บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
Summary
8.47
รีวิวบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
"การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน" คือ กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขั้นตอนการทำงานทั้งหมด เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพและระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งหมายถึงการประสานข้อมูลจากลูกค้า ผ่านกระบวนการผลิต และจัดการสายการผลิตของสินค้าจนเสร็จสมบูรณ์
โลจิสติกส์ (logistic) ประสานกับห่วงโซ่อุปทาน การนำห่วงโซ่อุปทานมาใช้เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน โดยมีความเหมือนกันทุกทึ่ทุกเวลาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
ห่วงโซ่อุปทาน ใช้เรียกหน่วยงานที่อยู่ในสายธุรกิจ กล่าวคือ ทุกหน่วยงานเป็นส่วนหนึ่งที่ร้อยเรียงกันของกระบวนการ ที่จะนำสินค้า/บริการ ไปสู่ผู้บริโภค หรือก็คือ การเชื่อมโยงกันของระบบ Logistics ของแต่ละหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกัน เพื่อให้วัตถุดิบส่งผ่านจากหน่วยงานแรก ซึ่งเป็นผู้ผลิต/ผู้ขายวัตถุดิบ ไปยังหน่วยงานที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อผลิตสินค้า แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานต่อไป ซึ่งเป็นผู้ที่จะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เน้นการเรียนการสอนที่ให้น้องๆ มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ด้านการวางแผนและกำหนด กลยุทธ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ การประเมินผลและแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ หลักสูตรมี โครงสร้าง ลักษณะวิชา และเนื้อหาวิชาที่ทันสมัย นอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นการสร้างความตระหนักในคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม และมีจริยธรรมในการทำงาน
จบมาทำงานอะไร
จบโลจิสติกส์ฯ มีงานที่เกี่ยวข้อง 4 ด้านใหญ่ๆ คือ การขนส่ง เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างเหมาะสม 54% , คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า รวบรวมสินค้าจากหลายๆ แห่งมากระจายไปตามสาขาต่างๆ 24 % , งานบริการด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนออกของ การเดินเรือ และ Clearing คิดเป็นร้อยละ 19% และ งานให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำเพื่อช่วยลดต้นทุน 3%
นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ, นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ, อาจารย์หรือนักวิชาการประจาสถาบันต่าง ๆ, เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ, ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง, นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ นักวิจัยอิสระ, ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ให้แก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง (ตุลาคม-สิงหาคม)
- สำเร็จการศึกษาชั้นม.6 หรือ เทียบเท่า
- สมัครด้วยตัวเองทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หรือ ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็ปไซต์ http://grade.dpu.ac.th/admissionform
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20 %
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
261,200 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
32, 650 บาท/เทอม
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดีไหม?
“จบไปสามารถทำงานตำแหน่งอะไรที่ไหนได้บ้างครับ”
จบสาขาลจิสติกไปสามารถทำงานตำแหน่งอะไรได้ แล้วบริษัทที่ไหนอ่ะครับ ขอตัวอย่างรุ่นพี่ๆหน่อยครับ
Govit Thamranan
บุคคลทั่วไป
04 ต.ค. 59 15:37 น.
“การขนส่งทางเรือ ท่าเรือ และความคุ้มค่า”
การคมนาคมทางเรือ เป็นโลจิสติกส์ที่คุ้มค่ามากที่สุด น่าสนใจมากๆ ควรให้ความสำคัญมาก นี่เป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
ณัฏฐา ตฤณณภพ
บุคคลทั่วไป
30 ก.ย. 59 17:18 น.
“สาขานี้กำลังมาแรง”
สาขานี้ดูแล้วจบมาน่าจะหางานได้ง่ายมากๆ เลยครับ ขอหาข้อมูลเพิ่มก่อน
อุ้มบุญ พุฒิสรรค์
บุคคลทั่วไป
19 ก.ย. 59 11:44 น.
บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รีวิวบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
โลจิสติกส์ (logistic) ประสานกับห่วงโซ่อุปทาน การนำห่วงโซ่อุปทานมาใช้เป็นผลจากโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน โดยมีความเหมือนกันทุกทึ่ทุกเวลาภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
ห่วงโซ่อุปทาน ใช้เรียกหน่วยงานที่อยู่ในสายธุรกิจ กล่าวคือ ทุกหน่วยงานเป็นส่วนหนึ่งที่ร้อยเรียงกันของกระบวนการ ที่จะนำสินค้า/บริการ ไปสู่ผู้บริโภค หรือก็คือ การเชื่อมโยงกันของระบบ Logistics ของแต่ละหน่วยงานในสายธุรกิจเดียวกัน เพื่อให้วัตถุดิบส่งผ่านจากหน่วยงานแรก ซึ่งเป็นผู้ผลิต/ผู้ขายวัตถุดิบ ไปยังหน่วยงานที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อผลิตสินค้า แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานต่อไป ซึ่งเป็นผู้ที่จะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่ง
สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เน้นการเรียนการสอนที่ให้น้องๆ มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ด้านการวางแผนและกำหนด กลยุทธ์ การวิเคราะห์สถานการณ์ การประเมินผลและแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างเป็นระบบ หลักสูตรมี โครงสร้าง ลักษณะวิชา และเนื้อหาวิชาที่ทันสมัย นอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นการสร้างความตระหนักในคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม และมีจริยธรรมในการทำงาน
จบมาทำงานอะไร
นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ, นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ, อาจารย์หรือนักวิชาการประจาสถาบันต่าง ๆ, เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ, ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง, นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ นักวิจัยอิสระ, ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ให้แก่บริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จการศึกษาชั้นม.6 หรือ เทียบเท่า
- สมัครด้วยตัวเองทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต หรือ ทางอินเตอร์เน็ตที่เว็ปไซต์ http://grade.dpu.ac.th/admissionform
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20 %
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(ของนักศึกษาอาจารย์และศิษย์เก่า)
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
ก.วิชาบังคับ 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
ข.วิชาเลือก 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
ก.วิชาบังคับ 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
ข.วิชาเลือก 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา 9 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเอก 39 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเลือกหรือวิชาโท 15 หน่วยกิต
กรณีวิชาเลือก 15 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาต่อไปนี้
ก.วิชาเอกของสาขาวิชาอื่นในคณะบริหารธุรกิจ หรือ วิชาเลือกที่เปิดสอนในคณะบริหารธุรกิจ
ข.วิชาที่เปิดสอนในคณะอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยและคณะอนุมัติให้เป็นวิชาเลือกได้
กรณีวิชาโท 15 หน่วยกิต จากกลุ่มวิชาในข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
ก.กลุ่มวิชาโทของสาขาวิชาอื่นในคณะบริหารธุรกิจ
ข.กลุ่มวิชาโทของคณะอื่นๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย และคณะอนุมัติให้เป็นวิชาโทได้
- กลุ่มวิชาโทสำหรับสาขาวิชาอื่น 15 หน่วยกิต
นักศึกษาต่างสาขาวิชาหรือต่างคณะ ที่เลือกสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นวิชาโท ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเลือกของสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า
- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิตจากสถานศึกษาที่ได้เคยศึกษามาแล้ว (ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวอาจสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 2 ปี)
คุณสมบัติทั่วไป
1. ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
2. ไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรค ติดยาเสพติดที่ให้โทษอย่างร้ายแรงโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือ ความผิดอันเป็นลหุโทษ
4. ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อนเนื่องจากถูกลงโทษทางวินัย
5. มีผู้ปกครองและมีภูมิลำเนาที่พักอยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้
- สาขาการจัดการอุตสาหกรรมและธุรกิจขนส่ง เช่น บริษัททั่วไปที่มีแผนกนำเข้าและส่งออก บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางอากาศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือของเอกชน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสถานีพักสินค้าได้แก่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินกรุงเทพฯ จำกัด รวมทั้งรับราชการในกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว
2. ชอบคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต จดจำ ละเอียดรอบคอบ
3. สนใจติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจ
4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีจิตวิทยาในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
3 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 8.0 ดี
บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดีไหม?
จบสาขาลจิสติกไปสามารถทำงานตำแหน่งอะไรได้ แล้วบริษัทที่ไหนอ่ะครับ ขอตัวอย่างรุ่นพี่ๆหน่อยครับ
Govit Thamranan
การคมนาคมทางเรือ เป็นโลจิสติกส์ที่คุ้มค่ามากที่สุด น่าสนใจมากๆ ควรให้ความสำคัญมาก นี่เป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
ณัฏฐา ตฤณณภพ
สาขานี้ดูแล้วจบมาน่าจะหางานได้ง่ายมากๆ เลยครับ ขอหาข้อมูลเพิ่มก่อน
อุ้มบุญ พุฒิสรรค์
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ