ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชานฤมิตศิลป์ ได้เริ่มรับนิสิตเข้า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2528 โดยผลิตบัณฑิตให้เป็นนักออกแบบมืออาชีพที่มีความรอบรู้และทักษะ ในวิชาชีพเฉพาะด้าน การเรียนการสอนมีลักษณะที่ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดพัฒนาการส่วนบุคคลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เสนอวิธีการในการแก้ปัญหาทั้งทางด้านการตลาด สังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเป็นปัญหาที่มีซับซ้อนกว่าเดิมได้
ภาควิชานฤมิตศิลป์อยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ เน้นกระบวนการคิดและออกแบบอย่างมีระบบ แบ่งออกเป็นวิชาเอก 4 วิชาเอกดังนี้
1. วิชาเอกเรขศิลป์เรียนเกี่ยวกับ “การสื่อสาร” ด้วยภาพและตัวษร เช่น การออกแบบโปสเตอร์ โลโก ออกแบบแม็กกาซีน ออกแบบป้าย ออกแบบเว็บไซต์ เริ่มตั้งแต่การจัดองค์ประกอบ การใช้สี การใช้และออกแบบตัวอักษร การออกแบบตราสัญลักษณ์ ฯลฯ
2. แฟชั่นและสิ่งทอ เป็นสาขาวิชาที่เรียนรู้การออกแบบเครื่องแต่งกาย ตั้งแต่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์แฟชั่น การหาแรงบัลดาลใจมาสร้างสรรค์งานออกแบบ การสร้างแบบตัดเสื้อขั้นพื้นฐาน การสร้างคอลเลคชั่น การตลาดแฟชั่น การสร้างแบรนด์ การวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น และการออกแบบเครื่องประดับ เช่น รองเท้า กระเป๋า
3. มัณฑณศิลป์ เรียนการออกแบบและการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น ถ้วยน้ำ จานชาม เครื่องประดับ กระถางต้นไม้ ไปจนถึงของตกแต่งบ้านที่ทำจากเซรามิก เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ ประวัติเครื่องปั้นดินเผา การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นด้วยแป้นหมุน การผลิตแบบอุตสาหกรรม เช่น การหล่อ การทำแม่พิมพ์ การเคลือบ การเผา การตกแต่ง
4. นิทรรศการศิลป์ เรียนการออกแบบ Window Display (หน้าร้านที่อยู่ตามห้าง) พิพิธภัณฑ์ บู๊ตแสดงสินค้า ฯลฯ ตั้งแต่การการออกแบบโครงสร้าง การตกแต่งและการนำเสนอข้อมูล ได้ทำงานทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ
สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ในช่วงปีต้นของการเรียน น้องๆจะต้องเรียน วิชาพื้นฐานทฤษฎีศิลปะ, การออกแบบ, ทฤษฎีสี, วาดเส้น แต่พอขึ้นปีสองปีสามก็จะเจาะลึกลงไปในวิชาเอกที่น้องๆ เลือกเรียน พอถึงปีสุดท้าย น้องๆ ก็จะต้องทำวิทยานิพนธ์, ศิลปนิพนธ์ หรือที่เรียกว่า Art Thesis ซึ่งจะเป็นการประมวลความรู้ที่เราเรียนมาตลอดระยะเวลาสี่ปีว่าเราสามารถทำงานจริงได้ขนาดไหน สำหรับการเรียนนั้นว่ายากไม่ยากขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ เองสาขาวิชาสายอาชีพแบบนี้ไม่ค่อยมีการสอบ มีแต่การทำงานส่ง ผลงาน ไอเดีย และความขยันจะเป็นตัววัดว่าเราจะเรียนรอดป่าว
จบมาทำงานอะไร
เอกเรขศิลป์ : เป็นสาขาที่ตกงานยากมาก จะทำงานในบริษัทเอเจนซี่ใหญ่ๆ หรือสตูดิโอเล็กๆก็ได้ จะเป็นนักออกแบบอิสระ (Freelance) ฉายเดี่ยวรับงานเองทำงานเองก็ได้ และมีจำนวนไม่น้อยที่เบนไปทำงานเป็น Creative คิดโฆษณา
เอกแฟชั่นและสิ่งทอ : เรียนจบแล้วสามารถเป็นดีไซเนอร์, สไตล์ลิส (ควบคุมเสื้อผ้าหน้าผมและ Art Direction ของงาน), Costume Designer (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดง), Merchandising (ผู้ดูแลด้านสินค้า ประสานงานขาย และดูแลภาพลักษณ์ของร้าน), Buyer (ฝ่ายจัดซื้อ) และ Textile Designer (นักออกแบบสิ่งทอ) ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน
เอกมัณฑนศิลป์ สามารถเลือกได้ว่าจะทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ เช่น cotto หรือไปทำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือเครื่องประดับ หรือจะทำเป็นลักษณะสตูดิโอเล็กรับทำงานที่สั่งทำพิเศษ เช่น ตามโรงแรมที่ต้องการมีถ้วยชามหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร หรืออาจจะทำงานอิสระเป็นศิลปินเซรามิกเต็มตัวก็ได้
เอกนิทรรศการศิลป์ : ออกแบบนิทรรศการต่างๆ ทั้งงานแสดงสินค้า Window Display พิพิธภัณฑ์ ข้อดีคือได้ทำงานหลากหลาย เนื่องจากงานนิทรรศการมักจะมาเร็วไปเร็ว ลูกค้ามักให้เวลาจำกัดมากในแต่ละงาน
สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรงโครงการพิเศษ (สิงหาคม)
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในสาขาวิชาที่สมัครเรียน
- ผ่านการทำสอบภาคทฤษฎีและทักษะของทางมหาวิทยาลัย
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
136, 000 บาท
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
17, 000 บาท/เทอม
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 10.0 ดีเยี่ยม
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รีวิวศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาควิชานฤมิตศิลป์อยู่ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ เน้นกระบวนการคิดและออกแบบอย่างมีระบบ แบ่งออกเป็นวิชาเอก 4 วิชาเอกดังนี้
1. วิชาเอกเรขศิลป์เรียนเกี่ยวกับ “การสื่อสาร” ด้วยภาพและตัวษร เช่น การออกแบบโปสเตอร์ โลโก ออกแบบแม็กกาซีน ออกแบบป้าย ออกแบบเว็บไซต์ เริ่มตั้งแต่การจัดองค์ประกอบ การใช้สี การใช้และออกแบบตัวอักษร การออกแบบตราสัญลักษณ์ ฯลฯ
2. แฟชั่นและสิ่งทอ เป็นสาขาวิชาที่เรียนรู้การออกแบบเครื่องแต่งกาย ตั้งแต่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์แฟชั่น การหาแรงบัลดาลใจมาสร้างสรรค์งานออกแบบ การสร้างแบบตัดเสื้อขั้นพื้นฐาน การสร้างคอลเลคชั่น การตลาดแฟชั่น การสร้างแบรนด์ การวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่น และการออกแบบเครื่องประดับ เช่น รองเท้า กระเป๋า
3. มัณฑณศิลป์ เรียนการออกแบบและการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เช่น ถ้วยน้ำ จานชาม เครื่องประดับ กระถางต้นไม้ ไปจนถึงของตกแต่งบ้านที่ทำจากเซรามิก เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ ประวัติเครื่องปั้นดินเผา การขึ้นรูปด้วยมือ การขึ้นด้วยแป้นหมุน การผลิตแบบอุตสาหกรรม เช่น การหล่อ การทำแม่พิมพ์ การเคลือบ การเผา การตกแต่ง
4. นิทรรศการศิลป์ เรียนการออกแบบ Window Display (หน้าร้านที่อยู่ตามห้าง) พิพิธภัณฑ์ บู๊ตแสดงสินค้า ฯลฯ ตั้งแต่การการออกแบบโครงสร้าง การตกแต่งและการนำเสนอข้อมูล ได้ทำงานทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ
สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ในช่วงปีต้นของการเรียน น้องๆจะต้องเรียน วิชาพื้นฐานทฤษฎีศิลปะ, การออกแบบ, ทฤษฎีสี, วาดเส้น แต่พอขึ้นปีสองปีสามก็จะเจาะลึกลงไปในวิชาเอกที่น้องๆ เลือกเรียน พอถึงปีสุดท้าย น้องๆ ก็จะต้องทำวิทยานิพนธ์, ศิลปนิพนธ์ หรือที่เรียกว่า Art Thesis ซึ่งจะเป็นการประมวลความรู้ที่เราเรียนมาตลอดระยะเวลาสี่ปีว่าเราสามารถทำงานจริงได้ขนาดไหน สำหรับการเรียนนั้นว่ายากไม่ยากขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ เองสาขาวิชาสายอาชีพแบบนี้ไม่ค่อยมีการสอบ มีแต่การทำงานส่ง ผลงาน ไอเดีย และความขยันจะเป็นตัววัดว่าเราจะเรียนรอดป่าว
จบมาทำงานอะไร
เอกแฟชั่นและสิ่งทอ : เรียนจบแล้วสามารถเป็นดีไซเนอร์, สไตล์ลิส (ควบคุมเสื้อผ้าหน้าผมและ Art Direction ของงาน), Costume Designer (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของนักแสดง), Merchandising (ผู้ดูแลด้านสินค้า ประสานงานขาย และดูแลภาพลักษณ์ของร้าน), Buyer (ฝ่ายจัดซื้อ) และ Textile Designer (นักออกแบบสิ่งทอ) ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน
เอกมัณฑนศิลป์ สามารถเลือกได้ว่าจะทำงานกับบริษัทใหญ่ๆ เช่น cotto หรือไปทำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือเครื่องประดับ หรือจะทำเป็นลักษณะสตูดิโอเล็กรับทำงานที่สั่งทำพิเศษ เช่น ตามโรงแรมที่ต้องการมีถ้วยชามหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนใคร หรืออาจจะทำงานอิสระเป็นศิลปินเซรามิกเต็มตัวก็ได้
เอกนิทรรศการศิลป์ : ออกแบบนิทรรศการต่างๆ ทั้งงานแสดงสินค้า Window Display พิพิธภัณฑ์ ข้อดีคือได้ทำงานหลากหลาย เนื่องจากงานนิทรรศการมักจะมาเร็วไปเร็ว ลูกค้ามักให้เวลาจำกัดมากในแต่ละงาน
สมัครเรียนทำอย่างไร
- สำเร็จหรือกำลังศึกษาชั้นม.6
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีความสามารถในสาขาวิชาที่สมัครเรียน
- ผ่านการทำสอบภาคทฤษฎีและทักษะของทางมหาวิทยาลัย
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์ของทางมหาวิทยาลัย
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินคะแนน U-Review Score โดยฝ่ายวิชาการ upbean.com
หลักเกณฑ์การให้คะแนน
1 รีวิว คะแนนความน่าสนใจจากผู้ใช้งาน 10.0 ดีเยี่ยม
ศิลปกรรมศาสตร์ สาขานฤมิตศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดีไหม?
GOOGLE MAP
ข้อมูลติดต่อ