U-Review

รีวิววิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในปัจจุบันสถานการณ์การค้าอาหารโลกมีความเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นเพียงการค้าสินค้าเกษตร มาเป็นการค้าสินค้ากึ่งแปรรูปและสินค้าสำเร็จรูป อันเป็นผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแปรรูปและการเก็บรักษาที่ทำให้อาหารมีอายุยาวนานขึ้น ปลอดภัยและมีความหลากหลาย ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรอุตสาหกรรมภาคส่วนต่างๆ ต้องมีบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนากระบวนการผลิต การถนอมอาหาร การบรรจุ และการเก็บรักษาอาหารให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ในระดับสากล เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาขององค์กร ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารขึ้น เป็นการเรียนในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี โดยในปีที่ 1 - 2 นักศึกษาจะได้เรียนในรายวิชา ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส ฟิสิกส์ และวิชาหลักอย่าง เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีวิเคราะห์ เคมีอาหาร และชีววิทยา จากนั้นในชั้นปีที่ 3 จะได้เรียนในห้องปฏิบัติการมากยิ่งขึ้นในรายวิชาเกี่ยวกับ ปฏิบัติการชีวเคมี การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร และสุขาภิบาลโรงงานอาหาร โดยจะแบ่งการเรียนของนักศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบ คือ นักศึกษาโครงการปกติ จะมีการฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมอุตสาหกรรม คือนักศึกษาจะได้ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเวลา 16 สัปดาห์ หลังจบการศึกษาชั้นปีที่ 3 เทอมที่ 2

หลักสูตรการเรียนการสอนโดยทั่วไป นอกจากจะเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในทางทฤษฏี มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ มีทักษะการเรียนรู้ร่วมกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังมีวิชาเลือกหลากหลายทั้งภายในและภายนอกให้ได้เลือกเรียนเสริมความสามารถ และคณะฯ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ควบคู่ไปด้วย เมื่อนักศึกษาเรียนจบ สามารถไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวิเคราะห์ ผู้ตรวจสอบคุณภาพ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในสถานประกอบการหรือสถาบันวิจัยต่างๆ หรือเป็นผู้ประกอบการอิสระ สร้างธุรกิจของตัวเองโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร
 
จบมาทำงานอะไร
- นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย
- นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารในสถานประกอบการต่างๆ 
- ผู้ประกอบการอิสระโดยใช้ความรู้ด้านนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร
- ครู หรืออาจารย์ทางวิทยาศาสตร์

สมัครเรียนทำอย่างไร
ระบบรับตรง เคลียริ่งเฮาส์ (กุมภาพันธ์ - มีนาคม)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลการเรียนกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 2.50
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://admission.kmutt.ac.th/

ระบบรับตรง โครงการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มิถุนนายน)
- สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 แผนการเรียนวิทย์-คณิตฯ
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีผลการสอบ GAT/ PAT1(คณิตศาสตร์), PAT2(วิทยาศาสตร์)
- สมัครผ่านเว็บไซต์ http://admission.kmutt.ac.th/

แอดมิชชัน
- GPAX 20%
- O-NET 30% 
- GAT 10% 
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 10%
- PAT2 (วิทยาศาสตร์) 30%

รีวิวหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, การจัดการกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ (Science Program in Sports Science, Art Program in Sport and Recreation Management for Health) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาการจัดการกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ ...

สาขาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อสร้างสรรค์ ...

สาขานิเทศศาสตร์ (Communication Arts) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

การตัดต่องานด้านนิเทศศาสตร์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ...