จุดเด่นของหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ นักศึกษาจะได้เรียนรู้
- สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เช่น Linux, UNIX, Windows เป็นต้น
- ภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ (Modern Language) เช่น Java, php, html, Visual C++, .Net เป็นต้น
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการจัดการ (Computer Network and Administration)
- ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Security in Computer and Networking Systems)
จุดเด่นของหลักสูตรด้านโทรคมนาคม นักศึกษาจะได้เรียนรู้
- ระบบโครงข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน
เครือข่าย ATM เครือข่าย
3G เครือข่าย WiMax เครือข่าย WiFi เป็นต้น
- เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่
, เทคโนโลยีสื่อสารดาวเทียม
, เทคโนโลยีสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสง
, เทคโนโลยีสายอากาศ
- การบริหารเครือข่ายโทรคมนาคม
จุดเด่นของหลักสูตรด้านสารสนเทศ นักศึกษาจะได้เรียนรู้
- ระบบฐานข้อมูลของธุรกิจ
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับมืออาชีพ
- การบริหารระบบสารสนเทศขององค์กร
รายละเอียดหลักสูตร
คลิกที่นี่
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมหลายสาขา โดยเฉพาะวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ที่ให้ความสำคัญในการสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ พร้อมกับทางภาครัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหานคร จึงได้พัฒนาหลักสูตรสาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอล ขึ้น
สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลที่นี่มีเอกลักษณ์ในการเน้นให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ ในส่วนของการเรียนการสอนนั้นช่วงปีแรกๆ นักศึกษาจะได้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เพื่อสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง รวมถึงความรู้ทั่วไปทางเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐศาสตร์ การสร้างมูลค่า วิธีคิด และการออกแบบนวัตกรรม ที่จะเน้นให้นักศึกษาคิดเป็น สร้างสรรค์ และเสริมด้วยทักษะทางภาษาอังกฤษ จากนั้นในชั้นปี 3 และ 4 จึงจะได้เรียนในส่วนของการสื่อสารโทรคมนาคม ความปลอดภัยในการใช้เครือข่าย แอพพลิเคชั่น การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นในธุรกิจ และบริการ นอกจากนั้น ที่สาขานี้ยังเน้นให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติการเป็นหลัก จะเห็นได้ว่ามีรายวิชาที่เป็นภาคปฏิบัติการในสัดส่วนที่เยอะมาก มีห้องปฏิบัติการสารสนเทศและการสื่อสาร ห้องปฏิบัติการระบบโทรคมนาคม ห้องวิจัยการสื่อสารเชิงแสงที่รองรับการเรียนการสอน และเนื้อหาในการฝึกปฏิบัติก็จะพัฒนาให้สอดคล้องไปตามสภาพสังคมและเทคโนโลยีของปัจจุบันด้วย
ในด้านของการฝึกงาน นักศึกษาจะต้องได้ฝึกงานช่วงปิดเทอมของปี 3 และออกสหกิจศึกษาอีก 1 เทอม โดยสาขามีความร่วมมือกับบริษัทซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น TOT , CAT และยังมีบริษัทด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดกลาง และขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยนักศึกษาจากสาขานี้สามารถทำงานได้ครอบคลุมทั้งในงานวิศวกรรมดั้งเดิม อย่างวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บริษัทคอมพิวเตอร์ บริษัทเทคโนโลยี บริษัทไอที ไปจนถึงการทำงานในบริษัทขนาดเริ่มต้นที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศและแอพพลิเคชั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ
วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม
วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์
วิศวกรดูแลระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์
วิศวกรดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นม.ปลาย ปวช. หรือเทียบเท่า ทุกแผนการเรียน
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX)
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
- สมัครสอบออนไลน์ที่ เว็บไซต์ http://admission.reg.mut.ac.th/admission/
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
สามารถทำงานในงานบริษัทสื่อสารข้อมูล ซึ่งอาจเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม กิจการวิทยุโทรทัศน์ บริษัททางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศ รวมไปถึงกิจการเชิงธุรกิจที่จัดสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ เป็นต้น หลักสูตรนี้เน้นให้นักศึกษามีความรู้ในภาพกว้างทางด้านระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ระบบเครือข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ระบบสายส่งและสื่อสัญญาณที่ใช้ระบบสื่อสาร การเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์และเครือข่าย รวมไปถึงการออกแบบสร้างนวัตกรรมที่เป็นแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย อีกทั้งหลักสูตรยังถูกออกแบบให้นักศึกษามีความคิดเชิงวิเคราะห์และสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม
บทความวิศวกรรมสาขาใหม่ เรียนสร้างงาน
สร้างอนาคต ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
- สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
- ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เช่น Linux, UNIX, Windows เป็นต้น
- ภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ (Modern Language) เช่น Java, php, html, Visual C++, .Net เป็นต้น
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการจัดการ (Computer Network and Administration)
- ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Security in Computer and Networking Systems)
จุดเด่นของหลักสูตรด้านโทรคมนาคม นักศึกษาจะได้เรียนรู้
- ระบบโครงข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน
เครือข่าย ATM เครือข่าย 3G เครือข่าย WiMax เครือข่าย WiFi เป็นต้น
- เทคโนโลยีโทรคมนาคม เช่น เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่, เทคโนโลยีสื่อสารดาวเทียม, เทคโนโลยีสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสง, เทคโนโลยีสายอากาศ
- การบริหารเครือข่ายโทรคมนาคม
จุดเด่นของหลักสูตรด้านสารสนเทศ นักศึกษาจะได้เรียนรู้
- ระบบฐานข้อมูลของธุรกิจ
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับมืออาชีพ
- การบริหารระบบสารสนเทศขององค์กร
รายละเอียดหลักสูตร คลิกที่นี่
ศิลป์ - คำนวณ
เทียบเท่า (กศน.)
สำเร็จการศึกษา ม.6
- การขยายสัญญาณแสงในเส้นใยแก้ว (Optical Amplifier)
- การออกแบบและสร้างทรานสดิวเซอร์ความถี่สูงสำหรับเส้นใยแก้วนำแสง
- การส่งสัญญาณข้อมูลหลายช่องผ่านเส้นใยแก้วนำแสงด้วยระบบมัลติเพล็กซ์
- การสร้างระบบมัลติเพล็กซ์ทางแสง ได้แก่ WDM (Wavelength
Division Multiplexing)
- ออปติคอลคัปเปลอร์ชนิดโหมดเดี่ยวและโหมดร่วม
- วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ
- วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
- วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม
- วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์
- วิศวกรดูแลระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์
- วิศวกรดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ