกลับเป็นต้องการอย่างมากรวมทั้งมีฐานเงินเดือนสูงไม่แพ้สาขาอื่นเลย
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- เป็นสถาบันแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ในระดับปริญญาตรี
- มีทุนการศึกษาให้ไปฝึกอบรมและศึกษาดูงานในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี
- จบมาสามารถไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์
จบมาทำงานอะไร
- วิศวกรนิวเคลียร์ในโรงงานอุตสาหกรรมรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- วิศวกรนิวเคลียร์ในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค
- วิศวกรในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ กฟผ.
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (แบบปกติ)
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20% , PAT1 (คณิตศาสตร์) 20% และ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
168, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
21, 000 บาท/เทอม
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.0 ปานกลาง
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนหลักสูตรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์มากว่า 45 ปี แต่เป็นระดับป.โท และ ป.เอก แม้ทางภาควิชาจะมีความพร้อมในการเรียนการสอนเพื่อจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีด้านนิวเคลียร์ แต่เนื่องมาจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และยังไม่มีความพร้อมในด้านนี้ชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทางภาควิชาต้องมีการปรับเปลี่ยนพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถเปิดสอนหลักสูตรนี้ในระดับปริญญาตรีได้ จึงปรับหลักสูตรเดิมที่เน้นเฉพาะด้านนิวเคลียร์มาเป็นการใช้ประโยชน์ด้านรังสีเป็นหลัก และในปี 2559 จึงเริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เป็นปีแรก ถือว่าเป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขานี้ในระดับปริญญาตรี โดยมีหลักสูตรการเรียน 4 ปี
ในปีแรก นักศึกษาจะได้เรียนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แคลคูลัส ฟิสิกส์ เขียนแบบ ต่อมาในปีที่ 2 จะเรียนพื้นฐานด้านรังสี นิวเคลียร์ รวมไปถึงพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ บางรายวิชาจะเรียนคล้ายสาขาเครื่องกล อุตสาหการ เคมี จากนั้นในปี 3 จะลงลึกในรายวิชาเฉพาะทางด้านนิวเคลียร์ เช่น กากกัมมันตรังสี รังสีในอุตสาหกรรม และใช้ประโยชน์ต่างๆ ของรังสี และสุดท้ายในชั้นปีที่ 4 จะมีอีก 4 สาขาวิชาย่อยให้นักศึกษาได้เลือกเรียนแบบเจาะลึกคือ 1.เครื่องมือนิวเคลียร์ 2.การใช้งานรังสีทางอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม 3.นิวเคลียร์กำลัง และ 4.การกำจัดของเสียทางนิวเคลียร์ จากนั้นก่อนจบการศึกษาจะได้นำความรู้จากการเรียนทั้งหมดมาใช้ในการทำโครงงานทางวิศวกรรม
แม้จะเป็นปีแรกที่เปิดรับสอนในระดับปริญญาตรี แต่ตลาดงานทางด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์นั้นเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ดังนั้นเมื่อนักศึกษาเรียนจบแล้ว บัณฑิตมีสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะไปช่วยดูแล รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่รับบัณฑิตสาขานี้ เช่น สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ กฟผ. แม้จะเป็นสาขาวิชาเฉพาะและดูเหมือนตลาดงานในประเทศไทยด้านนิวเคลียร์ยังมีไม่มาก แต่ว่าวิศวกรสาขานี้ในต่างประเทศกลับเป็นต้องการอย่างมากรวมทั้งมีฐานเงินเดือนสูงไม่แพ้สาขาอื่นเลย
จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร
- มีทุนการศึกษาให้ไปฝึกอบรมและศึกษาดูงานในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี
- จบมาสามารถไปประกอบอาชีพอื่นๆ ได้หลากหลายสาขาที่เกี่ยวกับการจัดการเครื่องมือรังสี ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตร การพัฒนาวัสดุศาสตร์
จบมาทำงานอะไร
- วิศวกรนิวเคลียร์ในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องฉายรังสีหรือเครื่องเร่งอนุภาค
- วิศวกรในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ กฟผ.
สมัครเรียนทำอย่างไร
- ผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษา ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- ผลการเรียนรวมเฉลี่ย (GPAX) 5 หรือ 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50
- ผลคะแนนสอบ GAT 20% , PAT1 (คณิตศาสตร์) 20% และ PAT3 (วิศวกรรมศาสตร์) 60%
- สมัครทางอินเทอร์เนต www.atc.chula.ac.th
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 6.0 ปานกลาง
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ