รีวิววิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
17 ต.ค. 59 16:01 น.
ภาควิชาเครื่องกล-การบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ก่อตั้งขึ้นปีพ.ศ. 2507 โดยใช้ชื่อว่า "แผนกช่างเทคนิคเครื่องกลวิทยาเขตเทคนิคพระนครเหนือ (ไทยเยอรมัน)"
ต่อมาภาควิชาฯได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มของสังคมไทยต่อความต้องการวิศวกร ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมการบิน จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน และ มีการพัฒนาตนเอง
โดยในการเรียนการสอนในปี1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนตอนมัธยม, วิชาพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์, การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล, การโปรแกรมคอมพิวเตอร์, สถิตยศาสตร์วิศวกรรม โดยแต่ละวิชาจะเข้มขึ้นในปีต่อๆไป ส่วนในปี2 จะได้เรียนอย่างเช่นวิชา เทอร์โมไดนามิกส์, กลศาสตร์การบิน, วิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน, วัสดุวิศวกรรม, การเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์, วิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกรเครื่องกลและการบิน, กลศาสตร์ของแข็ง, กลศาสตร์ของไหล, แเมคคาทรอนิกส์ในวิศวกรรมการบิน, กรรมวิธีการผลิต, สิ่งแวดล้อมและการจัดการเบื้องต้น ในปี3 จะมีวิชาการออกแบบเครื่องกล, การสั่นสะเทือนทางกล, การถ่ายเทความร้อน, ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล, กลศาสตร์การบินในอวกาศ,อากาศพลศาสตร์, การควบคุมอัตโนมัติ, การทำความเย็นและปรับอากาศ, โครงสร้างและวัสดุทางการบินและอวกาศ, ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและอวกาศ, การออกแบบอากาศยาน, การพัฒนาบุคลิกภาพ และในปีสุดท้าย จะมีวิชาการเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ, การขับดันทางการบินและอวกาศ, จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และจัดทำโครงงานวิศวกรรมการบินและอวกาศเพื่อจบการศึกษา
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินในประเทศได้มีหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่มีหน้าที่การซ่อมบำรุงอากาศยาน และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ทั้งด้านการบินและอวกาศ ทำให้มีความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ ดังนั้นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศมีความพร้อมในการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ จึงได้เสนอหลักสูตรนี้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้น้องๆที่เรียนหลักสูตรนี้เป็นวิศวกรที่มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรม เพื่อเข้าไปเป็นบุคลากรในหน่วยงานเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรทางการบินและอวกาศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง, วิศวกรโครงการทางด้านวิศวกรรม, นักวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมการบิน, วิศวกรโรงงาน
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมปศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 152,000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
19,000 บาท/เทอม
ต่อมาภาควิชาฯได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มของสังคมไทยต่อความต้องการวิศวกร ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมการบิน จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน และ มีการพัฒนาตนเอง
โดยในการเรียนการสอนในปี1 น้องๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนตอนมัธยม, วิชาพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์, การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล, การโปรแกรมคอมพิวเตอร์, สถิตยศาสตร์วิศวกรรม โดยแต่ละวิชาจะเข้มขึ้นในปีต่อๆไป ส่วนในปี2 จะได้เรียนอย่างเช่นวิชา เทอร์โมไดนามิกส์, กลศาสตร์การบิน, วิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน, วัสดุวิศวกรรม, การเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์, วิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกรเครื่องกลและการบิน, กลศาสตร์ของแข็ง, กลศาสตร์ของไหล, แเมคคาทรอนิกส์ในวิศวกรรมการบิน, กรรมวิธีการผลิต, สิ่งแวดล้อมและการจัดการเบื้องต้น ในปี3 จะมีวิชาการออกแบบเครื่องกล, การสั่นสะเทือนทางกล, การถ่ายเทความร้อน, ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล, กลศาสตร์การบินในอวกาศ,อากาศพลศาสตร์, การควบคุมอัตโนมัติ, การทำความเย็นและปรับอากาศ, โครงสร้างและวัสดุทางการบินและอวกาศ, ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและอวกาศ, การออกแบบอากาศยาน, การพัฒนาบุคลิกภาพ และในปีสุดท้าย จะมีวิชาการเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ, การขับดันทางการบินและอวกาศ, จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และจัดทำโครงงานวิศวกรรมการบินและอวกาศเพื่อจบการศึกษา
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินในประเทศได้มีหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่มีหน้าที่การซ่อมบำรุงอากาศยาน และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ทั้งด้านการบินและอวกาศ ทำให้มีความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ ดังนั้นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศมีความพร้อมในการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ จึงได้เสนอหลักสูตรนี้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้น้องๆที่เรียนหลักสูตรนี้เป็นวิศวกรที่มีความรู้ ทักษะ และคุณธรรม เพื่อเข้าไปเป็นบุคลากรในหน่วยงานเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป
จบมาทำงานอะไร
วิศวกรทางการบินและอวกาศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง, วิศวกรโครงการทางด้านวิศวกรรม, นักวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมการบิน, วิศวกรโรงงาน
สมัครเรียนทำอย่างไร
แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 15%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 15%
- PAT3 (วิศวกรรมปศาสตร์) 20%
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 152,000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
19,000 บาท/เทอม